นัก "ดาราศาสตร์" พบหลุมดำที่อยู่ใกล้กับโลกที่สุด ด้วยระยะห่าง 1,560 ปีแสง นับเป็นการค้นพบครั้งแรกตั้งแต่มนุษยชาติเคยสำรวจอวกาศมา
ข่าวที่น่าสนใจ
รายงานการศึกษาใหม่ในครั้งนี้ เผยว่า หลุมดำที่ค้นพบในครั้งนี้อยู่มกล้ที่สุดเท่าที่เคยสำรวจอวกาศมา ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเพียง 1,560 ปีแสงเท่านั้น โดยหลุมดำนี้ มีชื่อเรื่องว่า Gaia BH1 มีขนาดมวลประมาณ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ และโคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายกับดวงอาทิตย์
ตามปกติแล้ว หลุมดำ จะดูดก๊าซจากดาวมวลมากที่อยู่ใกล้เคียง โดยก๊าซที่ถูกดูดไปจะรวมกันลักษณะคล้ายแผ่นดิสก์รอบหลุมดำและเรืองแสงเป็นประกายในรังสีเอกซ์ แต่หลุมดำลักษณะนี้ไม่ใช่หลุมดำที่พบได้บ่อยที่สุดในกาแล็กซีของเรา แต่กลับหลุมดำที่เงียบสงบที่มีมากกว่า ซึ่งนัก “ดาราศาสตร์” ทั้งหลายล้วนใฝ่ฝันที่จะค้นพบมานานกว่าหลายทศวรรษ
ซึ่งหลุมดำ Gaia BH1 มีโดดเด่นจากหลุมดำอื่น ๆ ในกาแล็กซีของเราตรงที่ มันไม่ดึงดูดทุกสิ่งที่อยู่ใกล้เคียงด้วยแรงโน้มถ่วงเหมือนหลุมดำปกตินั่นเอง ทั้งนี้ นักดารา ศาสตร์ได้มีการคาดการณ์กันว่า ในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่อาจมีหลุมดำมากถึง 100 ล้านดวงก็เป็นได้ แต่พวกมันอยู่อย่างโดดเดี่ยว จึงไม่อาจมองเห็นได้ (ตามปกติแล้ว สามารถจับสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ของมวลรอบ ๆ หลุมดำ)
คารีม เอล-บาดรี (Kareem El-Badry) นักฟิสิกส์ “ดา ราศาสตร์” และทีมวิจัยจาก Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics จึงหันไปใช้ข้อมูลที่เพิ่งเปิดตัวจากยานอวกาศ Gaia ของ European Space Agency ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งของดาวนับพันล้านดวงได้อย่างแม่นยำ
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ ทีมนักฟิสิกส์ดา ราศาสตร์ค้นพบการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในลักษณะการเคลื่อนที่แปลก ๆ คล้ายถูกดึงด้วยแรงโน้มถ่วงของวัตถุที่มองไม่เห็น ทีมจึงใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini North สำรวจความเร็วและระยะเวลาของการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ดังกล่าว จนสามารถสรุปการมีอยู่ของหลุมดำได้
ข้อมูล : sciencenews
ข่าวที่เกี่ยวข้อง