รถไฟฟ้าสีส้ม ยังไม่เข้าครม. “ศักดิ์สยาม” แจงรอรฟม.สรุป

รถไฟฟ้าสีส้ม ยังไม่เข้าครม. "ศักดิ์สยาม" แจงรอรฟม.สรุป

สืบเนื่องจากรายงานว่า บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงวันที่ 21 ก.ย.2565 เรื่องคัดค้าน และไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามประกาศเชิญชวนและเอกชนการคัดเลือกเอกชนฉบับเดือน พ.ค.2556 พร้อมระบุว่าหนังสือฉบับดังกล่าว ได้มีการนำส่งคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีกด้วย

โดยรายละเอียดสำคัญ ชี้แจงว่าการยกเลิกการประมูล เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทาง BTS จึงนำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายดำที่ 580/2564 และศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในที่สุดว่า มติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ และประกาศของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ที่ให้ยกเลิกการประมูลเป็นมติและประกาศที่ออกโดยใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนและออกเอกสารการคัดเลือก ฉบับเดือน พ.ค.2565 และประกาศให้ ITD Group หรือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และพันธมิตร เป็นผู้ผ่านการพิจารณาซอง 1 (ข้อเสนอคุณสมบัติ) ทั้งที่นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการและผู้มีอำนาจลงนามของ ITD ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ดังนั้น กลุ่ม ITD จึงเป็นเอกชนที่มีคุณลักษณะไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน และไม่มีสิทธิได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่องลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน พ.ศ.2562

และด้วยคุณสมบัติด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเพียง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวที่ผ่านการพิจารณา และถือว่าเป็นการประมูลที่ไม่มีการแข่งขัน ดังนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ควรชี้แจงหรือตอบข้อสงสัยให้ได้ว่ารัฐจะได้ประโยชน์อย่างไร เพราะข้อเสนอของ BEM ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด โดยผลการยื่นข้อเสนอมีดังนี้

1. BEM ได้เสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน : NPV) เท่ากับ -78,287 ล้านบาท

2. ITD Group ได้เสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน : NPV) เท่ากับ -102,635 ล้านบาท

ตามข้อมูลดังกล่าว BEM จึงเป็นผู้เสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐต่ำที่สุดและเป็นผู้ชนะการประมูล แต่เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2565 บีทีเอสได้เสนอหลักฐานที่ได้จากการเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของการประมูลรอบแรกที่ยื่นไปเมื่อปี 2563 โดยผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน : NPV) เท่ากับ -9,675 ล้านบาท แตกต่างจากผู้ชนะการประมูลครั้งล่าสุดเกือบ 70,000 ล้านบาท จึงอาจเป็นการประมูลที่กีดกันไม่ให้บีทีเอสเข้าร่วม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทางด้าน พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้ความเห็นในงานเสวนาเปิด เวทีสาธารณะค้นหาความจริง “กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม” ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!! ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ จัดโดย องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย ) หรือ ACT ว่า บริษัท BTS ตั้งคำถามไปยังคณะกรรมการคัดเลือก ถึงการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเต็มที่หรือไม่ เนื่องจาก เม็ดเงิน 6.8 หมื่นล้านบาท เป็นตัวเลขที่สูง หากการประมูลเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ปี 2563 รัฐบาลจะเสียเงินเพียง 9 พันกว่าล้านบาท จึงได้ตั้งคำถามไปถึงคณะกรรมการคัดเลือกว่าได้มีการนำข้อมูลการเสนอราคาของบีทีเอส ไปเป็นข้อมูล ในการเจรจาต่อรองกลับผู้ชนะการประมูลหรือไม่ พร้อมแสดงไทม์ไลน์ให้แก่คณะกรรมการฯทราบ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รับทราบความเสียหายที่เกิดขึ้น และจะมีผู้ใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ

 

 

 

 

 

ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมครม. ว่า ในวันนี้ (25 ต.ค.65) ทางด้านกระทรวงคมนาคม ไม่ได้นำวาระการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เข้าที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณา และ ขณะนี้ยังไม่ได้มีการส่งรายละเอียดใดๆ เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ให้แก่รัฐมนตรีได้รับทราบตามที่มีกระเเสข่าวออกมา

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน หรือ คณะกรรมการ ม. 36 และ รฟม. ซึ่งทางรฟม. ยังไม่ได้สรุปข้อมูลการดำเนินงานมายังกระทรวงคมนาคม โดยจะเเล้วเสร็จเมื่อใดนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ม. 36 ว่าจะพิจารณาเเล้วเสร็จเมื่อใด เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ เป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP จึงต้องดำเนินการตามขั้นตอน และหลังพิจารณาแล้วเสร็จ ทางด้านรฟม. เสนอมายังตน เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจว่าจะนำเสนอต่อครม. หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างรอรฟม.ส่งเรื่องมาให้

 

 

 

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวม 35.90 กิโลเมตร (กม.) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกทม. ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็น
– ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี)
– ส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บึ้มสนั่นกลางดึก ชาร์จรถ 3 ล้อไฟฟ้า เกิดไฟฟ้าลัดวงจรลามไหม้ร้านของชำ หวิดวอดทั้งหลัง
กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย เตือนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง
"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น