"โรคหัด" เมื่ออากาศเย็นฉับพลัน มาพร้อมกัยโรคร้าย แพทย์เตือนดูแลบุตรหลายให้ดี เสี่ยงระบาด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก
ข่าวที่น่าสนใจ
อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลันสู่สภาพอากาศที่หนาวเย็นและมีฝน ย่อมส่งผลต่อสุขภาพได้ นอกจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวมแล้ว “โรคหัด” หรือโรคไข้ออกผื่น เป็นโรคที่มากับอากาศหนาวและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก
“โรค หัด” เกิดจากอะไร
- เกิดจากเชื้อไวรัส Measles
- ติดต่อและแพร่กระจายได้ง่ายผ่านเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และละอองอากาศ
- โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการไอ จาม และพูดคุยในระยะใกล้ชิด
- ผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสอาศัยอยู่ในลำคอ สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ 1-2 วัน
- ก่อนเริ่มมีผื่นขึ้น และอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ คือ คออักเสบ หลอดลมอักเสบจนถึงปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ท้องเสีย และสมองอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาจำเพาะ เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่
- ให้ยาลดไข้ ให้สารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
- นอกจากนี้ การรับประทานวิตามินเอเสริมในผู้ป่วยโรค หัดจะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างและลดอัตราการเสียชีวิตได้
- แต่หากมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียวหรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
วิธีป้องกันโรค หัด
- การฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบันเป็นวัคซีนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคน
- เข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สามารถรับบริการวัคซีนป้องกันหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) สำหรับเด็กไทยอายุ 9 เดือน – 2 ปี ทุกสิทธิการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อเข้ารับบริการที่หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ตามสิทธิการรักษาหรือสามารถติดต่อเข้ารับบริการที่หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ในระบบหลักประกันสุขภาพประเภทหน่วยบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง