“โรคเบาหวาน” เช็ค 9 สัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง

โรคเบาหวาน, สัญญาณเตือน, เบาหวาน

"โรคเบาหวาน" มีสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง เช็คด่วน หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

“โรคเบาหวาน” TOP News ห่วงใย อยากให้เช็คด่วน 9 สัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

ข่าวที่น่าสนใจ

 

โรคเบาหวาน, สัญญาณเตือน, เบาหวาน

 

 

 

 

โรค เบาหวาน คือ อะไร?

 

  • ภาวะปกติของร่างกาย หมายถึง เมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

 

  • โรค เบาหวาน หมายถึง โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

 

 

โรค เบาหวาน แบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่

 

  1. โรค เบาหวาน ชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
  2. โรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วยในระยะแรกสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนาน ๆ บางรายจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน
  3. โรค เบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ วินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ และภาวะนี้มักหายไปหลังจากคลอด
  4. โรค เบาหวาน ที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรือการรับประทานยาที่มีสารสเตียรอยด์

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรค เบาหวาน ชนิดที่ 2

 

  • อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • มีโรคอ้วน หรือ รอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง) และมีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นโรค เบาหวาน
  • มีโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาความดันโลหิตอยู่
  • ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล เอสดีแอล < 35มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • มีประวัติเป็นโรค เบาหวาน ขณะตั้งครรภ์
  • เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7 – 6.4 %
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

 

อาการเริ่มแรกของโรค เบาหวาน คือ

 

  • ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการจะไม่เด่นชัดอย่างไรก็ตาม อาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้

 

  1. อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนาน ๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
  2. อาการของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
  3. อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
  4. อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรค เบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
  5. ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด

 

 

 

 

โรคเบาหวาน, สัญญาณเตือน, เบาหวาน

 

 

 

 

 

9 สัญญาณเตือนเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

  1. กินเก่งขึ้น
  2. หิวน้ำบ่อย
  3. ปัสสาวะบ่อย
  4. แผลหายช้ากว่าปกติ
  5. อ่อนเพลียมาก
  6. น้ำหนักลด
  7. หายใจหอบเหนื่อย
  8. คลื่นไส้อาเจียน
  9. ซึมลง หรือหมดสติ

 

 

คำแนะนำในการปฎิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

 

  • ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน

 

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค เบาหวาน

 

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ แม้จะไม่หิวก็ตาม ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น

 

  • รับประทานข้าว/แป้งไม่ขัดสีในปริมาณที่หมาะสม (1 – 3 ทัพพีต่อมื้อ)

 

  • รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2 – 3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6 – 8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเลือกผลไม้ขนาดกลาง ½ ผลต่อมื้อ หรือขนาดค่อนข้างเล็ก 1 – 2 ผลต่อมื้อ

 

  • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันในปริมาณที่เหมาะสม

 

  • เน้นผักใบให้มาก

 

  • ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารได้ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว

 

  • แนะนำให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน

 

  • อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง

 

  • ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

 

  • รับประทานยา หรือฉีดยาตามคำสั่งแพทย์

 

  • สำรวจเท้า และทาโลชั่นทุกวันทันทีหลังจากทำความสะอาด หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

 

  • ควรตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เดือน

 

  • ลดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือให้ใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานเทียมแทนน้ำตาล

 

  • ลดการรับประทานอาหารมัน เช่น อาหารจานเดียว อาหารทอดและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น

 

  • ลดการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ขนมมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมถึงการลดการรับประทานน้ำซุปต่าง ๆ หรือใช้หลักการตักเนื้อทิ้งน้ำ และลดการรับประทานน้ำจิ้ม

 

  • งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

 

 

โรคเบาหวาน, สัญญาณเตือน, เบาหวาน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น