กรณีอดีตตำรวจ ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ กราดยิงภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ อบต.อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวานที่ผ่านมา จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ในเชิงต่อต้านว่า “ผู้เสพไม่ใช่ผู้ป่วย” เห็นว่า ควรมีการเพิ่มโทษกับผู้เสพยาเสพติด เพื่อป้องปรามไม่ให้ไปก่อเหตุรุนแรงเช่นในอดีตที่ผ่านมานั้น
วันนี้ 7 ต.ค. นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. เปิดเผยว่า ตามหลักมาตรฐานสากล ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมีบทลงโทษหนักอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ พี่มีพฤติกรรมเสพยาเสพติด ซึ่งถือเป็นเหยื่อที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ซึ่งกฎหมายของประเทศไทยมีบทโทษลงโทษชัดเจนกับผู้เสพที่ไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาโดยบัญญัติว่า สำหรับความผิดและบทลงโทษ ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.ผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย ครอบครอง (ม.145)
– จําคุก : ไม่เกิน 15 ปี และ ปรับ ไม่เกิน 1,500,000 บาท
– หากมีพฤติการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อการค้า จําคุก 2 – 20 ปี และ ปรับ 200,000 – 2,000,000 บาท
-กรณีเป็นหัวหน้า ผู้สั่งการหรือทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ จําคุก 5 ปี – ตลอดชีวิต และ ปรับ 500,000 – 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต
2.ครอบครองเพื่อเสพ (ม.164)
– จําคุก ไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับ : ไม่เกิน 40,000 บาท
3.เสพ (ม.162)
– จําคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
สำหรับความผิดและบทลงโทษวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง (ม.149(1))
-จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
-หากมีพฤติการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อการค้า จำคุก 1-15 ปี และปรับ 100,000 – 1,5000,000 บาท
2.ครอบครองเพื่อเสพ (ม.164)
-มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท
3.เสพ (ม.162)
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท