จ.ตราด/เวลา 09.00 น.วันที่ 6 ตุลาคม 2565 นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนจัดทำร่างผังเมืองรวม ครั้งที่ 2 ผังเมืองรวมเมืองตราด (ปรับปรุงครั้งที่3) ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยส่วนผังเมืองรวมที่ 1 สำนักผังเมือง ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ จัดขึ้นโดยมีหน่วยภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้าร่วม
นางสาววิยะดา ทรงเกียรติภักดี บริษัทที่ปรึกษา บริษัท เพลนเนอร์ จำกัด กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองตราด โดยกรมฯได้ว่าจ้างบริษัทแพลนเนอร์ 26 จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษา ในการดำเนินการตามขึ้นตอนที่กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงได้มีการจัดเวทีประชุมครั้งนี้ขึ้น โดยเป็นการกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 (กลุ่มพื้นที่ ทม.ตราด / ทต.ท่าพริกเนินทราย / อบต.วังกระแจะ อบต.ห้วยแร้ง / และ อบต.เนินทราย เข้าร่วมที่ห้องประชุมโรงแรมตราดซิตี้ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด)
ซึ่งบริษัทได้เสนอแนวทางการพัฒนาจ.ตราดตามที่รับฟังความคิดเห็นมาโดยสรุปเป็น 2 แนวทางคือ แนวทางด้านการรองรับการท่องเที่ยว ทีทจะมุ่งการพัฒนาไปในพื้นที่อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิงที่เป็นประตูผ่านไปยังอำเภอเกาะช้างและมีศูนย์กลางการรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ซี่งจะมีความเป็นไปมากเนื่องจากมีงบประมาณรองรับ โดยไม่กระทบในเรื่องวิถีชีวิต แต่ปัญหาคือ เรื่องการไม่มีศูนย์กลางระดับรองรองรับ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือการพัฒนาไปตามแนวทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถต่อยอดโครงการขนาดใหญ่ของจ.ตราดและระบบโลจิสติกส์ได้และกระจายการพัฒนามาสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกได้ แต่ข้อเสียก็คือ ยังมีแนวนโยบายที่ไม่แน่นอนนักในเรื่องระยะเวลาการพัฒนา
หลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนวความคิดว่า ควรจะใช้ร่วมกันทั้งสองแนวทาง เพราะเศรษฐกิจของจังหวัดตราดอาศัยภาคบริการกว่าร้อยละ 47 และการค้าชายแดน และการเกษตรกรรม ซึ่งหากจะเลือกแนวใด แนวหนึ่งอาจจะเกิดปัญหาไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของจังหวัดตราดได้ ขณะเดียวกันการผลักดันให้มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนที่จะเชื่อมโยงในเรื่องการท่องเที่ยวและการค้าชายแดนซึ่งฝั่งกัมพูชาที่มีชายแดนติดต่อกับไทยเพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากกัมพูชาเข้าไทย โดยผ่านจ.ตราดซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจ.ตราดด้วย นอกจากนี้จัต้องผลักดันการเปิดชายแดนไทยกัมพูชาด้านอ.บ่อไร่ และอ.เมืองเพื่อเชื่อมกับพระตะบอง โพธิสัต เพื่อดึงนักท่องเที่ยวกัมพูชาที่มีกำลังซื้อเข้ามา
ขณะที่นายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า จังหวัดตราดต้องเน้นในเรื่องการท่องเที่ยวเพราะจะเน้นอุตสาหกรรมหรือด้านการเกษตรกรรมจะไม่สามารถสู้จังหวัดอื่นๆได้ ขณะที่ตามแนวชายแดนจะต้องผลักดันให้สร้างถนนเชื่อมกับ 2 จังหวัดเข้ามา และการค้าชายแดนจะต้องเริ่มจากการส่งเสริมให้ผลิตสินค้าให้ส่งไปยัง 2 จังหวัด ซึ่งการท่องเที่ยวของตราดะมีศักยภาพมากต้องเน้นแบบเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งเรื่องการพัฒนาสนามบิน ที่จะต้องมองในเรื่องการรองรับการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวหรือสถานีขนส่งจะต้องพัฒนาและยกระดับให้เป็นสถานีขนส่งอินเตอร์ะจะสามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชาได้ด้วย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็น และนำเสนอผลการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มการขยายตัวของเมือง ประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดโอกาสให้ประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมต่อการกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองตราดในอนาคต ตลอดจนรับฟัง ศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองตราด โดยข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมจะนำไปเป็นกรอบแนวทางในการวางและจัดทำผังเมืองรวมต่อไป
จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ตราด