“ดร.สมชาย” ฟันธง APEC 2022 ไทยได้ประโยชน์เต็มๆ

"ดร.สมชาย" ฟันธง APEC 2022 ไทยได้ประโยชน์เต็มๆ

สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14– 19 พฤศจิกายน 2565 และถือเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันครั้งแรกในรอบ 4 ปี ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล ” ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ จะเริ่มจากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งสุดท้าย ในช่วงวันที่ 15 –16 พฤศจิกายน เพื่อสรุปผลการทำงานที่สำคัญของเอเปคตลอดทั้งปี เพื่อจัดทำเอกสารผลลัพธ์การประชุม และเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 ซึ่งจะเป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจของเอเปค ในวันที่ 17 พฤศจิกายน และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 18 –19 พฤศจิกายน 2565

ขณะที่การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการหารือแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในยุคหลังโควิด-19 ให้ครอบคลุมและยั่งยืนท่ามกลางบริบทโลกที่ท้าทาย และผลักดันให้ผู้นำร่วมกันรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” เพื่อให้เอเปคมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยทางด้านกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จะเข้าร่วมการประชุมเพื่อนำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ด้วย

นอกจากนี้เวทีการประชุม ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพฯ ยังได้เชิญ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน , เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรี ซาอุดีอาระเบีย และ นายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปคในฐานะแขกพิเศษ เพื่อหารือร่วมกันถึงแนวทางการขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ระหว่างเอเปคกับคู่ค้านอกภูมิภาค และแนวทางการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ รวมทั้งจัดการหารือระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ TOP NEWS ถึงมุมมองด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับเวทีการประชุมเอเปค 2022 ว่า มีหลายข้อดีที่ประเทศไทยจะได้รับแต่ละด้าน จากการประชุมเอเปคครั้งนี้ เริ่มจากการหารือในเรื่องของบริบท หลังสถานการณ์โควิด ซึ่งในระยะเเรกจะมีด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ การเปิดเสรีทางการค้า , การอำนวยความสะดวกทางการค้า และ ด้านอีโคเทค ( (ECOTECH) ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ เพราะในการหารือกันจะมีบริบทการเขื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน

ส่วนคาดหวังผลการประชุมในภาพรวมครั้งนึ้ สิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับหลัก ๆ เลยคือ เรื่องการประชาสัมพันธ์ประเทศ ด้วยการเผยแพร่สิ่งดี ๆ ไปทั่วโลก และการประชุมย่อยด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ก่อนจะเปลี่ยนเจ้าภาพการประชุมในเดือนธันวาคมนี้ ทั้งการประชุมนักธุรกิจ นักลงทุน และ กลุ่มธนาคาร ซึ่งจะทำให้มีคนเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก กระจายไปตามหัวเมืองต่างๆของไทย ทั้ง กรุงเทพ , เชียงใหม่ , ภูเก็ต เป็นต้น อันจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการหารือนอกรอบที่มีเนื้อทางสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นในระยะกลาง ระยาว ทั้งการเปิดโอกาส การเชื่อมโยง และการสร้างดุลยภาพ ด้านการค้า การลงทุน ในระดับภูมิภาค

จุดสำคัญที่ต้องจับตา ก็คือ การเจรจานอกรอบของประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้นำเอเปค ได้เห็นถึงความน่าสนใจด้านการลงทุนในประเทศไทย เพราะการพูดคุยผ่านเวทีเอเปค 2022 ครั้งนี้ ทางผู้นำซาอุดีอาระเบีย ได้เข้าร่วมการเจรจาการค้า การลงทุน อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแน่นอนว่าถือเป็นสัญญาณเชิงบวก และเป็นประโยชน์ในแง่ภาพลักษณ์สำหรับประเทศไทยอย่างมาก

 

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.สมชาย ระบุเพิ่มเติมว่า ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ ในรูปแบบของนามธรรม คือ ภาพลักษณ์ของไทย และในรูปธรรมระยะสั้น หรือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น จากการเดินทางมาประเทศไทยของบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ส่วนสิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับในระยะกลางและระยะยาว ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและการหารือร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิสตรี เรื่อง BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการโฟกัสไปถึงสถานการณ์หลังโควิดคลี่คลาย ซึ่งหลายประเทศให้ความสำคัญดับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

ส่วนกรณีบางฝ่าย เตรียมเคลื่อนไหวในช่วงประชุม APEC เรียกร้องให้ยกเลิกนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โดยอ้างเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน รศ.ดร.สมชาย มองว่า ในทุกเรื่องมักมีสองด้านเสมอ และกรณีคนออกมาคัดค้านเรื่อง BCG ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ประชาชนได้รับทราบ จะเป็นทางออกของปัญหาที่ดีที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิชัย" หารือ "รมต.พาณิชย์-อุตสาหกรรม" บาห์เรน ยกระดับสัมพันธ์การค้า จัดทำ FTA เชื่อม 2 ปท.
‘ซัวเถา’ จัดมหกรรมดอกไม้ไฟสุดยิ่งใหญ่รับตรุษจีน
เม็กซิโก-แคนาดา-จีนประกาศสงครามการค้ากับสหรัฐ
ทรัมป์ไฟเขียวกำแพงภาษีแคนาดา เม็กซิโกและจีนแล้ว
สรุปผล 47 นายกอบจ. "เพื่อไทย" คว้าชัย 10 ที่นั่ง "ภูมิใจไทย" 9 สู้สูสี "ปชน." ได้แค่ 1 ที่
ผู้โดยสารดับยกลำจากเหตุเครื่องบินกู้ชีพตกที่สหรัฐ
ทบ.ร่วม สตช. ประสานเมียนมา ช่วยเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวฮ่องกง 1 ราย
พรรคปชน.ช้ำ! ส่งเลือกตั้งนายกอบจ.17 จังหวัด คว้าชัยแค่ลำพูน
รวมไทยสร้างชาติ คว้าชัยนายกอบจ. 5 จังหวัด
"นิด้าโพล" เผยคนกรุงฯส่วนใหญ่ ชี้ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า-เมล์ขสมก.ลดฝุ่นไม่ได้ผล มาตรการรัฐขาดประสิทธิภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น