นักดาราศาสตร์ไทยพบ “ซูเปอร์โนวา” ไขแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง

ซูเปอร์โนวา, รังสีแกมมา, ดาราศาสตร์, หลุมดำ, ดาวนิวตรอน, ความโน้มถ่วง, กล้องโทรทรรศน์ GOTO, คลื่นความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวา

นักดาราศาสตร์ไทยร่วมมือนานาชาติ ค้นพบ "ซูเปอร์โนวา" ที่สัมพันธ์กับการระเบิดรังสีแกมมา ช่วยไขปริศนาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยนักดาราศาสตร์ไทยร่วมมือนานาชาติ ค้นพบ “ซูเปอร์โนวา” โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ GOTO พบที่สัมพันธ์กับการระเบิดของรังสีแกมมา ช่วยไขปริศนาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตข่าวสารวงการดาราศาสตร์ เผยเรื่องน่ายินดี! นักดาราศาสตร์ไทยร่วมมือนานาชาติใช้กล้องโทรทรรศน์ GOTO (The Gravitational-wave Optical Transient Observer) ค้นพบ “ซูเปอร์โนวา” ที่สัมพันธ์กับการระเบิดรังสีแกมมา ช่วยไขปริศนาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง

 

 

 

เผยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) โปรแกรมแยกวัตถุท้องฟ้า (real-bogus classifier) พบปรากฏการณ์ซูเปอร์ โนวาที่สัมพันธ์กับการระเบิดของรังสีแกมมา ช่วยหาคำตอบแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงได้เร็ว และสามารถติดตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรก ทำให้สามารถวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพทางฟิสิกส์ของหลุมดำคู่ได้ดีขึ้น

 

 

 

ซูเปอร์โนวา, รังสีแกมมา, ดาราศาสตร์, หลุมดำ, ดาวนิวตรอน, ความโน้มถ่วง, กล้องโทรทรรศน์ GOTO, คลื่นความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวา,

 

 

 

การชนกันระหว่างหลุมดำในวันที่ 14 กันยายน 2558 ได้ให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง ที่สร้างความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลาและแผ่ออกไปเป็นคลื่น และยืนยันได้ว่าคลื่นความโน้มถ่วงมีอยู่จริงตามการคาดการณ์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ทำนายไว้ในพ.ศ. 2459

 

 

 

หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง LIGO (Laser Interferometer Gravitational-wave Observatory) และ Virgo จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อค้นหาแหล่งให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการชนกันของหลุ่มดำคู่ ดาวนิวตรอนคู่ หรือวัตถุอื่น แต่ด้วยลักษณะเฉพาะของหอสังเกตการณ์ฯ ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์แบบใช้แสงที่มีคุณลักษณะเฉพาะเข้ามาร่วมค้นหา

 

 

 

ซูเปอร์โนวา, รังสีแกมมา, ดาราศาสตร์, หลุมดำ, ดาวนิวตรอน, ความโน้มถ่วง, กล้องโทรทรรศน์ GOTO, คลื่นความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวา,

 

 

NARIT เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาปรากฎการณ์คลื่นความโน้มถ่วง จึงร่วมมือกับ

  • University of Warwick สหราชอาณาจักร
  • Monash University เครือรัฐออสเตรเลีย
  • สถาบันดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ

ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ GOTO ณ หอดูดาว Roque de los Muchachos Observatory (ORM), La Palma, Canary Islands ประเทศสเปน แล้วเสร็จและเริ่มใช้งานในเดือนกรกฎาคม 2560 สำหรับศึกษาปรากฎการณ์คลื่นความโน้มถ่วงที่มีแหล่งกำเนิดจากการชนกันของวัตถุมวลหนัก เช่น หลุมดำคู่ ดาวนิวตรอนคู่ หรือหลุมดำกับดาวนิวตรอน รวมถึงศึกษาปรากฎการณ์ที่เกิดตามมา โดยเน้นความยาวคลื่นแสงเป็นหลัก

 

 

 

กล้องโทรทรรศน์ GOTO ถูกออกแบบมา เพื่อใช้ติดตามและค้นหาคลื่นแสงที่มาจากต้นกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง ตามการแจ้งเตือนของ LIGO และ Virgo เป็นกล้องโทรทรรศน์ฐานเดี่ยวที่ติดกล้องโทรทรรศน์ 8 ตัว จำนวนสองกล้อง จึงมีกล้องที่เก็บข้อมูลได้พร้อมกันถึง 16 ตัว มีคุณลักษณะแบบ wild Field of View (wide FoV) มุมสังเกตการณ์กว้าง และเคลื่อนตัวเร็ว เพื่อถ่ายภาพท้องฟ้าได้ครอบคลุมมากที่สุด

 

 

 

เนื่องจาก LIGO และ Virgo จะระบุตำแหน่งที่กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงได้คร่าว ๆ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ 10 ถึง 1000 ตารางองศา (sq. deg.) หากมีปรากฏการณ์คลื่นความโน้มถ่วงเกิดขึ้น และบริเวณให้กำเนิดมีบริเวณคาดการณ์ที่กว้างประมาณ 100 ตารางองศา กล้อง GOTO ก็จะสามารถบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ได้

 

 

 

ซูเปอร์โนวา, รังสีแกมมา, ดาราศาสตร์, หลุมดำ, ดาวนิวตรอน, ความโน้มถ่วง, กล้องโทรทรรศน์ GOTO, คลื่นความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวา,

 

 

 

คลื่นความโน้มถ่วงเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ใหม่มาก จึงพบเพียงคลื่นความโน้มถ่วงที่มาจากการชนกันระหว่างหลุมดำคู่ ดาวนิวตรอนคู่ หรือหลุมดำกับดาวนิวตรอน ซึ่งในงานวิจัยนี้พบว่า การชนกันของดาวนิวตรอนคู่ มีปรากฏการณ์ชื่อ GW170817 เป็นปรากฏการณ์ที่ให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น sGRB (Short-Gamma-ray burst) x-ray คลื่นแสง เป็นต้น

 

 

 

และการชนกันของดาวนิวตรอนทำให้เกิดธาตุทองและแพลตินัม ซึ่งปกติจะเกิดจากปรากฎการณ์ “ซูเปอร์โนวา” อีกทั้งยังพบว่า การชนกันระหว่างดาวนิวตรอนนั้นให้กำเนิดธาตุหนักที่มากกว่าธาตุเหล็ก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีปรากฎการณ์ตามมาระหว่างการชนกันระหว่างหลุมดำ หรือ การชนกันระหว่างหลุมดำกับดาวนิวตรอน เนื่องจากไม่สามารถค้นพบตำแหน่งของการเกิดได้แม่นยำพอที่จะใช้เครื่องมือทางดาราศาสตร์อื่นติดตามปรากฎการณ์ได้

 

 

 

ซูเปอร์โนวา, รังสีแกมมา, ดาราศาสตร์, หลุมดำ, ดาวนิวตรอน, ความโน้มถ่วง, กล้องโทรทรรศน์ GOTO, คลื่นความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวา,

 

 

 

นอกจากนี้ GOTO ยังมีโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบปรากฎการณ์ “ซูเปอร์โนวา” GOTO21cl หรือ SN2021fqb และการระเบิดของรังสีแกมมา (Gamma-ray bursts: GRBs) GRB190202A GRB180914B และ GRB171205A ซึ่งการค้นพบลักษณะนี้จะนำไปสู่การค้นพบแหล่งให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงได้เร็ว และสามารถติดตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรก ทำให้สามารถวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพทางฟิสิกส์ของการเกิดได้ดีขึ้น

 

 

 

จากการติดตามและคาดการณ์แหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงจากกล้องโทรทรรศน์ GOTO พบว่า สถานะของความโน้มถ่วงเป็นคลื่นที่ส่งผ่านออกไปในอวกาศได้ และมีความเร็วเท่าแสงจริงตามการทำนายของไอน์สไตน์ ทั้งยังพบว่าทอง และแพลตินัม เกิดจากการชนกันของดาวนิวตรอนกัน อาจรวมถึง ทองและ แพลตินัมที่อยู่บนโลกเราด้วยเช่นกัน

 

 

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น