ย้อนไฟใต้ “ทักษิณ” จุดชนวน แต่วันนี้กลับโยนบาปคนอื่น ข้ออ้างสารพัด

ย้อนไฟใต้ "ทักษิณ" จุดชนวน แต่วันนี้กลับโยนบาปคนอื่น ข้ออ้างสารพัด

จากกรณี นายทักษิณ ชินวัตร หรือ โทนี่ วู้ดซัม อดีตนายกรัฐมนตรีและนักโทษหนีคดี กล่าวในรายการ CareTalk x Care ClubHouse เมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 ตุลาคม โดยนายทักษิณกล่าวขอโทษต่อเหตุการณ์รุนแรง 18 ปี สลายชุมนุมตากใบ ก่อนโยนบาปให้ไปถามพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เพราะรู้ดีเนื่องจากเวลานั้นเป็นผบ.ทบ. นายทักษิณยังอ้างอีกว่าสันติบาลมาเลเซียเคยเล่าแผนจ้องล้มรัฐบาลทักษิณ ทำให้คนมุสลิมต้องรังเกียจ

อย่างไรก็ดีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ หากย้อนกลับไปตรวจสอบข้อมูลในอดีต จะพบว่าสถานการณ์ได้ดีขึ้นมามากแล้วในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย แต่เมื่อนายทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศ 2 สมัยตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไฟใต้ได้กลับลุกโชนอีกครั้ง เพราะนายทักษิณใช้นโยบายกำปั้นเหล็กในการแก้ปัญหา และออกนโยบายผิดพลาด แต่วันนี้กลับมาแก้ตัวและโยนบาปให้คนอื่น ดังนั้นทีมข่าวท็อปนิวส์จะพาย้อนอดีตไปตรวจสอบความจริงเรื่องนี้อีกครั้งว่านายทักษิณทำอะไรไว้บ้าง จึงทำให้ไฟใต้ลุกโชน

-30 มีนาคม 2545 พลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์ ผบ.ตร.ขณะนั้น เสนอยุบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภาคใต้เกือบทั้งหมด รวมถึง 2 หน่วยงานหลักสำคัญ ได้แก่ ศอ.บต. ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นคนดูแล และ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 หรือ พตท. 43 ที่กองทัพบกรับผิดชอบ

-ในการประชุมฝ่ายความมั่นคง นายทักษิณบอกว่าสถานการณ์ภาคใต้ไม่มีโจรแบ่งแยกดินแดน อยากให้ยุบหน่วยงานทหารเฉพาะกิจที่อยู่ในพื้นที่ และใช้ตำรวจเข้าแก้แทน ทำให้วันที่ 30 เมษายน 2545 ที่ประชุม สมช.มีมติให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ และมอบหมายให้ตำรวจเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบปัญหาภาคใต้

-เดือนมิถุนายน 2545 เกิดเหตุนายพักคูรอซี ดอเลาะ ส.จ.นราธิวาส เขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ถูกเจ้าหน้าที่อุ้มหายไปจากสนามบินดอนเมือง โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่านายพักคูรอซีเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนในพื้นที่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

-4 มกราคม 2547 มีการก่อเหตุเผาโรงเรียน 20 แห่งในนราธิวาส เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ก่อนกลุ่มคนร้ายบุกปล้นปืน 413 กระบอก ในค่ายปิเหล็ง พร้อมสังหารทหารไป 4 นาย และเป็นจุดเริ่มต้นของไฟใต้รอบใหม่

-นายทักษิณด่าผู้ก่อความไม่สงบซ้ำว่าเป็นโจรกระจอก จากนั้นใช้มาตรการรุนแรงเอากำลังเข้าปราบปราม จนเกิดการต่อต้านต่อสู้อย่างหนักจากประชาชนในพื้นที่

-28 เมษายน 2547 เกิดเหตุบุกโจมตีที่มั่นทางทาง 11 จุดใน 3 จังหวัด ปัตตานี ยะลา สงขลา แต่จุดใหญ่ที่สุดคือมัสยิดกรือเซะ ปัตตานี ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลบเข้าไปใช้เป็นที่กำบังต่อสู้กับเจ้าหน้าที่จนเกิดการปะทะ เวลานั้นฝ่ายความมั่นคงมี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกฯ มีพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้องกับทักษิณเป็นผบ.ทบ. ส่วนผู้บัญชาเหตุการณ์คือ พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี รอง ผอ.กอ.รมน. และมี พลโทพิศาล วัฒนวงษ์คีรี เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 สุดท้ายเหตุการณ์นี้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิตในมัสยิด 32 ราย ขณะที่ตลอดทั้งวันที่มีการปะทะกันหลายจุดมีคนเสียชีวิตรวม 108 ราย เป็นเจ้าหน้าที่จำนวน 5 ราย และผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก

– 25 ตุลาคม 2547เกิดเหตุชาวบ้านชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจำนวน 6 คนที่ถูกจับกุมตัว จากนั้นเกิดเหตุการณ์ชุลมุน เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจปิดล้อมพื้นที่และสลายการชุมนุม มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตในจุดเกิดเหตุ 6 คน และถูกควบคุมตัวไปราว 1,370 คน แต่ระหว่างทางลำเลียงผู้ชุมนุมไปตรวจสอบ เกิดเหตุผู้ชุมนุมแออัดทับกันบนรถบรรทุกนานกว่า 6 ชั่วโมง หมดสติ หายใจไม่ออกส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอีก 85 คน

-จากนั้นไฟใต้โหมกระพรือถึงขีดสุด มีการก่อเหตุร้าย คนบริสุทธิ์สังเวยชีวิตเป็นเบือ ทหารตำรวจข้าราชการตายเป็นร้อย แต่แล้วจู่ๆวันที่ 21 กรกฏาคม 2548 นายทักษิณกลับสั่งยกเลิกกฎอัยการศึกใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลให้ทหารไร้เครื่องมือทำงานผู้ก่อความไม่สงบเริงร่า

-หลังรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ชนะเลือกตั้งเมื่อปี 2554 วันที่ 19 กรกฏาคม 2554 นายทักษิณได้กล่าวคำขอโทษพี่น้องมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยยอมรับว่าในยุคตนเองมีนโยบายผิดพลาดในการแก้ปัญหาความไม่สงบ โดยเฉพาะการพูดคำว่า โจรกระจอก

ซึ่งในยุคนายทักษิณบริหารประเทศ ด้วยนโยบายกำปั้นเหล็กและดูถูกผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็นโจรกระจอก ทำให้ปี 2547 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ จำนวน 601 ครั้ง , ปี 2548 จำนวน 1,006 ครั้ง , ปี 2549 จำนวน 1,249 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 1,400คน นอกจากนี้ยังมีบาดเจ็บและพิการรวมกันแล้วกว่า 2,180 คน

ตัดภาพมาในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารประเทศ ซึ่งใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รวมถึงมีการเจรจาพูดคุยสันติภาพกับแกนนำตัวจริง ทำให้สถิติเหตุการณ์รุนแรงลดลงต่อเนื่อง

-ปี 2558 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 264 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 127 ราย
-ปี 2559 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 193 ครั้ง เสียชีวิต 116 ราย
-ปี 2560 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 432 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 99 ราย
-ปี 2561 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 161 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 62 ราย
-ปี 2562 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 121 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 72 ราย
-ปี 2563 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 53 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 62 ราย
-ปี 2564 มีเหตุการณ์ความไม่สงบ 84 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 38 ราย บาดเจ็บ 85 ราย ซึ่งแม้ปี 2564 จะมีเหตุการณ์ความมั่นคงเพิ่มขึ้นหากเทียบกับปี 2563 แต่ความสูญเสียกลับลดลงต่ำที่สุดในรอบ 17 ปีที่ไฟใต้เริ่มปะทุเป็นต้นมา นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ซึ่งมีการปล้นปืน 413 กระบอก จากค่ายค่ายปิเหล็ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

‘โฆษก ทบ.’ แจง ‘เจ้ากรมยุทธฯ’ ทำร้ายทหาร เหลือสอบพยาน 2-3 ราย ทำได้แค่ตักเตือน ส่วนคดีอาญา เจ้าทุกข์ต้องดำเนินการ
"อ.ปานเทพ"กางเอกสาร JC2544 อ้างไทย-กัมพูชา เคยรับรอง MOU 44 เป็นสนธิสัญญา
"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่
"แม่สามารถ" ยื่นจดหมายลับใส่มือนักข่าว อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ปรเมศวร์” เตือน “อธิบดีกรมที่ดิน” เสี่ยงโดนม.157 ปมเขากระโดง
ผู้จัดการตลท. พร้อมให้ข้อมูล คดี “หมอบุญ” เตือนนักลงทุน ใช้สติก่อนตัดสินใจ
“บิ๊กน้อย” การันตี แจงแทน “บิ๊กป้อม” ไม่โทรให้ใครช่วย “สามารถ”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น