เปิด 2 ข้อเสนอ กทม.แก้รถไฟฟ้าสีเขียว ผลงาน “ชัชชาติ” ศึกษานาน 2 ปี

เปิด 2 ข้อเสนอ กทม.แก้รถไฟฟ้าสีเขียว ผลงาน "ชัชชาติ" ศึกษานาน 2 ปี

สืบเนื่องจากการที่สภากทม.เสนอให้ถอนญัตติของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้เหตุผลว่า การพิจารณาจัดเก็บค่าโดยสาร เป็นอำนาจการตัดสินใจของผู้ว่าฯกทม. และ การพิจารณาอนาคตรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นไปตามคำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ไม่ใช่อำนาจการพิจารณาของสภากทม.

ต่อมานายชัชชาติ ระบุว่า เป็นหน้าที่ของกทม.ในการพิจารณารายละเอียดทั้งหมด เพื่อตอบคำถามกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย โดยคาดว่าจะสามารถส่งคำตอบทั้งหมดได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

ส่วนสาระสำคัญคำตอบ นายชัชชาติ ระบุ จะเป็นเรื่องแนวความคิดของกทม. และเรื่องจำนวนหนี้ก้อนหลัก หรือภาระหนี้ในส่วนของงานโยธา และการดำเนินการต่อไป เพราะขณะนี้บทสรุปโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คือ การพิจารณาขยายอายุสัญญาสัมปทานโครงการออกไปจนถึงปี 2602 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้สะสมจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย

อย่างไรก็ตาม จากการได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่อยากให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และทำให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนเรื่องการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการพิจารณาของครม. แต่เป็นภาระของกทม.ซึ่งมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นคณะกรรมการร่วม คงไม่มีการนำเสนอความเห็นไปยังกระทรวงมหาดไทย เพราะเป็นเรื่องที่กทม.จะต้องพิจารณาดำเนินการ

ขณะที่แนวคิดเรื่องการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งเคยอ้างว่าจะดำเนินการ เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้ชำระหนี้ให้กับบริษัทเอกชน นายชัชชาติ ระบุว่า เรื่องนี้ยังไม่จำเป็นต้องรีบเร่ง แต่การพิจารณาต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และการเริ่มเก็บค่าโดยสารเมื่อใด ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเริ่มจัดเก็บในปีนี้ ( 2565) หรือ ปีหน้า ( 2566) เนื่องจากในการประชุมสภากทม. ที่ผ่านมา ทางด้านสภาฯ ได้มีข้อทักท้วงในบางประเด็น และ กทม. จะต้องนำไปพิจารณาให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด วันนี้ ( 8 พ.ย.) แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กรุงเทพมหานคร ได้ตอบกลับความคิดเห็นเรื่องการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไปยังกระทรวงมหาดไทยแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 4 พ.ย.65) โดยกรุงเทพมหานครได้เสนอความคิดเห็นไป 2 แนวทางประกอบด้วย

1. ให้รัฐบาลรับผิดชอบ ในเรื่องงานโยธาโครงสร้างพื้นฐานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ( ขออุดหนุนค่าใช้จ่ายโครงสร้างงานโยธา ของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ) เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ

2. ขอให้รัฐบาลพิจารณา เรื่องการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ( ไม่ควรมีการต่อสัมปทาน โดยคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 3/2562 ) โดยให้เปิดประมูล ผ่าน พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุน หรือ PPP ( พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ) หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572

 

 

พร้อมขอความคิดเห็นกระทรวงมหาดไทย เรื่องที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ กรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม ชำระหนี้ให้แก่ BTSC

หลังจากขณะนี้ กทม.อยู่ในระหว่างยื่นอุทธรณ์ต่อศาล เนื่องจากก่อนหน้า กทม. ไม่ได้มีการระบุข้อมูลที่ชัดเจนให้กับศาลปกครอง และในการจ่ายค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 นั้น ที่ผ่านมา กทม. ได้มีการจ่ายค่าจ้างให้แก่เอกชนมาตลอด

แต่เมื่อมีการนำเรื่องการพิจารณาต่อสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีการนำเอาหนี้ส่วนนี้รวมเข้ากับการต่อสัญญาสัมปทาน ทางกทม.จึงมีการหยุดจ่ายเงินให้กับเอกชนในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ดังนั้น หากทางกรุงเทพมหานครจะจ่ายหนี้ในส่วนดังกล่าวให้กับเอกชนจะต้องมีเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการจ่ายคืนหนี้ให้เอกชน เนื่องจากทางด้าน ครม. ยังไม่มีมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา จึงยืนยันไม่ได้มีการกลั่นแกล้งเอกชนแต่ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้

 

โดยกรณีเรื่องหนี้สะสมค้างชำระ ก่อนหน้านั้น ศาลปกครองมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ให้กทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินให้แก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นยอดหนี้ค้างชำระตามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

– หนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232.74 บาท พร้อมดอกเบี้ย ของต้นเงินจำนวน 2,199,091,830.27 บาท

– และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719.36 บาท พร้อมดอกเบี้ย ของต้นเงินจำนวน 8,786,765,195.47 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น