วันที่ 19 ตุลาคม เวลา 11.00 น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ครั้งที่3/2565 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมได้รับทราบ รายงานสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่ 1 ม.ค.-6 ต.ค.65 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 66 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 32 จังหวัด ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และรับทราบผลการดำเนินงาน 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 65 ที่สำคัญ ทุกหน่วยงานได้จัดกำลังคนและเครื่องจักรกล จำนวน 21,428 หน่วยงาน และจัดตั้งศูนย์บริการจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 2 แห่ง ได้แก่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ชัยนาท รวมถึงพื้นที่ภาคใต้ หากเกิดสถานการณ์รุนแรง ซึ่งจะสามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จากการคาดการณ์ ณ 1 พ.ย.65 จะมีปริมาตรน้ำทั้งประเทศ จำนวน 53,843 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าปี 64 ถึง 1,941 ล้าน ลบ.ม. ก็ตาม
"พล.อ.ประวิตร" ห่วงชาวบ้านเดือดร้อนจากน้ำท่วม
ข่าวที่น่าสนใจ
จากนั้น คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ (ร่าง)แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่1) โดย สทนช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันปรับปรุงแล้วเสร็จ เตรียมเสนอ สศช.และ ครม. ตามลำดับ ต่อไป และเห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี65/66 เพื่อเตรียมความพร้อมแก้ปัญหาภัยแล้ง ให้ทันต่อสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งประเทศไทยต้องประสบทุกปี และเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของ กทม.พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน จากปัญหาน้ำท่วม อยู่ในขณะนี้ และอนาคต ต่อไป รวมทั้งได้เห็นชอบผลการวิจัยนวัตกรรมเชิงระบบ โครงสร้าง และกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ จากความร่วมมือของ สอวช. และ TDRI โดยเสนอเป็นแนวทาง ระยะสั้น (Quick Win) และระยะยาว (Big Win)
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานให้บรรลุผล ตามเป้า ของแผนฯ 20 ปี พร้อมทั้งให้ทุกหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบแผนงาน / โครงการ ต่างๆ ที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว ในวันนี้ เร่งติดตามและผลักดันให้ทันตามกรอบเวลา เพื่อให้ประชาชนจะได้รับประโยชน์ ทั่วถึง รวดเร็ว รวมทั้งลดผลกระทบความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน จากภาวะวิกฤตน้ำ อย่างยั่งยืน ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง