ทำความรู้จัก โรค "น้ำกัดเท้า" เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง พร้อมแนะ 8 วิธีดูแลผิวเท้าอย่างไรให้หายทรมาน เช็ค
ข่าวที่น่าสนใจ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ โรคน้ำกัดเท้า ในพื้นที่อุทกภัย หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งถือเป็นโรคที่ประชาชนไม่ควรละเลย และควรมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ ที่จะตามมาได้
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรค น้ำ กัด เท้า เกิด จาก การระคายเคือง มีลักษณะโรคหลายชนิด ทั้งการอักเสบ ระคายเคือง และติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาความถี่ที่โดนน้ำ ผิวหนังที่แช่น้ำนาน ๆ เซลล์ผิวหนังจะอุ้มน้ำบวมและเปื่อยฉีกขาดได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ง่ามนิ้วเท้า พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ บริเวณที่มีน้ำขัง
ลักษณะอาการ น้ำ กัด เท้าแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ช่วง 1- 3 วันแรก)
- ผิวหนังเปื่อยเมื่อแช่น้ำ ผิวหนังแดงคัน แสบ ผิวหนังระคายเคือง และลอกบาง ๆ
ระยะที่ 2 (ช่วง 3 – 10 วัน)
- อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา
- ผิวหนังจะเปื่อยมีรอยฉีกขาด มีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ มีหนอง หรือน้ำเหลืองซึม
- เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มากกว่าเชื้อรา
ช่วงที่ 3 (ช่วง 10 – 20 วัน)
- ถ้าแช่น้ำต่อเนื่อง ผิวหนังจะมีอาการแดง คัน มีขุยขาว เปียก เหม็น
- ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาว เป็นขุยหรือลอกบางเป็นสีแดง ผื่นเปียกเหม็น เป็นการติดเชื้อรา
ด้านแพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการดูแลผู้ป่วยน้ำกัดเท้า ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำมาก ๆ
- ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องสัมผัสน้ำให้ใส่รองเท้าบูท เมื่อขึ้นจากน้ำให้ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ เช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอและทาครีมบำรุงผิว
- ถ้ามีผื่นแดงเล็กน้อย คัน ควรทายากลุ่มสเตียรอยด์
- ถ้ามีผื่น และมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิว มีอาการบวมแดง ปวดเจ็บ หรือมีหนองเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์
- ถ้าเท้าแช่น้ำนานหลายสัปดาห์ต่อเนื่องหรือนิ้วเท้าเกย หรือชิดกันมากทำให้อาจติดเชื้อราที่ง่ามนิ้วเท้าเกิดเป็นผื่นขุยเปียกขาว ควรใช้ยาทารักษาเชื้อรา
- ถ้ามีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน
- ระวังการตัดเล็บเท้า เพราะ อาจเกิดบาดแผลเป็นทางเข้าของเชื้อโรค
- ทำความสะอาดเท้า ง่ามเท้าของเล็บทุกครั้งหลังลุยน้ำด้วยน้ำ และสบู่ เช็ดให้แห้ง
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม ระวังน้ำปนเปื้อนสารเคมี ระวังไฟฟ้าดูด รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ระวังแมลงกัด และระวังโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก ดังนั้น หากเท้ามีความผิดปกติควรรีบพบแพทย์
ข้อมูล :กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง