เปิดภาพพื้นที่ก่อ "ดาวฤกษ์" N159 ในเนบิวลาทารันทูลา ที่กำลังปั่นป่วน จนแก๊สไฮโดรเจนโดยรอบเรืองแสงขึ้น ฝีมือกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ข่าวที่น่าสนใจ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้าในวงการดาราศาสตร์ เผยภาพใหม่ล่าสุดของพื้นที่ก่อ “ดาว ฤกษ์” N159 ในเนบิวลาทาลันทูลา ที่กำลังปั่นป่วน โดยพื้นที่นี้เต็มไปด้วยดาว ฤกษ์อายุน้อยและกำลังปลดปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตออกมาอย่างรุนแรง ส่งผลให้แก๊สไฮโดรเจนบริเวณโดยรอบเรืองแสงขึ้น
อีกทั้ง ลมดาว ฤกษ์ หรือ Stellar winds ที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรง ก็พัดพาให้สสารในพื้นที่นี้เกิดรูปร่างโค้งเว้าและเส้นใยที่ยุ่งเหยิง ภาพนี้ถูกบันทึกไว้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี 2017
N159 ห่างจากโลกประมาณ 160,000 ปีแสง เป็นพื้นที่ขนาดเล็กในเนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) ที่อยู่ภายในเมฆแมคเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) กาแล็กซีขนาดเล็กใกล้กับกาแล็กซีทางช้างเผือก
บริเวณใจกลางของ N159 เป็นตำแหน่งของ Papillon Nebula หรือเนบิวลารูปผีเสื้อ เป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่ประกอบด้วยกลุ่มเมฆแก๊สที่มีหนาแน่นสูง นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ยังคาดว่า พื้นที่ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้อาจเป็นต้นกำเนิดที่จะก่อตัวไปเป็นดาว ฤกษ์มวลมากได้ในอนาคต
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง