“กล้องเจมส์ เว็บบ์” เผยภาพเสาแห่งการก่อกำเนิด ห่างโลก 6,500 ปีแสง

กล้องเจมส์ เว็บบ์

"กล้องเจมส์ เว็บบ์" กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ เผยภาพเสาแห่งการก่อกำเนิด หรือ Pillars of Creation ภายในเนบิวลานกอินทรี ห่างโลก 6,500 ปีแสง

“กล้องเจมส์ เว็บบ์” กล้องเจมส์ เวบบ์ ล่าสุด ภาพจากกล้องเจมส์เวบบ์ เสาแห่งการก่อกําเนิด pillars of creation โดยล่าสุดทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยข้อมูล กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ที่ได้เผยภาพความงามของ เสาแห่งการก่อกำเนิด หรือ Pillars of Creation ที่อยู่ในเนบิวลานกอินทรี ติดตามรายละเอียดทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“กล้องเจมส์ เว็บบ์” โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุข้อความว่า งดงามตระกาลตา ‘Pillars of Creation’ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ นี่คือภาพบริเวณเล็ก ๆ ภายในเนบิวลานกอินทรีที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 ปีแสง กลุ่มฝุ่นและแก๊สสีเหลืองสดใสที่เห็นในภาพเป็น ‘วัตถุดิบหลัก’ ที่จะก่อตัวไปเป็นดาวฤกษ์ยุคใหม่ที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังกลุ่มแก๊สอันหนาทึบเหล่านี้ ราวกับเป็นเสาหลักแห่งห้วงอวกาศที่คอยให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ เป็นที่มาของชื่อ ‘Pillars of Creation’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘เสาแห่งการก่อกำเนิด’

 

เสาแห่งการก่อกำเนิด หรือ Pillars of Creation อยู่ห่างออกไปจากโลก 6,500 ปีแสง เป็นเนบิวลาขนาดเล็กเพียง 4-5 ปีแสงที่อยู่ภายในเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula, M16) หากใครคุ้นเคยกับวงการภาพถ่ายดาราศาสตร์ก็น่าจะคุ้นหูชื่อเนบิวลาเหล่านี้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเนบิวลาที่มีความสวยงามและสามารถบันทึกภาพได้ไม่ยากนัก

 

 

กล้องเจมส์ เว็บบ์

 

 

โดยภาพที่ทำให้ Pillars of Creation เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือผลงานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 1995 หรือกว่า 27 ปีที่แล้ว เผยให้เห็นกลุ่มฝุ่นและแก๊สอันหนาทึบ และเป็นภาพที่มีโทนสีแตกต่างไปจากภาพล่าสุดนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากฮับเบิลถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น และใช้ฟิลเตอร์กรองแสงในช่วงคลื่นเฉพาะ จึงประมวลผลภาพออกมาเป็นสีสันที่แตกต่างไปจากเจมส์ เว็บบ์

 

 

 

ภาพล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ไม่เพียงแต่เผยให้เห็นรายละเอียดและสีสันที่ต่างออกไป แต่ยังแสดงให้เห็นดาวฤกษ์ที่ซุกซ่อนอยู่ภายในฝุ่นอันหนาทึบเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนมาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของช่วงคลื่นอินฟราเรดที่สามารถทะลุฝุ่นหนาทึบเหล่านี้ได้ดี ยิ่งรวมเข้ากับขนาดหน้ากล้องที่ใหญ่และอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างกล้อง NIRCam

 

 

กล้องเจมส์ เว็บบ์

 

 

จึงทำให้ได้ภาพเนบิวลาอันโด่งดังแห่งนี้อย่างคมชัดแบบที่ไม่เคยมีกล้องใดทำได้มาก่อน ช่วยให้นักดาราศาสตร์ระบุจำนวนดาวฤกษ์เกิดใหม่ในเนบิวลาแห่งนี้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น นำไปสู่การสร้างแบบจำลองการก่อกำเนิดดาว และการทำความเข้าใจกระบวนการก่อกำเนิดดาวฤกษ์ภายในเนบิวลานั่นเอง

 

นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบแนวฝุ่นและแก๊สระหว่างภาพจากฮับเบิลกับภาพจากเจมส์ เว็บบ์ จะพบว่าส่วนที่หนาทึบของฮับเบิลนั้น เป็นส่วนที่สว่างสีเหลืองสดใสของเจมส์ เว็บบ์ เนื่องจากกลุ่มฝุ่นและแก๊สเหล่านี้มีอุณหภูมิต่ำ จึงไม่แผ่รังสีในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ฮับเบิลจึงมองเห็นกลุ่มฝุ่นนี้เป็นสีดำเข้ม

 

ขณะที่เจมส์ เว็บบ์สามารถมองเห็นรายละเอียดของแก๊สเหล่านี้ได้ชัดเจน เนื่องจากแก๊สอุณหภูมิต่ำเช่นนี้จะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา ทำให้เจมส์ เว็บบ์สามารถบันทึกรายละเอียดของกลุ่มแก๊สนี้ได้ ขณะที่แสงจากดาวฤกษ์พื้นหลังก็ยังสามารถทะลุฝุ่นเหล่านี้ออกมาได้อีกด้วย

 

 

กล้องเจมส์ เว็บบ์

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , nasa

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น