"ต่อมลูกหมากโต" เช็คด่วน 7 สัญญาณอันตราย เตือนภัยเงียบในผู้ชายวัยกลางคนถึงวัยชรา หากเจอรีบพบแพทย์ด่วน
ข่าวที่น่าสนใจ
ต่อมลูกหมาก คืออะไร
- ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ รูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ปกติจะมีขนาดประมาณ 15-20 กรัม
- หน้าที่ของต่อมลูกหมาก คือ การสร้างน้ำอสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต
สาเหตุของโรคต่อม ลูกหมากโต
- พบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้ามีชีวิตยืนยาวถึง 80-90 ปี ผู้ชายทุกคนในวัยนี้จะมีต่อมลูกหมาก โตกันทั้งหมด
- บางคนมีอาการน้อยมาก เช่น ความแรงของปัสสาวะลดลงบ้าง แต่ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ในขณะที่บางคนอาจอาการหนักถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้
อาการของโรค ที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่าง
- ถ่ายปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะไหลไม่แรง
- เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำรอไม่ได้
- ถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
- ปัสสาวะไหล ๆ หยุด ๆ
- ต้องเบ่งช่วยเวลาถ่ายปัสสาวะ
- ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
อันตรายของโรคจากภาวะแทรกซ้อน
- ปัสสาวะไม่ออก
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ไตเสื่อมหรือกระเพาะปัสสาวะเสื่อม
- ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
- ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด
วิธี รักษา ต่อ ม ลูกหมาก โต
1. การใช้ยา ปัจจุบันมียาเพื่อใช้รักษาอาการของโรคต่อมลูกหมาก โตมากมาย สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- ยาในกลุ่มอัลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha adrenergic blockers)
– สมัยก่อนจะใช้เป็นยาลดความดัน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาต่อจนมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก
– ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปัสสาวะสะดวกขึ้นภายใน 3 วัน แต่ถ้าหยุดยาและอาการก็จะกลับมาอย่างรวดเร็ว ยาในกลุ่มนี้จะใช้กันแพร่หลายที่สุด
- ยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน (DHT) (Dihydrotestosterone)
– ยาในกลุ่มนี้จะลดการสร้างฮอร์โมน DHT ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
– แม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้า แต่สามารถลดขนาดของต่อมลูกหมากได้ในระดับหนึ่ง จะมีประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากค่อนข้างโต
- ยาสมุนไพร
– มีอยู่หลายชนิด สำหรับชนิดที่แพร่หลายที่สุด คือ จากสมุนไพรชื่อ Saw palmetto แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจนนัก
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
- ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือที่รู้จักในชื่อ TURP ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานการผ่าตัด
- ในขณะนี้การรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและมีภาวะแทรกซ้อน หรือการทานยาไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
- อย่างไรก็ตาม มีการผ่าตัดวิธีการอื่นที่สามารถลดภาวะแทรกซ้อนหรือลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลได้ เช่น การใช้เลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด การใช้ขดลวดตาข่ายขยาย ต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ข้อมูล : chulalongkornhospital
ข่าวที่เกี่ยวข้อง