“ดร.สามารถ” เฉ่งยับ “ชัชชาติ” ต้องรับความจริง เสียเวลายื้อแก้หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว

"ดร.สามารถ" เฉ่งยับ "ชัชชาติ" ต้องรับความจริง เสียเวลายื้อแก้หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่ง เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ระบุว่า ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร(สภากทม.) วันนี้ (26 ต.ค.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการเสนอญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร 2 ญัตติ ไม่ได้เป็นการขอญัตติให้สภากทม. ลงมติเห็นชอบหรือไม่ โดยเป็นการขอความเห็นของสมาชิกสภากทม. ว่ามีความเห็นต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร

เรื่องแรก เป็นญัตติขอรับความเห็นจากสภา กทม. เกี่ยวกับแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และเรื่องที่ 2 ญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่อง การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

โดยได้เสนอแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ไว้ 2 แนวทาง คือ 1. การเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสายและ 2. เก็บตามสูตร 14 + 2x บาท โดย 14 บาทเป็นค่าแรกเข้า และ 2 บาทเป็นราคาต่อสถานี ซึ่งเป็นการเก็บตามระยะทาง ว่าแนวทางใดเป็นแนวทางที่ดีกว่ากัน

ทั้งนี้ การเสนอการเก็บอัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายจะทำให้ค่าโดยสารตลอดสายอยู่ที่ 74 บาท แบ่งค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่หนึ่ง 15 บาทส่วนไข่แดง 44 บาทและส่วนต่อขยายที่สอง 15 บาท ขณะที่การเก็บอัตราค่าโดยสารตามสูตร 14 + 2x จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 59 บาท

ด้านญัตติที่ 2 ที่ผู้ว่าฯกทม ได้ขอความเห็นสภากทม. ในเรื่องของหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งในการประชุมวันนี้ญัตติทั้งสองของผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้ขอความเห็นสภากทม. ได้ถูกตีตกไป เพราะสมาชิกสภากทม. บางท่านเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ หากจะเป็นการขอความเห็น ไม่จำเป็นจะต้องเสนอญัตติมาเช่นนี้ โดยความเห็นของคณะกรรมการจราจรและขนส่งของสภากทม. ก็มีอยู่ ซึ่งสามารถพิจารณาตามความเห็นดังกล่าวได้ และไม่จำเป็นจะต้องเสนอเป็นญัตติเข้าสู่ที่ประชุมสภากทม. ทำให้สมาชิกสภากทม. ท่านหนึ่ง เสนอให้ผู้ว่าฯกทม. ถอนญัตติดังกล่าวออกไป จึงทำให้เป็นญัตติซ้อนญัตติ และญัตติของผู้ว่าฯกทม. จึงตกไป

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคิดเห็น ดร.สามารถ ในฐานะที่เคยทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวว่าเป็นการดำเนินการที่มาถูกทางหรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า สิ่งที่ผู้ว่าฯกทม. ดำเนินการอยู่นั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลา เพราะผู้ว่าฯ กทม. จะต้องทำความเห็นตอบกลับไปยังคำถาม ของรมว.มหาดไทย ที่ได้ทำหนังสือมายังผู้ว่าฯ เมื่อช่วงเดือนมิ.ย 2565 ถึงความเห็นเรื่องนี้เพราะมองว่า กรุงเทพมหานค รได้มีผู้บริหารชุดใหม่ มีสภากทม.ชุดใหม่ เข้ามาทำงาน จึงอยากขอทราบความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้สินที่กทม. เป็นหนี้กับบีทีเอส และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ว่าจะมีแนวทางอย่างไรหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป

ดร.สามารถ ระบุอีกว่า ในวันนี้ผู้ว่าฯ กทม. ยังคงตอบความเห็นของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้ ว่า กทม. มีความเห็นอย่างไร หากไม่ต้องการให้ขยายระยะเวลาสัมปทานให้แก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ว่าฯ กทม. จะมีแนวทางอย่างไร หรือมีแนวทางในการแก้ปัญหา เสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางด้านของ รมว. มหาดไทยจะพิจารณาว่า จะสามารถดำเนินการตามข้อเสนอของกทม ได้หรือไม่หากดำเนินการไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องขยายระยะเวลาสัมปทานให้แก่ บีทีเอสออกไปอีก 30 ปี ซึ่งไม่มีแนวทางอื่นที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร เตรียมทำหนังสือตอบคำถามกระทรวงมหาดไทยโดยจะเสนอแนวทางการใช้ รูปแบบพ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ PPP แทนการขยายอายุสัมปทานให้แก่บีทีเอส ดร.สามารถ ระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้เพราะไม่มีเอกชนรายใดที่สนใจจะเข้าร่วมทุนในโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเมืองทำให้มีผู้โดยสารน้อยเมื่อร่วมทุนกันเอกชนจะประสบภาวะขาดทุน และมองว่า หากข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ก็ไม่ควรที่จะเสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย

ขณะเดียวกันต่อข้อเสนอที่ผู้ว่าฯกทม. เตรียมเสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอไปยังรัฐบาลโดยการให้รัฐบาลรับผิดชอบค่าโยธาค่าก่อสร้าง ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆว่า หากผู้ว่าฯกทม เสนอไปเช่นนั้นจะเป็นการผลักภาระไปยังรัฐบาล และเหตุใดในช่วงหาเสียงทางด้านผู้ว่าฯ กทม. ได้พูดไว้อย่างหนึ่ง เหตุใดตอนนี้ จึงไม่ทำ และถ้าทำไม่ได้ ก็ควรบอกว่าทำไม่ได้ และจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาช่วย ซึ่งหากรัฐบาลช่วยไม่ได้ก็จำเป็นที่จะต้องขยายสัมปทานให้แก่บีทีเอส

“แล้วตอนหาเสียงบอกว่า ต้องการเก็บค่าโดยสารถูกลง อยู่ประมาณ 25-30 บาท ถึงเวลานี้ต้องยอมรับความจริงว่า “ทำไม่ได้” ประกาศไปเลยว่า “ทำไม่ได้” “ ดร.สามารถ กล่าว

 

 

ทั้งนี้ ในช่วงหาเสียงผู้ว่าฯ ชัชชาติ ระบุว่า ต้องการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงอยู่ที่อัตรา 25 ถึง 30 บาทตลอดสาย และถึงตอนนี้ผู้ว่าฯ กทม. จะต้องยอมรับความจริงว่าทำไม่ได้ และประกาศไปเลยว่าทำไม่ได้ ซึ่งทางด้านของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจจะรับฟังหรือไม่ก็เป็นได้ แต่การที่ทำหนังสือถามมา ก็คงคิดว่าผู้ว่าฯ กทม. คงมีข้อเสนอใหม่ๆ ท่านก็อยากจะฟังความเห็น

“มท.1 อาจจะรับฟังความเห็นของท่านผู้ว่าฯ ก็ได้ หรือไม่ฟังก็ได้ ผมคิดว่าท่านทำหนังสือถามมา ตั้งแต่มิถุนายนที่ผ่านมา คิดว่าท่านผู้ว่าฯ คงมีทีเด็ด มีข้อเสนอใหม่ๆ ท่านก็อยากจะฟังความเห็น”

ส่วนกรณีที่ทางด้านของกรุงเทพมหานคร ยังไม่สามารถจ่ายหนี้ให้แก่เอกชน โดยอ้างว่า ได้มีการนำเอาค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่หนึ่งไปรวมไว้กับเรื่องการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งต้องรอการพิจารณาของ ครม. รวมถึงในส่วนของการเดินรถส่วนต่อขยายที่สอง ว่า ไม่มีหนังสือสัญญามีเพียงหนังสือมอบหมายงานเท่านั้น ทำให้กทม.ไม่สามารถจ่ายเงินให้เอกชนได้นั้น ดร.สามารถ ระบุว่า กทม. จะไม่ชำระหนี้ค้างจ่ายให้แก่เอกชนไม่ได้ เพราะศาลปกครอง ได้วินิจฉัยออกมาให้กทม. จ่ายหนี้ค้างจ้างเดินรถจนถึงเดือนก.ค. 64 เป็นเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งศาลปกครองได้พิจารณาอย่างดีว่ากรุงเทพมหานครจะต้องจ่ายเงินให้เอกชน แต่ทางด้านของกทม.ไม่ยอมจ่ายและยังยื้อ โดยการยื่นอุธรณ์ ซึ่งจะทำให้ กทม.จะต้องจ่ายดอกเบี้ยและทำให้เงินที่ต้องจ่ายให้กทม. สูงขึ้น

โดยหากรวมในเรื่องของระบบอาณัติสัญญาณ จะทำให้กทม. เป็นหนี้เอกชนไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท และหากกทม.ไม่ยอมจ่ายจนสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2572 จะมีหนี้รวมกันกว่า 1.3 แสนล้านบาท และหากกทม.จะไปจ่ายเงินให้เอกชนในช่วงสิ้นสุดอายุสัมปทาน เชื่อว่า กทม.จะไม่มีเม็ดเงินจ่ายให้เอกชนแน่นอน เพราะขณะนี้ ภาระหนี้เพียง 4 หมื่นล้านบาท แต่กทม. ยังไม่มีเงินจ่ายหนี้ให้เอกชน และกทม.จะนำเงินมาจากไหนเพื่อจ่าย

ดร. สามารถ ระบุว่า ตนได้รอมาหลายเดือนแล้วว่า ผู้ว่าฯ กทม. จะมีแนวทางไหนที่จะเข้ามาบริหารจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งตนเห็นด้วยหากค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะถูกลง แต่มองว่าไม่สามารถทำได้ก็จะต้องยอมรับความจริงและจนถึงขณะนี้ผ่านมาแล้ว 4 เดือนแล้วที่จะเพียงพอในการหาแนวทางใหม่ๆ

ทั้งนี้ มองว่าในส่วนของภาคเอกชนที่แบกภาระหนี้ไว้จำนวนมาก หากมีการหยุดเดินรถประชาชนจะได้รับผลกระทบและไม่ต้องการเห็นจุดนั้นจึงต้องแบกรับภาระหนี้ทุกอย่างไว้ และไม่ทราบว่าเอกชนจะยืนอยู่ได้นานขนาดไหน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น