น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมและมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลโดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงพัฒนากับธนาคารกลางอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนร่วมกันผลักดันโครงการ ASEAN Payment Connectivity ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคมีความสะดวก ปลอดภัย และต้นทุนต่ำ ผลสำเร็จที่เห็นชัดคือ ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) สองรูปแบบคือ (1) การชำระเงินด้วย QR payment และ (2) การโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านบัญชีอย่างสะดวกและรวดเร็ว จนประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนจากการมีจำนวนการเชื่อมโยงด้านการเงินมากที่สุด
“ในปัจจุบันมี 6 ประเทศนำร่อง การโอนเงินระหว่างประเทศกับไทย ( Cross-border QR Payment) คือ ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าการใช้บัตรเครดิต วิธีการง่ายๆเพียงสแกนไทยคิวอาร์โค้ด ผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่กรุงเทพ กสิกรไทย กรุงไทย ไทยพาณิชย์ และกรุงศรีอยุธยา” น.ส. ทิพานัน กล่าว
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ซึ่งความสำเร็จนั้น เป็นการต่อยอดมาจากการพัฒนา Thai QR payment ภายใต้ระบบ PromptPay ของรัฐบาล พล.อประยุทธ์ จนทำให้ไทยมี QR code ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และได้กลายมาเป็นบริการชำระเงินที่คนไทยคุ้นเคยในทุกวันนี้ จากโครงการที่ประสบผลสำเร็จทั้งทางด้านนวัตกรรมการเงินดังกล่าว ไทยจึงเสนอแนวปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อ “APEC Policy Considerations for Developing Cross-Border Payments and Remittances” ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้จัดแสดงนวัตกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Payment) ประกอบด้วย Cross-border QR Payment และ Digital Supply Chain Solution เพื่อเป็นแนวทางให้กับสมาชิกเอเปคอื่น ๆ นำนวัตกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับประเทศสมาชิกเอเปคในอนาคต ซึ่งการนำเสนอนวัตกรรมการเงินดิจิทัลนี้ จะทำให้คนไทยและธุรกิจไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่องคือ