"ยา ต้าน ซึมเศร้า" ชนิดเม็ดออกฤทธิ์นาน จีนอนุมัติการซื้อขายแล้ว หลังทีมวิจัยใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการพัฒนา
ข่าวที่น่าสนใจ
(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนพักผ่อนหย่อนใจยามค่ำคืนในเมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน วันที่ 2 มิ.ย. 2020)
ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฯ และหัวหน้าทีมวิจัย เถียนจิงเหว่ย เผยว่า ยาตัวใหม่เป็นตัวยับยั้งการกลับคืนของสารสื่อประสาท (reuptake) กลุ่มเซโรโทนิน (5-HT) นอร์อิพิเนฟรีน (NE) และ โดพามีน (DA) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของผู้ป่วย โดยทีมวิจัยใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการพัฒนายาตัวใหม่
ศาสตราจารย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปักกิ่งแห่งที่ 6 จางหงเยี่ยน กล่าวว่า ผลการทดสอบทางคลินิกชี้ว่าตัวยาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในการบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้า และ ความผิดปกติด้านความจำ (cognitive disorders) ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าด้านการวิจัยและพัฒนายาต้านอาการซึมเศร้าของจีน
(แฟ้มภาพซินหัว : พยาบาลอธิบายการบริการแก่ผู้ป่วยในนครจี่หนาน มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน วันที่ 23 ก.พ. 2022)
ก่อนหน้านี้ คณะนักวิจัยของจีนจากมหาวิทยาลัยการแพทย์หนานจิง เปิดเผยการค้นพบเป้าหมายใหม่ของยาต้านอาการซึมเศร้าและพัฒนาสารประกอบหลัก ซึ่งวางรากฐานสำหรับการพัฒนายาต้านอาการซึมเศร้าชนิดออกฤทธิ์เร็ว ผ่านวารสารไซแอนซ์ (Science) ฉบับออนไลน์ เมื่อไม่นานนี้
หัวหน้านักวิจัยของการศึกษานี้ โจวฉีกัง ระบุว่า ปัจจุบันตัวนำส่งเซโรโทนิน (serotonin transporter) เป็นเป้าหมายหลักของยาต้านอาการซึมเศร้า ทว่าการรับประทานยาที่ยับยั้งตัวนำส่งเซโรโทนินมีข้อจำกัดมากคือต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 – 4 สัปดาห์ถึงจะเห็นผล และมีผลข้างเคียงจำนวนมาก
“เราวิเคราะห์กลไกการออกฤทธิ์ช้าของยาต้านอาการซึมเศร้า รุ่นที่ 3 ซึ่งพบเป้าหมายใหม่ที่อาจเอาชนะจุดอ่อนต่าง ๆ และยังพบสารประกอบหลักสำหรับเป้าหมายใหม่ที่สามารถออกฤทธิ์รวดเร็วและไม่มีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ โดยเราวางแผนเดินหน้าการวิจัยเพื่อพัฒนายาต้านอาการซึมเศร้ารุ่นใหม่”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง