โครงสร้าง "สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา" สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย หลังครม.มีมติให้สร้าง หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม และโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดในทะเลสาบสงขลา
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการสร้าง “สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา” ระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา-อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2566-2568 ของกรมทางหลวงชนบท หากก่อสร้างดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถลดระยะการเดินทางระหว่างจังหวัดได้มากกว่า 80 กม. และลดระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ถึงแม้โครงการจะสามารถสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น แต่หลายฝ่ายก็มีความกังวล อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และฝูงโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายในทะเลสาบสงขลา ซึ่งธนารคารโลก เจ้าของเงินกู้โครงการเองก็ให้พิจารณาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและฝูงโลมาอิรวดีที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ด้วย
ต่อมาผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า สถานการณ์โลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดเหลือแค่ 5 แห่งในโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็น 1 ใน 5 และตอนนี้ทะเลสาบสงขลาวิกฤตสุด เพราะ เหลือเพียง 14 ตัวเท่านั้น
โดยปัจจัยหลัก คือ การประมง และถึงแม้ว่าสะพานไม่ได้สร้างทับแหล่งอาศัยโลมาโดยตรง แต่อาจมีผลกระทบต่อด้านอื่น ๆ เช่น
- สภาพแวดล้อม
- อาหาร
- เสียงก่อสร้าง
- และอื่นๆ
ซึ่งธนาคารโลกและองค์กรระหว่างประเทศเองก็ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ โดยการหาทางออกต้องใช้ความรอบคอบ ข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อไม่ให้พลาด เพราะ ถ้าพลาดจะหมายถึงเผ่าพันธุ์หนึ่งสูญพันธุ์จากพื้นที่แห่งหนึ่งไปตลอดกาล
ในขณะที่วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า เรื่องดังกล่าวผมไม่ได้นิ่งนอนใจ ผมได้โทรหารือกับผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ถึงความเป็นไปได้ในการนำงบประมาณส่วนหนึ่งจากโครงการมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
และได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมศึกษา และวิจัยเพิ่มเติมเพื่อรักษาชีวิตโลมาอิรวดีทั้ง 14 ตัวสุดท้ายให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนมากที่สุด โดยจะนำเรื่องดังกล่าวให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานงานกับแหล่งที่มาของงบประมาณโครงการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานวิจัยให้มีผลและมีประสิทธิภาพต่อไป
ปัจจุบัน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ประชากรลดลงเรื่อย ๆ โดยภัยคุกคามหลักมาจาก
- การติดอวนประมง
- การประมงผิดกฎหมาย
- การสร้างเขื่อนที่กระทบแหล่งอาศัย
- รวมถึงปัญหามลพิษทางน้ำ
ซึ่งในประเทศไทยโลมาอิรวดีจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครอง พ.ศ.2535 นอกจากนี้ ยังเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยในการประชุม CITES ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยเสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบัญชีที่ 1 ทำให้โลมาอิรวดีได้รับความคุ้มครองสูงสุดในระดับนานาชาติ
ข้อมูล : TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา และ Thon Thamrongnawasawat
ข่าวที่เกี่ยวข้อง