“เงิน อุดหนุน บุตร 66” พ.ย. เช็ควัน โอนแล้ว ไม่เข้าทำอย่างไร

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

"เงิน อุดหนุน บุตร 66" เดือน พฤศจิกายน 2565 โอนเข้า กี่ โมง ต่างจาก เงิน สงเคราะห์ บุตร หรือไม่ เช็คสิทธิ เงื่อนไข ลงทะเบียน ถ้าไม่มีเงินเข้าทำอย่างไร

“เงิน อุดหนุน บุตร 66” เดือน พฤศจิกายน 2565 โอนวันไหน เข้า กี่ โมง เป็นคำถามที่หลายคนหาคำตอบ TOP News เปิดรายละเอียด วิธีเช็คสิทธิ เงื่อนไข คุณสมบัติ ขั้นตอนลงทะเบียน ปฏิทินวันจ่ายเงิน ตลอดปี แต่ละเดือน วันไหนบ้าง แตกต่างจาก เงิน สงเคราะห์ บุตร ประกันสังคม หรือไม่ แล้วถ้าต้องการรับเงินช่วยเหลือจากทั้ง 2 โครงการ ล่ะ ได้หรือเปล่า กรณีถึงวันแล้วไม่มีเงินเข้าทำอย่างไร ที่นี่ มีคำตอบ ครบ จบ

ข่าวที่น่าสนใจ

 

สำหรับ “เงิน อุดหนุน บุตร 66” นั้นแตกต่างจาก เงิน สงเคราะห์ บุตร โดย เงินอุดหนุนบุตร มีเจ้าภาพ คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ส่วน เงินสงเคราะห์บุตร นั้นมีเจ้าภาพ คือ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือ เงินอุดหนุนบุตร

 

คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน

 

ผู้ปกครอง

 

  1. เป็น บิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  2. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
  3. อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี)
  4. ผู้ปกครองรับเงินผ่านบัญชีที่ผูกบริการพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน

 

 

เด็กแรกเกิด

 

  1. เด็กที่มีอายุไม่เกินหกปี มีสัญชาติไทย
  2. อาศัยอยู่กับผู้ปกครองในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนตามที่อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนประกาศกำหนด

 

 

 

 

ลงทะเบียน ณ หน่วยรับลงทะเบียน

 

  • กรุงเทพมหานคร ณ สํานักงานเขต
  • เมืองพัทยา ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • ส่วนภูมิภาค ณ องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล

 

 

เอกสารประกอบการลงทะเบียน ณ หน่วยรับลงทะเบียน

 

  1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
  2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
  3. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
  4. บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ของผู้ปกครอง
  5. ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ ของสมาชิกในครัวเรือนทุกคนที่ประกอบอาชีพ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท
  6. สำเนาเอกสาร หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงสถานะหรือตำแหน่งของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็ก

 

 

 

 

เอกสารประกอบการลงทะเบียน “เงิน อุดหนุน บุตร 66” ผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็ก

 

** ยื่นคำร้องของลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็ก โดยให้ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน D.DOPA ก่อน พร้อมแนบเอกสารในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐาน ดังต่อไปนี้

 

  1. หลักฐานในการรับรองสถานะครัวเรือน พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงสถานะ หรือตำแหน่งของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
  2. ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ ของสมาชิกในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยทุกคน กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

แอปพลิเคชัน D.DOPA

 

 

 

 

* การยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน D.DOPA จะต้องมีการพิสูจน์ตัวตนก่อนในครั้งแรก ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

ตรวจสอบสิทธิการลงทะเบียน “เงิน อุดหนุน บุตร 66” ผ่าน แอปพลิเคชันเงินเด็ก หรือ เว็บไซต์ : คลิกที่นี่

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

ขณะที่ เงิน สงเคราะห์ บุตร ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 สามารถยื่นขอรับ เงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม ได้ 800 บาทต่อเดือนต่อคน คราวละไม่เกิน 3 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

เงื่อนไขการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร

 

  • เป็น ผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
  • ผู้ประกันตน พ่อ หรือ แม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

 

 

 

เอกสารที่ต้องใช้

 

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตน หญิง ใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีผู้ประกันตน ชาย ใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ด้วย
  • กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน

 

 

 

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  8. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารออมสิน
  10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

 

 

* หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้

 

  • เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
  • กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

 

 

สถานที่ยื่นเรื่องลงทะเบียน

 

  • สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน ในวันและเวลาราชการ (08.30 – 16.30 น.)

 

 

 

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

 

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

 

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน

 

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect

 

 

 

  1. App Store : คลิกที่นี่
  2. Google Play : คลิกที่นี่

 

 

 

  • หรือเข้าเว็บไซต์ sso.go.th : คลิกที่นี่
  • จากนั้นเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน (สมัครสมาชิก)
  • ผู้ที่เข้าผ่านแอปพลิเคชัน กดเลือกเมนู การเบิกสิทธิประโยชน์ ส่วนผู้ที่เข้าผ่านเว็บไซต์กดเลือกเมนู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
  • ระบบจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร เป็นรายเดือนไว้ให้ตามสิทธิของผู้ประกันตน

 

 

 

 

 

ปฏิทิน “เงิน อุดหนุน บุตร 66” การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

  • เดือน ตุลาคม 2565 วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565
  • เดือน พฤศจิกายน 256 วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565
  • เดือน ธันวาคม 2565 วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565
  • เดือน มกราคม 2566 วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
  • เดือน กุมภาพันธ์ 2566 วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
  • เดือน มีนาคม 2566 วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566
  • เดือน เมษายน 2566 วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2566
  • เดือน พฤษภาคม 2566 วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566
  • เดือน มิถุนายน 2566 วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566
  • เดือน กรกฎาคม 2566 วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566
  • เดือน สิงหาคม 2566 วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566
  • เดือน กันยายน 2566 วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

 

จากข้อมูลแล้ว ปกติ เงิน สงเคราะห์ บุตร ประกันสังคม ควรโอนเข้าบัญชีให้ทุก ๆ สิ้นเดือน โดยถ้าติดวันหยุดหรือเสาร์อาทิตย์ ก็จะทำโอนเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อน ไม่เกินเที่ยงคืน ใครมี SMS ธนาคารแจ้งเตือนก็ไปถอนมาใช้ได้เลย

 

  • เดือน เมษายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 (30 เมษายน ตรงกับวันเสาร์)
  • เดือน พฤษภาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565
  • เดือน มิถุนายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565
  • เดือน กรกฎาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 (30 – 31 ตรงกับวันเสาร์ – อาทิตย์)
  • เดือน สิงหาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565
  • เดือน กันยายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565
  • เดือน ตุลาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565
  • เดือน พฤศจิกายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565
  • เดือน ธันวาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2565 (30 – 31 ตรงกับวันหยุด)

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

รับ เงินสงเคราะห์บุตร ผ่าน พร้อมเพย์

 

  • เพียงแค่ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนและสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ลงทะเบียนผ่านธนาคารเจ้าของบัญชี ไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคมในการขอรับประโยชน์ทดแทน

 

ยื่นเรื่องหรือแจ้งเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์

 

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชั้น 4 ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 (ภายในกระทรวงมหาดไทย) โทรศัพท์ : 0-2622-2500-17
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 ซอย 10 ถนนเทศบาลรังสรรค์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 (ตรงข้ามประชาชื่น 44 ใกล้โรงเรียนเพชรรัตน์) โทรศัพท์ : 0-2954-2577
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 อาคาร 12 ชั้น กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2248-4867,0-2245-1220
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ซอยสีลม 10 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 (ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่) โทรศัพท์ : 0-2634-0180-95
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ซอยรัชดา 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 (อยู่ในซอยรัชดา 6) โทรศัพท์ : 0-2476-8787, 0-2476-9016, 0-2476-9982
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 6 อาคารทาคูนิ ชั้น 4-5 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0-2455-8989

 

 

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0-2415-0995
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8 อาคารไอทีเอ็ม เลขที่ 255 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0-2743-3690
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ศูนย์การค้าพันธู์ทิพย์ บางกะปิ ชั้น 5 เลขที่ 3191, 38 :ซอยลาดพร้าว 127 (อุทิศ 1) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510 (ตรงข้ามตลาดมีนบุรี) โทรศัพท์ : 0-2517-9222
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 11 ถนนพระราม 3 ซอย 27 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กทม. 10120 โทรศัพท์ : 0-2294-5958
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 ถนนสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช 2) แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กทม 10260 โทรศัพท์ : 0-2311-5935-9, 0-2311-6507-9, 0-2311-6527-8

 

 

 

 

กรณีเงิน สงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ไม่เข้า ทำอย่างไร?

 

  • ให้ตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

 

 

 

  1. ได้ส่งเงินสมทบของเดือนนั้นหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจะทำการจ่ายให้ย้อนหลังจากสิทธิที่ได้รับเป็นเวลา 3 เดือน ดังนั้น หากคุณไม่ได้ส่งเงินสมทบเดือนไหน อีก 3 เดือนถัดมา คุณจึงจะไม่ได้รับเงินของเดือนนั้น เช่น ถ้าเดือนเมษายนไม่ได้ส่งเงินสมทบ ก็จะไม่ได้เงินเข้าบัญชีในปลายเดือนกรกฎาคมนั่นเอง
  2. ลาออก ว่างงาน ขาดส่ง การขาดส่ง ไม่ว่าจะลาออก ว่างงาน ได้งานใหม่ หรือเปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39 จะต้องยื่นเรื่องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมเข้ารับเงิน สงเคราะห์บุตร เมื่อได้รับสิทธิจะต้องรอรับเงินเป็นเวลา 3 เดือน เช่นเดียวกัน (โหลดแบบฟอร์มสมัครใหม่)
  3. บัญชีโดนระงับไหม หากมีส่วนที่เราต้องคืนให้สำนักงาน แต่เรายังไม่ได้คืน อาจถูกระงับการจ่ายได้
  4. ถ้าไม่มีตามนี้ให้โทรติดต่อ ประกันสังคม โทร. 1506

 

 

 

 

ส่วน “เงิน อุดหนุน บุตร 66” เข้ากี่โมง นั้น โดยปกติจะจ่ายตรงทุกวันที่ 10 ของเดือนไม่เกินเที่ยงคืน ใครมี SMS ธนาคารแจ้งเตือนก็ไปถอนมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ อาจมีการเลื่อนวันจ่าย ถ้าวันนั้นตรงกับวันหยุด (เสาร์ – อาทิตย์) วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะเลื่อนมาจ่ายก่อน ส่วนกรณีที่เงินไม่เข้าบัญชีเดือนนี้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทรศัพท์หมายเลข 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, 06 5731 3199 (ในวันเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 17.00 น.) ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง และสุดท้าย สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากทั้ง 2 โครงการ ได้หากเข้าเกณฑ์เงื่อนไข

 

 

 

 

เงิน อุดหนุน บุตร 66, เงิน อุดหนุน บุตร, เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงิน สงเคราะห์ บุตร, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พม., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

ที่มา : โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น