5 ลักษณะอาการ "เหงือกบวม" กับความเจ็บปวดที่ไม่ธรรมดา เตือนอย่านิ่งนอนใจ รีบพบทันตแพทย์ด่วนก่อนสาย เช็คเลยมีแบบไหนบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อมีอาการเหงือกบวม กิจวัตรประจำวัน เช่น
- การรับประทานอาหาร
- การพูดคุยย่อมถูกรบกวน
- อาจด้วยกลิ่นเหม็น
- ภาพลักษณ์ที่ไม่สวย (มีเลือดมีหนองไหล)
- หรือไปรบก่วนการขยับปาก ทำให้พูดไม่ชัด
ถ้าละเลยไม่ไปรับการรักษา ผลกระทบก็อาจจะเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดการเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นได้
5 อาการเหงือก บวมที่ควรไปพบทันตแพทย์
1. เหงือก บวมจากผลข้างเคียงของยาประจำ
- การทำความสะอาดช่องปากให้ดี จะลดความรุนแรงของการบวมได้
- หรือปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยา
2. เหงือก บวมจากการระคายเคือง
- เช่น มีพื้นที่แหลมคมกัดกระแทกอยู่ประจำ
3. เหงือก บวมจากโรคปริทันต์อักเสบ
- เกิดจากมีหินปูนสะสมในร่องเหงือกมากจนเหงือกอักเสบ
- บวมแดง หรือรุนแรนจนมีฟันโยก ฟันห่าง มีหนองไหล เคี้ยวอาหารลำบาก
4. เหงือก บวมจากฟันตาย
- เช่น จากอุบัติเหตุกระแทก หรือมีฟันผุลึก
- มักบวม เป็นตุ่มบริเวณปลายรากมีเลือดมีหนองไหลออกมาเป็นพัก ๆ
5. เหงือก บวมจากมะเร็ง
- มักมีลักษณะผิวขรุขระ คล้ายดอกกะหล่ำ
- บวมโตเร็ว ต้องรีบไปพบแพทย์
สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีปัญหาช่องปาก หรือด้านทันตกรรม สามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำตามสิทธิ โดยแสดงบัตรประชาชน หากหน่วยบริการตามสิทธิเกินศักยภาพ อุปกรณ์ไม่พร้อม จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่สามารถรักษาได้ตามขั้นตอน
สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมมีอะไรบ้าง
- การถอนฟัน
- การอุดฟัน อุดคอฟัน
- ขูดหินปูน การเกลาฟันหรือเกลารากฟัน (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา)
- ฟันปลอมฐานพลาสติก ทั้งแบบซี่ถอดได้และแบบทั้งปากถอดได้
– ฟันปลอมแบบถอดได้มีอายุการใช้งาน 5 ปี หากผู้รับบริการได้รับความเห็นจากทันตแพทย์ว่ามีความจำเป็นต้องซ่อมฟันปลอมก่อน 5 ปี ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิได้ - รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม (รากฟันน้ำนม)
- ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
- ผ่าฟันคุด (ตามข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์)
- เคลือบหลุมร่องฟัน (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี)
- การทาฟลูออไรด์วาร์นิช (เด็กอายุ 9 เดือน- 5 ปี)
- การเคลือบฟลูออไรด์ (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) แบบเข้มข้น ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
– ผู้ที่มีภาวะน้ำลายแห้งจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลำคอ
– หรือจากการกินยารักษาโรค ทางระบบที่ส่งผลให้น้ำลายแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน
– รวมทั้งผู้ที่มีเหงือกร่น รากฟันโผล่ ที่ยากต่อการทำความสะอาด
- โรคปริทันต์อักเสบ สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมคุ้มครอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา
- การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก
– ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่มีฟันทั้งปากและมีข้อบ่งชี้การใส่รากฟันเทียม ด้วยบริการใส่รากฟันเทียมและการบำรุงรักษา
- จัดฟัน ในผู้มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ (ตามดุลยพินิจของทันตแพทย์)
ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง