“เบียร์เสรี” 3 เงื่อนไขสำคัญที่ผู้ผลิตต้องรู้จากกฎกระทรวง

เบียร์เสรี, สุราชุมชน, ผลิตเบียร์เสรี, กฎกระทรวง, ผลิตสุรา, คราฟเบียร์, ผลิตสุราแช่, สุรากลั่นชุมชน,​ ผลิตเบียร์, บริโภคสุรา, สถานที่ผลิตสุรา

ครม. ปลดล็อค ประชาชนสามารถผลิต "เบียร์เสรี" คราฟเบียร์ได้แล้ว ก่อนผลิต เช็คให้ดี 3 เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ก่อนพลาด มีอะไรบ้าง?

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเปิดทาง “เบียร์เสรี” พร้อมปรับเงื่อนไขสุราชุมชนขยายกำลังการผลิต เช็คให้ดี 3 เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ก่อนพลาด มีอะไรบ้าง? ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุราฉบับใหม่ เปิดทาง “เบียร์เสรี” คราฟเบียร์ สามารถผลิตได้ โดยปลดล็อคทั้ง

  • เรื่องทุนจดทะเบียน
  • กำลังการผลิตขั้นต่ำ

ยกระดับสุราชุมชนจากขนาดเล็กไปสู่ขนาดกลาง เสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ เปิดโอกาสธุรกิจให้เติบโตสามารถขยายกิจการได้

 

 

 

เบียร์เสรี, สุราชุมชน, ผลิตเบียร์เสรี, กฎกระทรวง, ผลิตสุรา, คราฟเบียร์, ผลิตสุราแช่, สุรากลั่นชุมชน,​ ผลิตเบียร์, บริโภคสุรา, สถานที่ผลิตสุรา

 

 

 

สรุป 3 เงื่อนไขสำคัญจากร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. เปิดโอกาสให้สุราชุมชนขนาดเล็ก

  • จากเดิมต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตต่ำกว่า 5 แรงม้า และใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน
  • ให้สามารถขยายกำลังการผลิตเป็นระดับกลาง ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงกว่า 5 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า
  • สามารถใช้คนงานมากกว่า 7 คนได้ แต่ต้องไม่เกิน 50 คน
  • ผู้ผลิตสุราชุมชนที่จะขยายกำลังการผลิตจากระดับเล็กเป็นระดับกลาง จะต้อง

(1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราแช่ หรือสุรากลั่นชุมชนขนาดเล็กมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

(2) ไม่เคยกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต

(3) หรือเคยกระทำความผิดและพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

นอกจากนี้ ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

เบียร์เสรี, สุราชุมชน, ผลิตเบียร์เสรี, กฎกระทรวง, ผลิตสุรา, คราฟเบียร์, ผลิตสุราแช่, สุรากลั่นชุมชน,​ ผลิตเบียร์, บริโภคสุรา, สถานที่ผลิตสุรา

2. ยกเลิกการกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำและทุนจดทะเบียนสำหรับทั้งกรณีผลิตเบียร์เพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) และโรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่

  • เดิมกรณีผลิตเบียร์เพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) จะต้องมีขนาดการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตร/ปี และไม่เกิน 1 ล้านลิตร/ปี
  • ในขณะที่โรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่ต้องมีขนาดการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตร/ปี สำหรับทุนจดทะเบียนนั้น ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
  • นอกจากนี้ กรณีผลิตเบียร์เพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

เบียร์เสรี, สุราชุมชน, ผลิตเบียร์เสรี, กฎกระทรวง, ผลิตสุรา, คราฟเบียร์, ผลิตสุราแช่, สุรากลั่นชุมชน,​ ผลิตเบียร์, บริโภคสุรา, สถานที่ผลิตสุรา

 

 

 

3. เปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาที่มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และนิติบุคคลสามารถขอใบอนุญาตผลิตสุรา

  • ที่มิใช่เพื่อขาย แลกเปลี่ยน หรือดำเนินการอื่นใดโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน
  • และต้องมีปริมาณการผลิตสุราไม่เกิน 200 ลิตร/ปี

 

 

 

ทั้งนี้ สถานที่ผลิตสุราต้องมีพื้นที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น และมิใช่สถานที่ผลิตสุราของผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรารายอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของการบริโภคสุราและมิติของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น