รัฐบาลเร่งนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่า หนุนความเป็นกลางทางคาร์บอน

รัฐบาลเร่งนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าหนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เปิดทางเอกชนเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อปลูกสวนป่า

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ขับเคลื่อนแผนงานทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ประกาศระหว่างการเข้าร่วมประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ต.ค.65 ได้ เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าตามกฎหมายและระเบียบทีเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ควบคู่กับฟื้นฟูทรัพยากรธรรมป่าที่เสื่อมโทรมโดยเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอนสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก ลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เพื่อให้เอกชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนได้ดังกล่าว ครม. ได้ยกเลิกมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2533 ที่ให้ระงับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนไว้ชั่วคราว และมติ ครม. เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2535 ที่กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าในลักษณะที่เป็นข้อจำกัด

อย่างไรก็ตาม กรมป่าไม้ได้กำหนดมาตรการควบคุมการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่า เพื่อไม่ให้มีการใช้ประโยชน์รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะเป็นไปตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 และระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน เพื่อป้องกันการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งผู้ขอเข้าทำประโยชน์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยเคร่งครัด

 

นอกจากนี้ จะมี พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สวนป่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำกับเพื่อให้เป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าในที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชนให้กว้างขวาง มีการรองรับและคุ้มครองสิทธิในการทำไม้ที่ได้จากการปลูกสร้างสวนป่า สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการทำสวนป่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ป่าไม้มากขึ้น

“กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุม ครม. แล้วว่า การให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าตามกฎหมายและระเบียบทีเกี่ยวข้องในครั้งนี้ จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีปัญหาความเสื่อมโทรม โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง เกิดการใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรอย่างสมดุล เพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอน สามารถนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในระยะยาว” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อรรถวิชช์-พงศ์พล-ฐิติภัสร์” พร้อมใจโพสต์ปกป้อง “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา “พีระพัง” ลั่นพร้อมพังทุกรูปแบบการโกงกิน
"การรถไฟฯ" ออกแถลงการณ์ ยันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ "ที่ดินเขากระโดง" เดินหน้าทวงคืนตามกม. ไม่ใช่ละเมิดสิทธิปชช.
‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่
ชาวบ้านทรุดก้มกราบ “ทักษิณ” ขอปรึกษาปัญหาชีวิต การ์ดรีบยกตัวออก
เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น