ดูชัดๆ ประเทศไทยได้อะไรจากการเป็นเจ้าภาพประชุม APEC

ย้อนอ่านบทความ "ดร.ปิติ" คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา ชี้ความสำคัญAPEC 2022 เป็นจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจโลกและของไทย ปลุกคนไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี

จากกรณีส.ส.พรรคฝ่ายค้าน รวมถึงคนดังบางคนที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบ 3 นิ้ว ออกมาตั้งคำถามว่าการประชุมเอเปคครั้งนี้ ประเทศไทยได้อะไร อีกทั้งยังไม่รู้เนื้อหาการประชุม ทั้งที่ภาครัฐได้มีการประชาสัมพันธ์รายละเอียดการประชุมและผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันมีบทความที่น่าสนใจจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนบทความสะท้อนความหมายและความสำคัญของ APEC 2022 Thailand ที่คนไทยควรรู้ เพื่อร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี เพราะนี่คือจุดเปลี่ยนของระบบเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย! ลงในเว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาระสำคัญส่วนหนึ่งในบทความของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ระบุว่า

1.APEC 2022 Thailand คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี้คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง APEC 2022 Thailand จึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก ตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

2.APEC คือการประชุมที่ครอบคลุมเกือบทุกมิติในทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยอาจจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจ 2.การบูรณาการระบบเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ 3.การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive) 4.การสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และ 5.การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิตอล และการสร้างนวัตกรรม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3.การประชุม APEC ส่งผลดีทันทีต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องรอการประชุมสุดยอดผู้นำ เพราะตลอดทั้งปีมีคณะของ 21 เขตเศรษฐกิจ APEC ในทุกระดับ ที่มาประชุมกันรวมแล้วกว่า 14 คลัสเตอร์ ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ จนถึงรัฐมนตรี และผู้นำของประเทศ รวมทั้งกองทัพสื่อ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศ เข้ามาประชุม เข้ามาใช้บริการต่าง ๆ ทั้ง อาหาร โรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมของที่ระลึก ขนส่ง ภาคบริการ และภาคการผลิตของไทยก็ได้รับผลประโยชน์ไปแล้ว รวมทั้งยังถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในเวทีโลกได้เป็นอย่างดี เหตุผลส่วนที่สองที่ยิ่งทำให้ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งด้วย ก็เนื่องจากตลอด 4 ปีที่ผ่านมา การประชุม APEC มักจะเกิดอุปสรรคขึ้นเสมอๆ เริ่มตั้งแต่ สหรัฐฯประกาศสงครามการค้ากับ 15 ประเทศที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าด้วย โดยเฉพาะจีน ทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2018 ที่ประเทศปาปัวนิวกีนีเป็นเจ้าภาพ ไม่สามารถบรรลุผลการประชุมร่วมกันและออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ ต่อเนื่องด้วยปี 2019 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองขึ้นในประเทศเจ้าภาพการประชุม นั่นคือ ประเทศชิลี ทำให้ในปี 2019 ไม่มีการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC

จากนั้นทั่วทั้งโลกก็เผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ทำให้ในปี 2020 และ 2021 การประชุม APEC ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แบบพบหน้าในที่ประชุม ดังนั้นการประชุมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2022 และการประชุมสุดยอดผู้นำที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้ จึงเป็นการประชุมแบบพบปะ ถกแถลง เสวนาแบบเจอตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลาย ๆ ปี ท่ามกลางระเบียบโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทั่วทั้งโลกกำลังต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อฟื้นฟูห่วงโซ่มูลค่าระดับนานาชาติหลังการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางปัญหาวิกฤตการณ์อาหาร วิกฤตการณ์พลังงาน สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี และความพยายามของบางชาติที่ต้องการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเป็นอาวุธในการกดดันประหัตประหารบางเขตเศรษฐกิจ

 

4.APEC คือการประชุมที่เกิดขึ้น ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้เตรียมความพร้อม จัดการวาระการประชุม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อมมาตั้งแต่ 2 ปีก่อนหน้า เพื่อให้การประชุมครั้งสำคัญนี้บรรลุผลดังที่ทุกคนต้องการ นั่นคือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบเพื่อให้เศรษฐกิจของทั้ง 21 เขต และของทั้งโลกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเตรียมผลักดันเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok’s Goals อันประกอบไปด้วย 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1) ร่วมกันสร้างระบบการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน 2)ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน 3)ร่วมกันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นเขตเศรษฐกิจผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และ 4) ร่วมกันบริหารจัดการของเสียและขยะอย่างยั่งยืน

ดังนั้นผู้นำที่ไม่มาเข้าร่วม หรือมาเข้าร่วมแต่กลับมาสร้างความแตกแยก แทนที่จะเดินหน้าสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรเรือนหลายพันล้านคน จึงเป็นผู้นำที่คนทั่วทั้งโลกคงต้องทบทวนพิจารณา

 

ขอบคุณที่มา chula

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บึ้มสนั่นกลางดึก ชาร์จรถ 3 ล้อไฟฟ้า เกิดไฟฟ้าลัดวงจรลามไหม้ร้านของชำ หวิดวอดทั้งหลัง
กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย เตือนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง
"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น