“โรคติกส์” ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณเตือนแบบไม่ได้ตั้งใจ

"โรคติกส์" แพทย์เตือน กล้ามเนื้อกระตุกเองแบบทันทีทันใด อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย แนะรีบพบแพทย์ด่วน

โรค ติกส์ คือ โรค ติกส์ อาการ “โรคติกส์” แพทย์เตือนสัญญาณอันตรายที่หลายคนอาจมองข้าม ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกเองแบบทันทีทันใด อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย แนะรีบพบแพทย์ด่วน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือน การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเอง หรืออาการกล้ามเนื้อกระตุกเกิดขึ้นทันทีทันใด สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ แนะควรได้รับการตรวจเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 

 

 

โรคติกส์, โรค ติกส์ คือ, โรค ติกส์ อาการ, โรคติกส์ หายได้ไหม, แพทย์, ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก,

 

 

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า “โรคติกส์” (Tics) เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ (movement disorders) มักพบในเด็กวัยเรียน (5-7ปี)

 

 

 

โรค ติกส์ มีอาการอย่างไรบ้าง

  • การเคลื่อนไหวซ้ำรูปแบบเดิมที่ไม่มีจุดประสงค์ เช่น กระพริบตา ยักคิ้ว แสยะยิ้ม พยักหน้า ยักไหล่ กระโดดหรือมีอาการกระตุกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ควบคุมไม่ได้
  • ส่วนมากผู้ป่วยมักมีความรู้สึกภายในบางอย่างนำมาก่อนที่จะเกิดอาการเคลื่อนไหว
  • เมื่อเคลื่อนไหวแล้วจะทำให้ความรู้สึกนั้นหายไป เหมือนได้รับการปลดปล่อย
  • หากผู้ป่วยพยายามบังคับไม่เคลื่อนไหวจะทำให้รู้สึกอัดอั้นไม่สบายใจ
  • อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถที่จะอดกลั้นต่อความต้องการที่จะเคลื่อนไหวผิดปกติได้ในระยะเวลาสั้นๆ (temporary suppression) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค ติกส์

โรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิก ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดความผิดปกติอื่นตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

 

 

 

โรคติกส์, โรค ติกส์ คือ, โรค ติกส์ อาการ, โรคติกส์ หายได้ไหม, แพทย์, ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก,

ด้านนายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในผู้ป่วยบางรายอาจมา ในรูปแบบการส่งเสียงที่ผิดปกติ เช่น กระแอม เสียงกลืนน้ำลาย หรือกรณีที่มีอาการมากอาจเป็นลักษณะการพูดซ้ำ พูดเลียนแบบ หรือพูดคำหยาบคาย เป็นต้น  แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการแสดงทั้งการเคลื่อนไหว และการส่งสียงผิดปกติ จะเรียกว่า โรคทูเร็ตต์ ในโรคกลุ่มนี้อาจมีอาการของกลุ่มโรคจิตเวชนำมาก่อน เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น เป็นต้น

 

 

 

สาเหตุของโรค ติกส์

  • อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดจากโรคเฉพาะตัวบุคคลที่เกิดภายหลัง เช่น เกิดจากการติดเชื้อในสมองตอนเด็กหรือเป็นโรคออทิสติก เป็นต้น
  • โรค ติกส์ที่เกิดในผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากการเป็นโรค ติกส์ตอนเด็ก หรือผู้ป่วยบางคนมีรายงานว่าเกิดจากรอยโรค หรือเนื้องอกบางตำแหน่งในสมองได้

ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้

 

 

 

โรคติกส์, โรค ติกส์ คือ, โรค ติกส์ อาการ, โรคติกส์ หายได้ไหม, แพทย์, ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก,

 

 

 

โรค ติกส์ สามารถรักษาให้หายได้ไหม?

  • การรักษาที่ดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรม เพื่อลดอาการที่นำมาก่อนการเคลื่อนไหว และเพิ่มระยะเวลาที่สามารถยับยั้ง การเคลื่อนไหว
  • หากยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ การใช้ยากลุ่มจิตเวช (anti-psychotics) เพื่อช่วยระงับการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นทางเลือกที่มีประโยชน์ แต่ต้องติดตามผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มนี้ด้วย เช่น

– กลุ่มอาการพาร์กินสันเทียม

– กลุ่มอาการบิดเกร็ง เป็นต้น

  • และควรรักษากลุ่มโรคจิตเวช (OCD,ADHA) ที่มาพร้อมโรค ติกส์ด้วย เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีของผู้ป่วย

 

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น