“ดร.ณัฎฐ์” ฟันธงร่างรธน. ใหม่ผ่านยากเจอด่านสว.หินสุดๆขอประชามติ

"ดร.ณัฎฐ์" ฟันธงร่างรธน. ใหม่ผ่านยากเจอด่านสว.หินสุดๆขอประชามติ

วันที่ 7 พ.ย.65 ผู้สื่อข่างรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเอกฉันท์ 323 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง กรณีขอให้สภาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เสนอโดยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์กับนักกฎหมายมหาชนคนดัง ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” ปรมาจารย์ทางกฎหมายมหาชนและผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญ โดยท่านได้อธิบายและให้ความเห็นดังกล่าวเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนว่า อำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของประชาชน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับใหม่ เงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องฟังเสียงประชาชนทั้งประเทศก่อนว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ กล่าวคือ จะต้องจัดทำประชามติ เพื่อฟังเสียงประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่

เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อน ว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว กำหนดเงื่อนไขในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ 2 เงื่อนไข คือ ก่อนจัดทำและภายหลังจัดทำ โดยจะต้องให้ กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคหนึ่ง(1)(2) ข้อดี เป็นการรับฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่จะชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วย ข้อเสีย ต้องเสีย งบประมาณในการจัดทำประชามติจำนวนมากถึงสองครั้ง ก่อนที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวถามว่า โอกาสที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีตัวแปรและเงื่อนไขอย่างไร โอกาสจะผ่านหรือไม่ “ดร.ณัฎฐ์” กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 วรรคท้าย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด ย่อมมีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นบทบัญญัติที่สำคัญของรัฐธรรมนูญเนื่องจากสภาพสังคมและบริบททางการเมืองของประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา การใช้รัฐธรรมนูญอาจไม่สอดรับกับสภาพสังคมการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐธรรมนูญแต่ละประเทศจึงมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย โดยกำหนดเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในหมวด 15 ตามมาตรา 255 และ 256 ตัวแปรที่สำคัญ อยู่ที่ วาระสาม ลงมติ เงื่อนไขที่สำคัญ ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

 

ตามที่รัฐสภามีมติเอกฉันท์ 323 เสียง เป็นเพียงขั้นตอนแรกในชั้นก่อนจะจัดทำประชามติเพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาเพื่อลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ หากเห็นชอบ จะต้องส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป คือ ช่องทางมาตรา 256 วรรคหนึ่ง แต่หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบถือว่าเรื่องนี้ย่อมตกไป ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับเรือแป๊ะ “ลงเรือแป๊ะ จะต้องตามใจแป๊ะ” นั้นมีด่านเหล็กสำคัญที่ซ่อนเงื่อนไขเอาไว้ แก้ไขยากมาก ตัวแปร คือ จะต้องจัดทำประชามติรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนก่อนและหลังว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ และมีตัวแปรด่านหิน คือ ต้องใช้เสียงสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 84 เสียง มีมติเห็นชอบในวาระสาม เทียบเคียงกับการปิดสวิตซ์ สว.ตามมาตรา 272 ยังไม่ผ่านด่านอรหันต์วุฒิสภา จะมาคิดการใหญ่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จึงมีโอกาสน้อย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปชป.ครบรอบ 79 ปี "เฉลิมชัย" ลั่นนำพาพรรคเดินหน้าด้วยอุดมการณ์ มั่นใจ "ชินวรณ์" สู้ศึกลต.ซ่อมนครศรีฯ
แตกตื่น! หนุ่มวัย 27 สาดกระสุนในงาน “โคตรเปียก-ตะวันนา” ยิงคู่อริดับ 1 ราย ตร.บุกรวบทันควัน
ชาวอเมริกัน รวมตัวลุกฮือ ชุมนุมประท้วงต่อต้านนโยบาย "ทรัมป์"
"ผู้รับเหมา" มาตามนัด บุกทวงเงินค่าจ้าง หลังรับงานวางระบบไฟ "ตึกสตง." พบยอดค้างจ่ายหลายล้าน
"เมียนมา" เผยยอดผู้เสียชีวิต เหตุแผ่นดินไหว ทะลุ 3,471 ราย
เมียนมาเผยยอดดับ 'แผ่นดินไหว' เพิ่มเป็น 3,471 ราย .
จีนชี้ตลาดหุ้นทั่วโลกส่งสัญญานค้านมาตรการภาษีทรัมป์
ชาวอเมริกันทั่วประเทศชุมนุมประท้วงทรัมป์
คนไทยในอเมริกาอ่วมหลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย 36%
“มทภ.2” เปิดยุทธการกดดัน “กองทัพมด” กลุ่มผู้ลักลอบลำเลียงยาเสพติด วันเดียวจับได้ 3 เคสใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 2 ล้านเม็ด-ไอซ์ 360 กก.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น