ระหว่างนั้นได้ ลุงศักดินา ได้จึงได้รออยู่ที่ด้านล่างของอาคาร และได้กล่าวบอกกับผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงว่า “ขอให้รอดู ถ้าเจอแรมโบ้ จะตบให้ดู เพราะทำให้คนอีสานต้องเสื่อมเสีย จากพฤติกรรมเป็นคนเสื้อแดงกลับใจ” ก่อนลงมือทำร้าย “แรมโบ้ ” หรือ นายเสกสกล จนเป็นข่าวใหญ่
‘ลุงเสื้อแดง’สุดห้าว ไลฟ์สดยืนยัน ตบหัว’แรมโบ้อีสาน’ไป 4 ที ไม่หวั่นถูกดำเนินคดี
จนล่าสุด นายวีรวิชญ์ แฝงตัวมาเป็นนักข่าวทำท่าทีสอบถามประเด็นการร้องเรียนของนายศรีสุวรรณ ว่าหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดี 8 ปีนายกรัฐมนตรี จะมีการแจ้งความคนเห็นต่างหรือไม่ แต่ยังไม่ทันจะถามจบนายวีรวิชญ์ได้เข้าไปทำร้ายชกต่อยนายศรีสุวรรณ ทันทีกลางวงสัมภาษณ์ ทำให้นักข่าวอึ้งกันทั้งวงสัมภาษณ์
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 1 มิ.ย. 2565 เวลา 09.00 น. ศาลแขวงดุสิตนัดอ่านคำพิพากษาในคดีของ “ศักดิ์” หรือ วีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล ดีไซเนอร์และอดีตผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงวัย 62 ปี สืบเนื่องจากการเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยเขาถูกกล่าวหาว่า ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สำหรับการชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 เกิดขึ้นในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดยเป็นการชุมนุมของประชาชนซึ่งรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนจะเดินเท้ามุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่น “จดหมายลาออกของนายกฯ ฉบับจำลอง” ให้ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง และ 2 เงื่อนไข ของผู้ชุมนุม โดยไม่ได้มีแกนนำหลักในการชุมนุม
การชุมนุมครั้งนี้ ต่อมามีผู้ถูกดำเนินคดีรวมทั้งหมด 14 ราย ซึ่งพนักงานอัยการได้ทยอยสั่งฟ้องจำเลยแยกสำนวนคดีเป็นรายบุคคล โดยไม่ได้พิจารณาร่วมเป็นคดีเดียวกัน ต่อมา ศาลแขวงดุสิตได้ทยอยมีคำพิพากษายกฟ้องคดีไปแล้ว 5 รายด้วยกัน ได้แก่ คดีของภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, อานันท์ ลุ่มจันทร์, ไพศาล จันปาน, วสันต์ กล่ำถาวร และสุวรรณา ตาลเหล็ก
สำหรับคดีของวีรวิชญ์ เขาถูกอัยการฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2563 คดีมีการสืบพยานจนเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 20-21 เม.ย. 2565 ก่อนศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันนี้
ศาลยกฟ้อง “วีรวิชญ์” ระบุชุมนุมโดยสงบ ไม่มีอาวุธ เป็นสิทธิเสรีภาพที่ถูกรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ ณ ห้องพิจารณาคดี 509 ศาลอ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า ถึงแม้ในวันเวลาเกิดเหตุ คดีนี้อยู่ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมที่มีการมั่วสุมเกินกว่า 5 คนขึ้นไป และไม่ให้ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมืองก็ตาม แต่การจะพิจารณาว่าการกระทำตามฟ้องนั้นผิดตามประกาศดังกล่าวหรือไม่ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำด้วย ตามฟ้องที่อัยการโจทก์อ้างว่า จำเลยได้กระทำการปลุกระดม ก่อให้เกิดความวุ่นวายและกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญนั้น
พิเคราะห์แล้วได้ความว่า จำเลยเบิกความยืนยันว่าได้เข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์จริง และ พ.ต.อ.วิบูลย์ นนทะแสง เจ้าหน้าที่หน่วยสืบสวน สถานีตำรวจนครบาลพญาไท เบิกความว่าจำเลยเข้าร่วมการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เป็นเพียงการเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
และตามฟ้องที่กล่าวหาว่าในวันเดียวกันจำเลยได้เข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณแยกอุรุพงษ์ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการรื้อลวดหนาม จำเลยเบิกความว่าไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณดังกล่าว และศาลเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บริเวณแยกอุรุพงษ์นั้นเป็นเหตุการณ์ส่วนน้อยเท่านั้น ในการชุมนุมทั้งหมด