“ดร.วรัชญ์” ชี้ “ไทยพีบีเอส” ยิ่งชี้แจงยิ่งมีคำถาม ปมข่าวปลากุเลา

“ดร.วรัชญ์” ลั่นยังไม่ได้คำตอบแม้“ไทยพีบีเอส” จะออกมาชี้แจงปมเสนอข่าวปลากุเลาซัดยังคิดว่าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และพาดพิงผู้อื่น จี้ถามหาความรับผิดชอบ

วันที่ 16 พ.ย.2565 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Warat Karuchit ระบุว่า

1. ผมอ่านคำชี้แจงนี้จนจบแล้วก็สะดุดอยู่กับหลายตอน โดยเฉพาะข้อสุดท้าย “ไทยพีบีเอสขอยืนยันเจตนารมณ์ในฐานะสื่อสาธารณะในการรายงานข่าวและนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้องรอบด้าน เป็นธรรม และให้ความสำคัญกับการประชุมเอเปค ซึ่งมีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการสะท้อนความรู้สึก ความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับ”

การทิ้งท้ายด้วยประโยคนี้ มันให้ความรู้สึกเหมือนการต่อต้าน การไม่ยอมรับ และยังถือว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งมันทำให้การขออภัยในข้อก่อนหน้านั้นลดความหมายลงไปมาก (อย่างน้อยในความรู้สึกผมนะครับ) อย่าลืมหลักการของทฤษฎี Symbolic Interactionism นะครับ “คำพูดคน สะท้อนความคิด”

ข่าวที่น่าสนใจ

2. การสะท้อนความรู้สึกของประชาชน เป็นสิ่งที่ดี ไม่มีใครว่าอะไรหรอกครับ ถ้าทำอย่างรอบด้าน ถ้าไม่ได้เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ถ้าไม่ใช่ความคิดเห็นที่เกิดจากความเข้าใจผิด

3. แล้วปัญหาหลักของข่าวนี้ ก็ไม่ใช่การสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน แต่เป็นการใช้ข้อความที่ชี้นำให้ประชาชนเข้าใจผิด การฟันธงว่า “ไม่ได้มาจากตากใบจริง” หรือ “จับโป๊ะ” ที่หมายถึงการโกหกของรัฐบาล / เชฟ

4. อีกข้อหนึ่งที่ผมติดใจอยู่พอสมควรก็คือ ข้อ 1 ที่ระบุว่า “ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ อ.ตากใบ ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนอความภาคภูมิใจของชาวตากใบ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่เนื้อหานี้อยู่ตรงไหนในรายงานข่าวครับ? คำตอบคือไม่มี ในข่าวมีแต่เสียงบ่น การกล่าวหาว่าไม่ใช่ปลากุเลาตากใบ ถ้าข่าวนี้อยากนำเสนอความภาคภูมิใจจริง ต้องมีเนื้อหาที่แสดงถึงความเลื่องชื่อในรสชาติ หรือความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จนได้รับ GI แล้วค่อยจบด้วยคำถามว่า ต้องติดตามดูว่าจริงหรือไม่ ก็ยังพอได้ แต่เนื้อหาทั้งหมดคือการโจมตี จึงยากที่จะเชื่อได้ว่ามีความตั้งใจนำเสนอความภูมิใจของชาวตากใบ หรือว่าพอเห็นประเด็นใหม่ก็เปลี่ยนทันที?

5. แล้วเมื่อได้รับข้อมูลแล้ว ที่บอกว่าได้นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว (ซึ่งก็เป็นการนำเสนอข้อมูลถูกต้องที่เน้นไปที่ข้อมูลที่ผิดมากกว่าถูก) (ดูคลิปที่คอมเมนท์แรก) แต่ข่าวที่ผิดพลาดก็ยังคงอยู่ จนผมมาเขียนโพสต์ตอนประมาณ 5 ทุ่ม ถึงได้เอาออก

จริงๆไทยพีบีเอส แค่ขอโทษในความผิดพลาดของตัวเอง (ข้อ 5-6) ก็พอแล้ว แต่นี่ต้องเกริ่นที่มา และพาดพิงความผิดของผู้อื่น (ผู้ประกอบการที่เข้าใจผิด และหน่วยงานรัฐที่ลงรูปผิด) ก็เลยทำให้ตนเองเข้าใจผิด ซึ่งก็เหมือนเป็นการย้ำความผิดตัวเองที่ไม่ตรวจสอบข้อมูลก่อนลงข่าว
ซึ่งตามคำชี้แจงของไทยพีบีเอสครั้งนี้ ทำให้ผมเพิ่งรู้ว่า ข่าวที่ผิดพลาดนี้ ได้นำไปออกอากาศในข่าวค่ำด้วย (คำชี้แจงข้อ 3) ก็แสดงว่า ไม่ใช่เพียงแค่ข่าวออนไลน์ ที่บก.และระบบตรวจสอบข้อมูล หายไปไหนไม่ทราบ แต่ข่าวค่ำก็ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน เอาข้อมูลเดียวกันมาออกอากาศได้เลย (ซึ่งผมอาจจะร้องเรียน กสทช. อีกช่องทางด้วย)

ผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนเขียนคำชี้แจงนี้ แต่กลายเป็นว่าผมอ่านแล้วยิ่งมีคำถามมากกว่าเดิม รวมถึงคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบว่า “ไทยพีบีเอสจะรับผิดชอบอย่างไร?”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น