“โควิด-19” ระบาดครั้งใหม่ตามฤดูกาลยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 66

โรคตามฤดูกาล, โควิด-19, โควิด, COVID-19, หมอยง, ไข้หวัดใหญ่

"โควิด-19" แนวโน้มพบสูงขึ้น ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ การระบาดในครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือน ก.พ. จากนั้นก็จะเริ่มลดลง ไปเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในเดือน มิ.ย.

“โควิด-19” TOP News เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาด ล่าสุด หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย แนวโน้มพบสูงขึ้น ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ

ข่าวที่น่าสนใจ

 

โรคตามฤดูกาล, โควิด-19, โควิด, COVID-19, หมอยง, ไข้หวัดใหญ่

 

 

 

 

หมอยง ระบุ โรค COVID-19 มีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล การระบาดของโรคสำหรับประเทศไทย จะพบมากในฤดูฝน และช่วงปลายปีจนถึงต้นปี อีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับการระบาดในสมัย ไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรคลดลง ทั้งนี้ เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน และการติดเชื้อ

 

ขณะเดียวกัน มียาที่ใช้รักษาที่ดีขึ้นกว่าในช่วงแรก ๆ มาก คือ monulpiravia paxlovid และ remdicevir เช่นเดียวกับสมัย ไข้หวัดใหญ่ 2009 เรามี oseltamivir และวัคซีนเข้ามาปลายปี ในปัจจุบันยาสำหรับ COVID-19 ก็หาได้ง่ายขึ้น กว่าเมื่อต้นปีมาก

 

 

 

 

โรคตามฤดูกาล, โควิด-19, โควิด, COVID-19, หมอยง, ไข้หวัดใหญ่

 

 

 

 

“จำนวนการฉีดวัคซีนขณะนี้ น้อยกว่าธรรมชาติที่ฉีดวัคซีนให้ หรือการติดเชื้อนั่นเอง ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะทำให้ภูมิในประชากรเพิ่มมากขึ้น” หมอยง ระบุและบอกอีกว่า โดยหลักการแล้วเราอยากให้ประชากรไทยได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ ไม่แตกต่างกัน และใครที่ได้มากกว่า 3 เข็มแล้ว ถ้าเข็มสุดท้ายได้รับมาแล้วนานเกินกว่า 6 เดือน ระดับภูมิต้านทานที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ก็ควรจะได้รับการกระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

ขณะนี้มีวัคซีนไม่ได้ขาดแคลน จึงอยากเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มที่เมื่อเป็นโรคแล้วจะรุนแรง ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้แล้ว ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมาเป็นเวลานานแล้ว 4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรได้รับการกระตุ้น เพื่อช่วยความจำของร่างกาย เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน

 

 

 

 

 

โรคตามฤดูกาล, โควิด-19, โควิด, COVID-19, หมอยง, ไข้หวัดใหญ่

 

 

 

 

การระบาดในครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ และหลังจากนั้นก็จะเริ่มลดลง ต่ำมาก ๆ แล้วจะไปเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่าในปีหน้า ประชากรเกือบทั้งหมดก็น่าจะมีภูมิต้านทาน แล้ว ดังนั้น ในขณะนี้ถ้าไม่ได้กระตุ้นด้วยวัคซีน ธรรมชาติหรือการติดเชื้อก็จะกระตุ้นให้ การติดเชื้ออาการแทรกซ้อนก็จะมากกว่าการฉีดวัคซีน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น