นักวิชาการ ร้อง ป.ป.ช. สอบผิด “หมอลี่” แพร่ข้อมูลลับ “กสทช.” ผนึก TRUE-DTAC

นักวิชาการ หอบหลักฐาน ร้อง ป.ป.ช. สอบ “นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา” เผยข้อมูลลับทางราชการ “ ปมเงื่อนไข 14 ข้อเยียวยาผู้บริโภคกรณีควบรวมทรู-ดีแทค” เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่

วันที่ 8 พ.ย. 65 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นางสาวรุ่งรวี คล้ายสุวรรณ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ที่ปรึกษาประจำประธานกรรมการ กสทช. อ้างถึงกรณี นพ.ประวิทย์ เปิดเผยข้อมูล “เงื่อนไข 14 ข้อเยียวยาผู้บริโภคกรณีควบรวมทรู-ดีแทค” ต่อสาธารณะผ่านสื่อสารมวลชน เนื่องจากในขณะนั้นข้อมูลดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ กสทช. ยังไม่ได้มีการเปิดเผยหรืออนุญาตให้เปิดเผยต่อสาธารณชน

ทั้งนี้ นางสาวรุ่งรวี ระบุด้วยว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงกระทบต่อพิจารณาเรื่องการควบรวมกิจการของคณะกรรมการ กสทช. และก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนที่ได้พบเห็นข่าวดังกล่าว จึงขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในการปฏิบัติหน้าที่ของ นพ.ประวิทย์ ว่าเป็นการเข้าข่ายการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือไม่

 

 

ทั้งนี้ เพราะ นพ.ประวิทย์ ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการ กสทช. มีหน้าที่รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบรวมกิจการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC จึงถือเป็นบุคคลที่มีฐานะพิเศษกว่าบุคคลทั่วไปและสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักงาน กสทช. ได้ทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

นางสาว รุ่งรวี ชี้แจงเพิ่มเติม ที่ผ่านมาพบเห็นข่าวทางสื่อออนไลน์แห่งหนึ่ง พาดหัวข่าวว่า “ เปิด 14 ข้อเยียวยาผู้บริโภค หาก กสทช.ไฟเขียวดีลทรูดีแทค” โดยเนื้อหาข่าวเป็นการรายงานเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานเฉพาะ 14 ข้อที่จะกำหนดในการควบรวมกิจการของ TRUE และ DTAC ที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ กสทช. และยังไม่ได้มีการเปิดเผย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ประกอบกับเห็นว่าพฤติกรรมระหว่าง นพ.ประวิทย์ กับ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ดูมีความสนิทสนมเกื้อกูลกันมาตลอด และยังมีความเห็นไปในทางเดียวกันที่จะคัดค้านไม่ให้มีการควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC จึงคาดว่าอาจจะมีการส่งต่อ หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลมาตรการเฉพาะ 14 ข้อเกี่ยวกับการเยียวยาผู้บริโภค ซึ่งเป็นความลับทางราชการ และนำมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังจะเห็นได้จากพิรุธในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนของนพ.ประวิทย์ และคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.สารี ในเนื้อหาที่ความสอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัด ตลอดจนเป็นการให้สัมภาษณ์และรายงานข่าวในในวันเดียวกัน

“การล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการเฉพาะ 14 ข้อดังกล่าว จึงอาจมีส่วนที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนเป็นผู้สนับสนุน ในการเปิดเผยข้อมูลความลับของทางราชการ โดยมีข้อพิรุธในพฤติกรรมและการกระทำหน้าที่อย่างไม่เป็นกลาง ซึ่งได้มีการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะหลายครั้งหลายคราว ด้วยการชักจูงความคิดประชาชนผู้รับฟังรับชมไปในทางคัดค้านไม่ให้มีการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC ตลอดมา สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นกลางอย่างชัดเจน และอาจเป็นการกระทำที่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้ต้องมายื่นหนังสือต่อสำนักงาน ป.ป.ช.เพื่อขอให้ตรวจสอบไต่สวนข้อเท็จจริง ในการปฏิบัติหน้าที่ของนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา”

 

ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เคยถูกนักกฎหมาย ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน แจ้งความกล่าวโทษเป็นคดีอาญา ที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ในความผิดฐานเปิดเผยความลับทางราชการ และ บิดเบือนข้อความจริงหรือนำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ สืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ของนางสาวสารี อ๋องสมหวัง และ นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ว่า ได้ทราบและรู้เห็นมาตรการเฉพาะภายหลังการควบรวมกิจการ TRUE และ DTAC หรือ 14 เงื่อนไขก่อนที่บอร์ด กสทช.จะพิจารณาและเปิดเผย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าพนักงาน และได้ออกหมายเรียก สำนัก กสทช.เข้ามาให้ปากคำแล้ว โดยคาดว่าเร็ว ๆ นี้จะออกหมายเรียก นพ.ประวิทย์ และ นส.สารี มาสอบปากคำเป็นลำดับถัดไป

นอกจากนี้ ในส่วนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ยังถูกร้องเรียนจาก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอให้ตรวจสอบการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยองค์กรผู้บริโภค 152 องค์กร เพื่อขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 350 ล้านบาท ว่ามีคุณลักษณะเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หลังจากพบว่า 16 องค์กรไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้ทำกิจกรรมเชิงประจักษ์ ทำให้เงื่อนไขการจดจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น