ฟังโม้มาเยอะ “สันติสุข” เหลาชัดๆ ทางตัน “ชัชชาติ” แก้หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว ถึงเวลานายกฯ มท.1 กล้าตัดสินใจ

ฟังโม้มาเยอะ "สันติสุข" เหลาชัดๆ ทางตัน "ชัชชาติ" แก้หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว ถึงเวลานายกฯ มท.1 กล้าตัดสินใจ

นายสันติสุข มะโรงศรี ผู้ประกาศข่าวช่องท็อปนิวส์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยระบุว่า ต้องยอมรับความจริง จึงจะผ่าทางตันสายสีเขียวได้

1. ผู้ว่าฯ ชัชชาติ มีอำนาจกำหนดค่าโดยสารได้เลยทันที คือ ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า, ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ยังฟรี) และช่วงหมอชิต-คูคต (ยังฟรี)
เอาเลย ทำเลย ทำงาน กล้าตัดสินใจหน่อยครับ เหตุที่ยังไม่ทำ อย่าโทษคนอื่น เพราะไม่กล้าตัดสินใจ

2. ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ไม่สามารถทำตามนโยบายหาเสียงที่ว่า จะกำหนดค่าโดยสารไม่เกิน 25-30 บาทตลอดสาย โดยรอสายสีเขียวหมดสัญญาสัมปทานปี 2572 ยอมรับเอง ถ้าเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ค่าโดยสารรวมก็จะไม่เป็นไปตามที่หาเสียงไว้ และแพงกว่าแนวทางตามมาตรา 44 ด้วยซ้ำ

ยอมรับเอง รอจนหมดสัมปทานปี 2572 ไม่ได้ เพราะไม่มีเงินไปใช้หนี้ค่างานโยธาสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 กว่า 55,000 ล้านบาท จึงร้องขอเงินจากรัฐบาลลุงตู่
ความจริง กทม.ยังต้องหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าเดินรถส่วนต่อขยาย ตามสัญญาเดินรถฯ ปี 2555 และ 2559 ตามคำพิพากษาของศาลปกครอง เบื้องต้นราว 12,000 ล้านบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย)

ค่างานโยธา ค่าเดินรถส่วนต่อขยาย ทั้งหนี้เก่าหนี้ใหม่ พอกพูนเพิ่มขึ้นทุกวัน ถ้ารวมค่าจ้างเดินรถถึงปี 2585 รวมเกือบ 4 แสนล้านบาท

เหตุที่ยังติดหล่ม เพราะไม่กล้ายอมรับความจริงว่าจะต้องผ่าทางตันโดยเจรจากับเจ้าหนี้และคู่สัญญา ตามแนวทาง ม 44

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3. การอ้างว่า สัญญาจ้างเดินรถฯ อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั่นเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ กล่าวอย่างไม่รับผิดชอบ เอาแต่ใจตนเอง

คำพิพากษาศาลปกครองชี้ชัดว่า สัญญาเดินรถฯ ปี 55 และ 59 มีสภาพบังคับอย่างถูกต้อง หนี้ค่าจ้างเดินรถมีอยู่จริง และถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว โดยสัญญาดังกล่าวจ้างให้บีทีเอสเดินรถจนถึงปี 2585

4. สำหรับนายกฯ ลุงตู่ และท่าน มท.1 ทางเดินที่ต้องเอาให้ชัด
มี 3 ทาง คือ

(1) เดินต่อตามกฎหมาย ตามแนวทาง ม.44 เสนอเรื่องเข้า ครม. พิจารณาให้จบ เสียงข้างมากใน ครม.ว่าอย่างไร เอาตามนั้น (กรณีต่อสัญญาสายสีน้ำเงินให้ BEM ก็ใช้ ม 44 แบบนี้แหละครับ)

(2) รัฐบาลตั้งงบประมาณส่วนกลาง จากภาษีคนทั้งประเทศ จ่ายหนี้ค่างานโยธาแทน กทม. และจ่ายค่าจ้างให้เอกชนตามคำพิพากษาศาล และตามสัญญา ฝ่ายเอกชนก็เดินรถต่อไปตามสัญญาจ้างจนหมดสัญญาปี 2585 หลังจากนั้น จะประมูลใหม่ก็ว่าไป

 

และ (3) โอนสายสีเขียวกลับไปให้ รฟม.ดูแล จัดการเคลียร์หนี้สินทั้งหลาย รวมถึงบอกเลิกสัญญากับเอกชน ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดค่าเสียหายก้อนโต เพราะเอกชนลงทุนเพื่อให้บริการตามสัญญาจ้างดินรถไว้หมดแล้ว และเอกชนไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะต้องรับผิดชอบ คือ นายกรัฐมนตรี มท.1 และ ครม. นั่นเอง

ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ ที่จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ปัญหา โดยเลือกทางออกที่ดีที่สำหรับประเทศชาติ บนพื้นฐานความเป็นจริง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รองผบช.ภ.2 แถลงปิดคดี ผู้ต้องหา ฆ่าตัดนิ้ว 'แม่ยายอัยการ' เจ้าตัวสารภาพ ต้องการเงินใช้หนี้ ลงมือเพียงลำพัง
"รมว.สุดาวรรณ" เผย วธ.ร่วมสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมพร้อมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากจีนมาประดิษฐานในไทย วันที่ 4 ธ.ค.67-14 ก.พ.68
"ผู้เสียหาย" ร้องสอบ "เอ๋ คลองหลวง" ท้าวแชร์ไฮโซ ส่อโกงกว่า 12 ล้าน
สหรัฐฯปลดล็อก ATACMS ให้ยูเครน มีผลอย่างไร
“เมืองไทยประกันภัย” เชิญ “ศิลปินแห่งชาติ” ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
"พระพยอม" ชี้ "ตาทิพย์" เป็นวิชามาร ไม่มีในพระไตรปิฎก เตือนพระที่สอน อย่าทำตัวเป็นศาสดา
ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน ตรวจเยี่ยมกองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน สร้างขวัญกำลังใจ
ชาวบ้าน สุดทน สารเคมีไหลลงแหล่งน้ำ เตรียมแจ้งความเอาผิดกรมบังคับคดี
หนุ่มคลั่งราดน้ำมันจุดไฟเผารถพ่อเลี้ยง โดนจับไม่สำนึก แถมโยนความผิดให้คนอื่น แม่ลงฝ่ามืออรหันต์ลั่นเต็มกระบาล
จีนวอนลดเผชิญหน้าหลังสหรัฐไฟเขียวยูเครนใช้ ATACMS

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น