“จตุพร-ทนายนกเขา” ย้ำจุดยืนเลิก กม.ขายแผ่นดินยกแผง ต้องแก้ไขหยุดขายชาติทั้ง กม.ปี 42-45

"จตุพร-ทนายนกเขา" ย้ำจุดยืนเลิก กม.ขายแผ่นดินยกแผง ต้องแก้ไขหยุดขายชาติทั้ง กม.ปี 42-45

นที่ 8 พ.ย. 65 นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน โดยให้เหตุผลคณะหลอมรวมประชาชนไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง เพื่อให้รัฐบาลยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวงเกี่ยวข้องกับการขายแผ่นดินทั้งหมด ไม่ใช่แค่ถอยและถอนออกจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น

“เรื่องการขายที่ดิน รัฐบาลมีความพยายามมาตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ต้องถอยออกไป แล้วมาทำอีกในปีนี้ สิ่งสำคัญคือได้แหวกหญ้าให้งูตื่น เพราะเรื่องเก่าในปี 2542 และ 2545 ที่มีผลบังคับอยู่และไม่ได้ใช้เลย กลับถูกเติมให้มีชีวิตขึ้นมา ดังนั้น เมื่อปลุกปีศาจให้ตื่นขึ้น เราจึงต้องไปยืนย้ำอีกว่า คุณต้องแก้ไขกฎหมายที่ดินปี 2542 และ กฎกระทรวงมหาดไทยปี 2545” นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวถึงวิธีการจัดการกับปีศาจขายแผ่นดินไม่ให้หลอกหลอนคุกคามคนไทยได้อีก

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 8) ปี 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีผลบังคับใช้ 19 พ.ค. 2542 ได้เพิ่มมาตรา 96 ทวิ ให้คนต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่ หากนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนด

ดังนั้น การขายแผ่นดินจึงต้องออกเป็นกฎกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกรมที่ดินเป็นหน่วยงานในสังกัด โดยรัฐบาลสมัยทักษิณ ชินวัตร ออกกฎกระทรวงมาขายที่ดินให้ต่างชาติเมื่อปี 2545 ขายได้ 8 ไร่ต้องยุติไป เพราะถูกประชาชนต่อต้าน แต่สภาพการบังคับใช้ยังคงอยู่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

กระทั่งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติ ครม.เมื่อ 25 ต.ค. 2565 ให้ออกกฎกระทรวงมหาดไทยขายแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง และถูกต่อต้านเช่นกัน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ระบุว่า จะเสนอให้ ครม.ในการประชุมวันนี้ (8 พ.ย. 2565) ถอนกฎกระทรวงออกเพื่อเป็นการยุติปัญหาชั่วคราว

นายจตุพร ย้ำว่า การประชุม ครม.วันนี้ (8 พ.ย. 2565) ไม่ใช่แค่ถอนกฎกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการขายแผ่นดินเท่านั้น รัฐบาลต้องประกาศจุดยืนให้ชัดเจนกับการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินปี 2542 และเลิกกฎกระทรวงในปี 2545 ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลต้องยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ.) ฉบับ พล.อ.ประยุทธ์ ลงนามเมื่อ 8 ส.ค. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 13 มิ.ย. 2565 ดังนั้น ปัจจุบันประกาศฉบับนี้ยังใช้อยู่

“ส่วน บีโอไอ. ต้องแก้ไขให้กรรมสิทธิ์ต่างชาติถือครองที่ดินได้ 35 ไร่แลกกับการลงทุน 50 ล้านบาท ซึ่งมันมโหฬารมาก อีกอย่างรัฐบาลแสดงท่าทีถอนกฎกระทรวง แต่ไม่ยอมตรวจสอบและตอบคำถามในเรื่องต่างชาติใช้นอมินีถือครองที่ดิน พวกนี้ (รัฐบาล) ชอบเล่นที่เผลอ เมื่อประชาชนเผลอที่ไร จะขายแผ่นดินทุกที”

ด้านนายนิติธร หรือทนายนกเขา กล่าวว่า การถอนกฎกระทรวงออกจาก ครม.นั้น พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พูดเลย มีแต่ พล.อ.อนุพงษ์ ซึ่งดูแลกรมที่ดินเป็นคนพูด ส่วนนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน รู้ว่าคนทั่วโลกจะเคลื่อนย้ายหนีสงคราม กลับเน้นพูดเฉพาะเรื่องเงินเป็นหลัก แต่ไม่บอกจะเอาที่ดินคืนอย่างไร เนื่องจากเมื่อต่างชาติมาอยู่อาศัยในไทย ก็เรียกร้องความเป็นชนชาติของเขาในแผ่นดินที่ถือครองอยู่

“ที่ดินเหมือนเป็นรากฐานเดียวที่เหลืออยู่ของประเทศ ดังนั้น การร่วมกันคัดค้านจึงมีนัยยะสำคัญกับการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ แต่รัฐบาลมักแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการขายที่ดิน เราจึงต้องไปทำเนียบอีก”

นายนิติธร ย้ำว่า กฎกระทรวงขายแผ่นดิน รัฐบาลแค่ต้องการหยุดชั่วคราวเท่านั้น ถ้าต้องการหยุดจริงต้องไปแก้กฎหมายตั้งปี 2542-2545 และสิ่งสำคัญเรื่องขายแผ่นดินต้องไม่ออกกฎกระทรวงมาใช้ทำอีก รวมทั้งต้องแก้ไขประกาศ บีโอไอ. ด้วย

ขณะที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล คณะหลอมรวมฯ ได้ยื่นหนังสือย้ำจุดยืนอีกครั้ง โดยมีสาระสรุปว่า เห็นสมควรต้องยกเลิกการให้สิทธิ์คนต่างชาติ หรือคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1) การกระตุ้นเศรษฐกิจมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ 2) การกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการส่งเสริมการลงทุน BOI และ 3) การกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

คณะหลอมรวมฯ มีเหตุผลว่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินของคนต่างชาติ หรือคนต่างด้าวนั้น สามารถทำได้โดยวิธีการอื่นๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การเช่าที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเช่าที่ดินตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 จึงไม่จำเป็นต้องให้สิทธิ์แก่คนต่างชาติหรือคนต่างด้าวให้มีสิทธิพิเศษเพื่อการได้มาซึ่งที่ดินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจข้างต้นทั้งสามอีก

 

นอกจากเป็นการซ้ำซ้อนกันแล้ว ยังไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพราะนักลงทุนต่างชาตินั้น มีการกำหนดเป้าหมายเป็นจุดคุ้มทุนของการลงทุนไว้ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี 15 ปี เท่านั้น การให้สิทธิ์ในการเช่า 30 ปี หรือ 50 ปี ไม่เกิน 50 ปี จึงเป็นการเพียงพอต่อธุรกิจของคนต่างชาติแล้ว การกำหนดระยะเวลาที่นานกว่านั้น ไม่มีผลใดๆ ต่อการจูงใจให้ต่างชาติ หรือต่างด้าวเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

อีกทั้งระบุผลกระทบและความเสียหายว่า การให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจข้างต้น มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิ์จากคนไทย จะส่งผลกระทบต่อราคาที่ดินในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทยมีราคาพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว จนยากที่คนไทยจะได้เป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ตามฐานานุรูป เพราะราคาที่ดินจะพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว และหากคนต่างชาติหรือต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากๆ ก็จะเกิดปัญหาด้านความมั่นคงขึ้นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งยากที่จะแก้ไขภายหลัง ทั้งยังกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐไทยในอนาคตอีกด้วย

“หากท่านยังคงไม่ยกเลิก การดำเนินการทั้งหมดในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของท่าน อาจเข้าข่าย การกระทำที่เอื้อให้เกิดการทุจริต หรือเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” คณะหลอมรวมฯ ระบุในตอนท้ายหนังสือ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น