(วันที่ 9 ตุลาคม 2565 ) นับเป็นการพลิควิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่มีน้ำไหลหลากท่วมพืชผลทางการเกษตรเสียหายถือว่ายังดีว่ายังชิ่งทางทำกินได้อย่างเสียอย่างดีกว่าไม่มีรายได้อันได้เลย หลังพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ สถานนการณ์น้ำท่วมเริ่มจะคลี่คลายในเมืองชัยภูมิ และเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แต่ในขณะเดียวกันน้ำในลำชีและลำห้วยสายต่างๆก็ยังคงมีมวลน้ำไหลอยู่ตามลำห้วยหรือท้องไร่ท้องนา ให้ชาวบ้านได้แห่ออกหาจับปลามาขาย และปรุงเป็นอาหารกินในครัวเรือนอย่างคึกคัก สร้างรายได้เข้าครอบครัว กว่าวันล่ะ 2,000 บาทเลยทีเดียว ในช่วงที่มีน้ำไหลหลากเช่นนี้ ซึ่งปลาที่ชาวบ้านหาได้ก็จะมีพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านมาซื้อถึงที่ โดยการหาปลาขายจะมีทั้งการทอดแห และการยกยอ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะใช้วิธีหาปลาโดยการยกยอเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งง่ายต่อการจับปลาไม่เสี่ยงมากกับอันตรายระหว่างน้ำไหลหลากเช่นนี้
ด้าน นางค่าย พิไลกุล อายุ 56 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 9 บ.โนนขี้ตุ่น ต.ตลาดแร้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ กว่าวว่า ตนเองมีที่นาเกือบ 10 ไร่ ข้าวที่ปลูกไว้ถูกน้ำทะลักท่วมจนหมด แต่ก็ต้องทำใจเพราะผลผลิตจากข้าวครั้งนี้คงไม่ได้เก็บเกี่ยวแน่ๆ จึงพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสพาครอบครัวนำไม้มาทำยอเพื่อยกยอหาปลาที่บริเวณลำห้วยโดก บ้านโนนขี้ตุ่น ต.ตลาดแร้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ขาย ทำให้ตนและครอบครัวมีรายได้กว่าวันล่ะ 2,000 บาทเลยทีเดียว โดยปลาที่หาได้จะขายในราคา กิโลกรัมล่ะ 40-80 บาท ขึ้นอยู่กับความสดและขนาดของปลา โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านมาซื้อถึงที่ บางส่วนก็จะพากันมาซื้อและนั่งย่างกินอยู่ในที่หาปลา พร้อมกับดูบรรยากาศในการหาปลาไปด้วย เพื่อเป็นการผ่อนคลายในช่วงน้ำท่วมไหลหลาก โดยปลาในช่วงนี้จะมีรสหวานมันอร่อย โดยเฉพาะปลาสดๆน้ำขึ้นจากนำมาทาเกลือย่างไฟ กินกับข้าวสวยร้อนๆอร่อยมากๆเลย หรือนำมาสับก้อยลาบใส่มดแดงทำเป็นกับเมนูกับแกล้ม หรือกินกับข้าวก็อร่อยไม่แพ้อาหารขึ้นชื่อตามร้านใดๆเลยทีเดียว.
ภาพ/ข่าว วิรัตน์ ดวงแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ชัยภูมิ