นักวิชาการ ชี้ชัดเงื่อนไขกสทช.คุมควบรวม TRUE-DTAC มุ่งผู้บริโภคแต่กระทบ 2 ค่ายต้องปรับแผนธุรกิจ

นักวิชาการ ชี้ชัดเงื่อนไขกสทช.คุมควบรวม TRUE-DTAC มุ่งผู้บริโภคแต่กระทบ 2 ค่ายต้องปรับแผนธุรกิจ

รศ.ดร.สุชาติ ไตรภพสกุล  อาจารย์ประจำคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แสดงความเห็น ภายหลังที่ประชุมกสทช. ได้มีมติรับทราบการควบรวมตามประกาศปี  61 พร้อมกำหนดเงื่อนไขคุ้มครองผู้บริโภค โดยออกมาตรการห้ามทั้งสองค่ายรวมแบรนด์เข้าด้วยกันเป็นระยะเวลา 3  ปี  ซึ่งเป็นมาตรการที่คงทางเลือกของผู้บริโภคให้มีเวลาตัดสินใจ และทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเห็นผลกระทบของการควบรวมธุรกิจและมีข้อมูลในการตัดสินใจใช้บริการต่อไป และมีมาตรการ“การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน”ที่กำหนดให้ทั้งสองค่าย เปิดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนหรือ MVNO ได้เช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมที่ทั้งสองมีอยู่ และต้องห้ามปฎิเสธการเช่าใช้บริการ รวมถึงต้องจัดหน่วยธุรกิจเฉพาะเพื่อให้บริการ MVNO โดยตรง

ซึ่งต้องให้บริการได้ทันทีหลังรวมธุรกิจ อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการ MVNO รายเล็กในตลาด มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น อันจะเป็นทางเลือกมากขึ้นให้กับผู้บริโภค    นอกจากนั้นยังมีมาตรการเรื่องเพดานราคาที่กำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย และการกำหนดราคาค่าบริการโดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งต้องส่งโครงสร้างราคาค่าเฉลี่ยให้กสทช.รับทราบทุก 3 เดือน และบังคับรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาที่กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบเรื่องโครงสร้างต้นทุนนั้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.ดร.สุชาติ ระบุว่า เป็นมาตรการที่เข้มข้นและมีรายละเอียดที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง  ในขณะที่น่าจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการทั้งสองค่ายค่อนข้างมาก  โดยเฉพาะมาตรการห้ามควบรวม แบรนด์เป็นเวลา 3 ปี  ซึ่งน่าจะเป็นหัวใจหลักของการตัดสินใจรวมธุรกิจครั้งนี้ เพราะทำให้ส่งผลกระทบต่อแผนการทำการตลาด การบริหารต้นทุน และการเสียโอกาสในการนำจุดแข็งของทั้งสองค่ายมารวมกัน อีกทั้งยังกระทบต่อกรอบเวลาการควบรวมธุรกิจที่จะต้องขยายออกไปถึง 3  ปี และที่สำคัญยังเอื้อประโยชน์ให้คู่แข่งรายใหญ่ใช้ความได้เปรียบนี้สร้างแคมเปญทางการตลาดเพื่อช่วงชิงลูกค้าของทั้งสองค่ายไปได้อีกนานเช่นกัน

นอกจากนั้น มาตรการเรื่องผู้ให้บริการMVNO ยังกระทบกับแผนธุรกิจของทั้งสองบริษัท ซึ่งสวนทางกับแนวทางการควบรวมุรกิจ ที่โครงสร้างองค์กรควรจะกระชับและคล่องตัวมากขึ้น แต่กลับต้องขยายเพิ่มหน่วยธุรกิจขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้บริการแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนหรือ MVNO   และเป็นมาตราการบังคับที่ห้ามปฎิเสธการให้บริการ รวมทั้งต้องพร้อมให้บริการทันทีที่การควบรวมเกิดขึ้น  อีกทั้งยังต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาที่กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบเรื่องโครงสร้างต้นทุนของบริษัทใหม่อีกด้วย

 

จากมติของกสทช.ครั้งนี้ ฝ่ายบริหารทั้งทรูและดีแทค น่าจะต้องมีการประชุมเพื่อปรับแผนธุรกิจกันใหม่ครั้งใหญ่ เพราะกระทบทั้งเรื่องโครงสร้างการบริหาร และต้นทุนการตลาดที่ต่างฝ่ายต้องแบกรับภาระต่อไป   ตลอดจนแผนการตลาดที่ต้องคลาดเคลื่อนจากที่กำหนดไว้ ซึ่งระยะเวลา 3 ปีที่ห้ามรวมแบรนด์นี้นับเป็นการเสียโอกาสทางการตลาด และทำให้พลาดการขึ้นเป็นผู้นำตลาดทันทีหลังควบรวม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หมอวรงค์" คาใจ "นายกฯ" บอกไม่รีบ แต่เพื่อไทยเร่งสุด "ร่างกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์" ยกอดีตไทยเปิดบ่อนเตือนสติ
ศาลรธน.เกาหลีใต้ตัดสินถอดถอนยุนซ็อกยอล
สุดเศร้า พบร่างนางงามเมียนมา ใต้ซากคอนโด หลังเกิดแผ่นดินไหวมัณฑะเลย์ ค้นหานาน 7 วัน
"กู้ภัย" เตรียมพร้อม รอประชุมปรับแผนเช้านี้ หลังเปิดโพรงโซน D ตึกสตง.ถล่ม ได้สำเร็จ หวังเจอทางเชื่อมอีกหลายจุด
เหนือ-อีสาน อากาศร้อนชื้น ใต้เจอฝนตกหนัก 16 จังหวัดอ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.มีฝนเล็กน้อย
"สุดาวรรณ" นำผู้บริหารรดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ สืบสานประเพณีไทย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ปี68
พาณิชย์ขอนแก่น ยกทัพผู้ประกอบการ เข้าร่วมงาน STYLE Bangkok 2025 โชว์มนต์เสน่ห์ที่น่าหลงใหลผลิตภัณฑ์ภาคอีสาน
วธ. ชวนประชาชนร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 2-8 เม.ย.นี้ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
“ว้าแดง” ขนยาเย้ยอาฟเตอร์ช็อก! “ทัพเจ้าตาก” ซัดโป้ง ยึด 1.2 ล้านเม็ด
"SEP GROUP" รุกสร้างท่าเทียบเรือแห่งแรก "บางปู" แก้ปัญหาจราจร กระตุ้นท่องเที่ยวทางทะเล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น