หาดูได้ยาก พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ “โนราแทงเข้” พิธีโรงครูผูกผ้าใหญ่

หาดูได้ยาก พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ "โนราแทงเข้" พิธีโรงครูผูกผ้าใหญ่

พาคุณผู้ชมไปที่จังหวัดตรัง ไปดู ศาสตร์แห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โนราแทงเข้ พิธีโรงครูผูกผ้าใหญ่ สืบศรัทธาโนรา สานประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้ ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีชาวบ้านกว่า 300 คน ร่วมพิธีรำกลองยาว แห่จระเข้เข้าโรงมโนราห์ ท่ามกลางบรรยากาศครึกครื้นสนุกสนาน

มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนรา ศาสตร์แห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โนราแทงเข้ พิธีโรงครู ผูกผ้าใหญ่ เป็นการสืบศรัทธามโนราห์ สานประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้ ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ โดยที่บ้านเลขที่ 135/1 ม.5 ต.นาบินหลา อ.เมืองตรัง นายสำเริง กาญจนพรหม หรือ มโนราสำเริง นายโรงมโนราสำเริง บันเทิงศิลป์ ได้พิธีครอบเทริดมโนราห์หรือผูกผ้าใหญ่ให้ลูกชาย คือ นายระพีพัฒน์ กาญจนพรหม หรือ โนราบูม เพื่อเป็นมโนราใหญ่ หรือนายโรงโนรา สามารถประกอบพิธีกรรมในโนราโรงครู และยังเป็นการสืบสานเชื้อสายมโนราสืบต่อไปอีกด้วย

โดยมีนายกิตติพงศ์ ขาวปาน หรือมโนราห์กุ๊ก ซึ่งทำหน้าที่เป็นมโนราห์ใหญ่ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ในครั้งนี้ โดยมีชาวบ้านกว่า 300 คน ร่วมพิธีรำกลองยาว แห่จระเข้เข้าโรงมโนราห์ ท่ามกลางบรรยากาศครึกครื้นสนุกสนาน หลังจากแห่เสร็จนำจระเข้ มาวางไว้หน้าโรงมโนราห์แล้ว ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญนำเงิน ข้าวของ มาใส่ไว้ในปากจระเข้ ด้วยเชื่อว่าเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ เพราะเมื่อจระเข้ถูกแทงตายจะนำไปลอยน้ำ ทุก โศก โชคร้าย ก็จะให้ลอยไปพร้อม ๆ กับจระเข้

ซึ่งพิธีมโนราห์โรงครู เป็นพิธีการไหว้ครู ที่สมบูรณ์แบบตามขนบธรรมเนียมของโนรา โดยมีความเชื่อว่าหากครอบครัวใดสามารถปฏิบัติตามจะพบแต่ความสุขความเจริญ ปลอดภัยจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยมีลูกหลานมโนราห์มาร่วมแสดงประมาณ 15-20 คน และคนทรง มีการทำพิธีต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ร่ายบทตั้งบ้านตั้งเมื่อ พิธีกรรมต่าง และการร่ายรำ 12 ท่า แสดง 12 บท จนถึงพิธีแทงจระเข้ อันเป็นเสร็จพิธี โดยจะมีการแสดงมโนราห์ 3 วัน 2 คืน เริ่มตั้งแต่วันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และต้องทำกันเป็นประจำ ทุกปี ทุกสามปี หรือ ทุกห้าปี แล้วแต่จะกำหนด

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนพิธีโรงครู ผูกผ้าใหญ่ เป็นพิธีกรรมที่หาดูได้ยาก โดยกว่าจะเป็นโนราใหญ่ ซึ่งจะมีศักดิ์และสิทธิ์ ทำหน้าที่สำคัญใน พิธีกรรมโรงครู จะต้องผ่านขั้นตอนสำคัญ คือ “ผูกผ้า ตัดจุก ครอบเทริด” จะต้องมีอายุครบ 22 ปี เป็นโสด และมิใช่เพียงทางโลกโนรา แต่จะต้องบวชเป็นพระ เพื่อเรียนรู้ทางธรรม ซึ่งในครั้งนี้ “โนราบูม” พร้อมที่จะก้าวสู่บทบาทใหม่เป็น “โนราใหญ่” นี่คือส่วนหนึ่งของการสืบศรัทธาโนรา สานประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นศิลปะวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลายพื้นที่ในภาคใต้ยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่น ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ จังหวัดตรังเอง “โนรา” ก็โดดเด่นไม่แพ้ที่อื่นจนมีคำกล่าวว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนรา”

สำหรับการรำแทงเข้ (จระเข้) ใช้รำในพิธีกรรมโรงครูเท่านั้น โดยจะรำหลังจากคล้องหงส์แล้ว ผู้รำมี 7 คน โนราใหญ่รำเป็น “นายไกร” ที่เหลืออีก 6 คน เป็นสหายของนายไกร อุปกรณ์มีเข้(จระเข้) 1 ตัว ทำจากต้นกล้วยพังลา (กล้วยตานี) ต้นโต ๆ ขุดให้ติดเหง้า นำมาแกะสลักส่วนเหง้าให้เป็นหัวเข้ ขาใช้หยวกกล้วยตัดเป็นรูปขาแล้วใช้ไม้เสียบไว้ หางทำด้วยทางมะพร้าว เมื่อเสร็จแล้วใช้ไม้ขนาด 4 คืบ 4 อันปักเป็นขาหยั่ง เชื่อกันว่าคนที่จะทำตัวจระเข้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางเวทย์มนตร์คาถา เพราะหลังจากทำตัวจระเข้เสร็จแล้วจะต้องทำพิธีบรรจุธาตุ เรียกวิญญาณไปใส่ เบิกหูเบิกตา เรียกเจตภูตไปใส่ หากทำไม่ถูกต้อง ก็อาจเป็นเสนียดจัญไรแก่ตนเอง ก่อนนำเข้าพิธี คนทำจระเข้ต้องทำพิธีสังเวยครูด้วยหมากพลู ดอกไม้ธูปเทียน และเหล้าขาว แล้วนำไปวางข้างโรงโนราด้านตะวันตก

และก่อนจะออกไปทำพิธีแทงเข้ มโนราห์จะต้องทำพิธีไหว้ครูโนรา และจะทำพิธีเหยียบเสน เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับเสน โดยเชื่อว่าเสนเป็นเนื้องอกนูนจากระดับผิวเป็นแผ่น ถ้ามีสีแดงเรียกว่า เสนทอง ถ้ามีสีดำ เรียกว่า เสนดำ ไม่ทำให้เจ็บปวดหรือมีอันตรายแต่ถ้าหากงอกบางส่วนของร่างกาย เช่น บนใบหน้าจะดูน่าเกลียด ถ้าเป็นกับเด็ก ๆเสนจะโตขึ้นตามอายุ พิธีกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเสนจะค่อย ๆ หายไป ถ้าไม่หายให้ทำซ้ำอีกจนครบ 3 ครั้ง เสนจะหายไปในที่สุด

ต่อจากนั้นโนราออกจากโรงใช้เท้าเหยียบแพหยวกแล้วกล่าวบริกรรมคาถา จากนั้นโนราใหญ่ ผู้รำ เป็นสหายนายไกร ครูหมอโนราก็ร่ายรำไปยังตัวจระเข้ แล้วโนราใหญ่กล่าวบริกรรมคาถากำกับ แล้วจึงใช้หอกแทงเข้ เอาเท้าถีบให้เข้หงายท้อง โนราคนอื่น ๆ ก็ใช้หอกแทงเข้ ต่อจากโนราใหญ่แล้วว่าบทปลงอนิจจัง กรวดน้ำให้ชาละวัน จบแล้วว่าคาถาถอนเสนียดจากเข้ เป็นอันจบพิธีกรรมโนราแทงเข้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศาลนนทบุรี สั่งจำคุกหนุ่มใหญ่ 6 ปี 36 เดือน ผิดคดี 112 โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
ตร.ปคบ.หอบสำนวน 7000 หน้า ส่งฟ้องคดีหลอกขายทอง “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” ให้กับอัยการแล้ว
10 บริษัทโฆษณา ชั้นนำในไทย ที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing
"รองผู้การกองปราบฯ" กางกม.เอาผิด "ซินแสชื่อดัง" จ่อโดนคดีฟอกเงิน หลังตุ๋นเหยื่อหลายราย สูญเงินกว่า 70 ล้าน
“สัณหพจน์” เปิดนโยบายแก้เศรษฐกิจปากท้อง ฟื้นฟูท่องเที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช เล็งนำช้างแคระคืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง อะเมซอนเมืองไทย
“เจพาร์ค ศรีราชา” จัดพิธีอัญเชิญเทพเจ้าโอคุนินุชิ ประทับในศาลเจ้าโอคุนิ ศาลเจ้าชินโตแห่งที่สามของประเทศไทย
ก้าวสู่ปีที่ 5 Future Food Leader Summit 2025 ชวนสร้างไอเดีย บนแนวคิด “อาหารฟื้นฟูเพื่ออนาคต” เปิดตัว Future Food AI ครั้งแรกในเอเชีย
TIPH คว้าอันดับเครดิตองค์กรสูงสุดของกลุ่มโฮลดิ้งส์ ตอกย้ำศักยภาพผ่านการประเมินจากทริสเรทติ้ง
"บิ๊กเต่า" เตรียมส่งทีมสอบ "บอสพอล" ปมเส้นเงิน 8 แสน โยงแม่นักการเมือง ส.
"วราวุธ" ขออย่านำ "เกาะกูด" เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น