เจ้าหนี้หรือเพื่อนสนิทมุงด่วน รู้หรือไม่ "ยืมเงิน" เกิน 2,000 บาท สามารถแคปแชตฟ้องร้องได้ด้วยนะ เช็คเลยมีรายละเอียดยังไงบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยทางกฎหมายแล้วสวพส. เผยว่า หลักฐานการกู้ยืมเงิน มีกฎหมายกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก กำหนดว่า การกู้ยืม เงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่มีแบบฟอร์มตายตัวแต่ขอให้มีหลักฐานที่แสดงว่ากู้เงินกันก็เพียงพอแล้ว แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีจำนวนเงินที่กู้ ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาท หรือไม่เกิน 2,000 บาท
- กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมต่อกัน
- ดังนั้น แม้จะกู้ยืม เงินกันด้วยวาจา เมื่อเกิดการผิดสัญญาหรือผิดข้อตกลงก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมาย
2. กรณีจำนวนเงินที่กู้ ยืมเงินกันเกิน 2,000 บาทขึ้นไป
- กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานการกู้ยืม เงินด้วย จึงจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้ หลักฐานการกู้ยืม เงินไม่จำเป็นต้องทำในรูปแบบสัญญา จะทำในรูปแบบใดก็ได้แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่ามีการกู้ ยืมเงินกัน มีการรับเงินไปและจะใช้คืน โดยระบุจำนวนเงินที่กู้ยืม
- กฎหมายไม่ได้บังคับให้ผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหลักฐานการกู้ยืม เงิน แต่ที่สำคัญจะต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ (กรณีผู้กู้ใช้วิธีลงลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องมีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ 2 คน)
- กรณีผู้กู้ส่งข้อความยืม เงินทางแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ค (Facebook) หรือไลน์ (Line) กฎหมายให้ใช้ข้อความจากแชท รายละเอียดการโอนเงินออนไลน์ รวมทั้งให้ถือเอาชื่อเฟซบุ๊ค (Facebook) หรือไลน์ (Line) เสมือนเป็นการลงลายมือชื่อของผู้กู้ โดยถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- หลักฐานการกู้ยืม เงินไม่จำเป็นต้องมีขึ้นในขณะทำสัญญากัน จะทำขึ้นก่อนหรือหลังทำสัญญากันก็ได้ แต่จะต้องมีก่อนฟ้องคดี เช่น ในขณะตกลงทำสัญญากันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ภายหลังได้มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยมีข้อความที่แสดงว่ารับเงินไปและจะใช้คืนโดยมีการระบุจำนวนเงิน และลงชื่อผู้กู้ ถือว่าหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืม เงิน สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้
- กรณีการกู้ยืม เงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ที่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องบังคับคดีแก่ผู้กู้ไม่ได้ อีกทั้งไม่สามารถใช้ในการต่อสู้คดีได้ด้วย
ข้อแนะนำในการกู้ยืม เงิน
- ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าที่ไม่มีข้อความเด็ดขาด
- ควรทำเป็นสัญญากู้ยืมไว้ต่อกันโดยระบุรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจน อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย วันที่ทำสัญญากู้ยืม เงิน ชื่อนามสกุลของผู้กู้และผู้ให้กู้ จำนวนเงินที่กู้ กำหนดการชำระคืน ดอกเบี้ย (ถ้ามี) ลายเซ็นของผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยสัญญากู้ยืมต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ ให้ผู้กู้ยึดถือไว้ 1 ฉบับ และให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้อีกหนึ่งฉบับ
- ตรวจสอบจำนวนเงินที่กู้ยืมให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา
- ต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือไว้ด้วย
- ในสัญญากู้ยืมควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อย 1 คน
- การชำระหนี้กู้ยืม เงินไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ลงกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ดังนั้น ในการกู้ยืม เงินจึงมีความจำเป็นต้องทำด้วยวิธีการที่รอบคอบและควรต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายได้ต่อไป
ส่วนแชตที่สามารถใช้เป็นหลักฐานแทนหนังสือ จะต้องประกอบด้วย
1. ข้อความแชต (Chat)
- ระบุข้อความการขอยืม เงิน
- จำนวนเงิน
- และเห็นบัญชีผู้ใช้ว่าเป็นใครมาขอยืม เงิน
2. บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืม เงิน (Account)
- ในแชตจะต้องสามารถระบุชื่อบัญชีผู้ใช้ของผู้ยืม เงิน และเป็นข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้ที่มีระบบปลอดภัยและเชื่อถือได้
3. หลักฐานการโอนเงิน (Slip)
- ที่ระบุวันเวลาที่โอนเงิน ไม่แก้ไขวันเวลารับส่งข้อความ
- หากมีหลักฐานดังที่กล่าวมา ถือเป็นหนังสือใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องศาลได้ตามกฎหมาย
ข้อมูล : กองปราบปราม และ สวพส.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง