โฆษก ตร. เตือนภัย ระวังแบงค์พันปลอมระบาด แนะให้ดูแถบสีทอง

โฆษก ตร. เตือนภัย ระวังแบงค์พันปลอมระบาด แนะให้ดูแถบสีทอง

วันนี้ (22 ต.ค. 2565) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) เปิดเผยกรณี แบงค์พันปลอมระบาดในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ​พล.ต.ต.อาชยนฯ เผยว่า กรณีบนโลกโซเชียลได้มีการโพสภาพและข้อความ ระบุให้ระวังแบงค์พันปลอมระบาด จาก 2 พื้นที่ ซอยกำนัน อ.เมืองอุดรธานี ลูกค้าเอาเงินปลอมมาซื้อหมูกระทะที่ร้าน และร้านขายของชำที่ ต.เชียงหวาง อำเภอเพ็ญ มีลูกค้านำแบงก์พันบาทมาซื้อของภายในร้าน ในกรณีดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ขอให้ตรวจสอบธนบัตรที่ได้รับ โดยเฉพาะธนบัตรที่มีมูลค่าสูง จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก๊งปลอมธนบัตร

พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีสังเกตในเบื้องต้นธนบัตรใบละ 1,000 บาท ว่าปลอมหรือไม่ ให้ดูที่ “แถบสีในเนื้อกระดาษ” ดังนี้ เป็นพลาสติกสีทองที่ฝังไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง ของธนบัตร จึงเรียกว่า “แถบสีทอง”, ในมุมปกติจะมองเห็นเป็นเส้นประแต่เมื่อส่องกับแสงจะเห็นเป็นเส้นตรงและมีข้อความ “1000 บาท 1000 BAHT” เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว และลวดลายในแถบจะกลิ้งเคลื่อนไหวไปมาได้แถบสีอาจมีรอยขูดขีด หลุดลอกชำรุดจากการใช้งานได้ แถบสีที่อยู่ในเนื้อกระดาษธนบัตรแต่ละฉบับสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันได้ โดยอาจเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา ตามระยะที่มาตรฐานกำหนดไว้ โดยโทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 ระบุไว้ว่า ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 40,000 บาท

สำหรับการใช้เงินปลอมซื้อของโทษสูงสุดติดคุก 15 ปี การใช้ธนบัตรปลอมในการซื้อสินค้าและบริการเป็นการกระทำที่มีความผิดตามกฎหมายอาญาโดยแบ่งความผิดตามเจตนาของผู้ใช้ธนบัตรปลอมออกเป็น 2 ประเด็นหลัก

1.ได้ธนบัตรปลอมมาโดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอม แต่ต่อมาเมื่อรู้ว่าเป็นของปลอมแล้วยังขืนนำออกไปซื้อสินค้าและบริการต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245

2.การมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อใช้โดยที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 30,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244

พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชน เน้นย้ำให้บังคับใช้กฎหมายจัดการกลุ่มมิจฉาชีพปลอมแบงค์อย่างเคร่งครัด สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งปราบปรามและหาทางป้องกันอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชน ที่เป็นสุจริตชน และเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หากพี่น้องประชาชนพบการกระทำความผิดสามารถแจ้งเบาะแสและสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วน 191 หรือสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น