“กล้ามเนื้อมือเกร็ง” อาจเกิดโรคทางระบบประสาท อย่าเผลอมองข้าม

กล้ามเนื้อมือเกร็ง

ภาวะ "กล้ามเนื้อมือเกร็ง" Writer’s cramp กรมการแพทย์ เตือนเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม และอาจเป็นอาการนำของการเกิดโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ

“กล้ามเนื้อมือเกร็ง” กล้ามเนื้อหดเกร็ง กล้ามเนื้อหดเกร็ง อาการ กล้ามเนื้อเกร็ง วิธี ลดอาการเกร็ง โดยล่าสุดทางด้าน กรมการแพทย์ ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ภาวะกล้ามเนื้อมือเกร็ง (Writer’s cramp) อาการเกร็งที่กล้ามเนื้อมือและแขนเมื่อเขียนหนังสือ อาจเป็นอาการนำของการเกิดโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ได้ ภาวะนี้รุนแรงแค่ไหน สามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง รู้ก่อนได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก กรมการแพทย์ ได้ระบุข้อความว่า กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผย ภาวะ กล้ามเนื้อ มือ เกร็ง (Writer’s cramp) อาการเกร็งที่กล้ามเนื้อมือและแขนเมื่อเขียนหนังสือ และเขียนได้ช้าลง อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น แนะควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะ กล้ามเนื้อ มือ เกร็ง (Writer’s cramp) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า task-specific dystonia

 

ซึ่งเป็นอาการเคลื่อนไหวผิดปกติในรูปแบบของการบิดเกร็งผิดรูป ทีเกิดขึ้นเฉพาะบางท่าทาง เช่น เขียนหนังสือ พิมพ์ดีด เล่นดนตรี เล่นกีฬาบางชนิด เป็นต้น และอาการเกร็งจะหายไปเมื่อเลิกทำท่าทางนั้นหรือเมื่ออยู่เฉย ๆ โดยจะพบอาการเกร็งมือเวลาเขียนหนังสือได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกแน่นหรือเกร็งนิ้วมือ มือ ข้อมือหรือแม้กระทั่งอาจลามถึงแขนเวลาใช้มือข้างนั้นเขียนหนังสือ

 

 

กล้ามเนื้อมือเกร็ง

 

 

ส่งผลให้ลายมือเปลี่ยนไป เขียนหนังสือช้าลง จนกระทั่งไม่สามารถเขียนหนังสือได้ บางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยต้องหัดเขียนหนังสือด้วยมืออีกข้างแทน ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโดยตรง

 

 

 

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยประมาณ 10-20% อาจมีอาการของโรครุนแรงมากขึ้น จนมีอาการมือเกร็งเวลาทำกิจกรรมอื่นนอกจากเขียนหนังสือ เช่น จับช้อนหรือส้อมเวลาทานอาหาร ติดกระดุมเสื้อ เป็นต้น หรืออาจมีอาการเกร็งลามไปมืออีกข้างทำให้เป็นภาวะมือเกร็งทั้งสองข้างได้ ภาวะ กล้ามเนื้อ มือ เกร็ง อาจเป็นอาการนำของการเกิดโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็งทั่วตัวที่เป็นกรรมพันธุ์ เป็นต้น

 

 

กล้ามเนื้อมือเกร็ง

 

 

สาเหตุของโรคเกิดจากสมองที่มีวงจรทำงานผิดปกติ โดยส่งผลให้เกิดการบิดเกร็งของร่างกายส่วนนั้น ๆ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยโดยการรับประทานยา และการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการเกร็ง แต่ผลการรักษามักมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร และมีผลข้างเคียงของยาเมื่อใช้ในปริมาณสูง ในปัจจุบันการรักษาที่เป็นมาตรฐานคือ การฉีดยาโบทูลินัม ในตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่เกร็งเวลาเขียนหนังสือ

 

ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการฉีดยาโบทูลินัมคือ อาจมีกล้ามเนื้อมืออ่อนแรงชั่วคราวได้ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด จากนั้นมือจะกลับมามีแรงตามปกติโดยที่ไม่มีอาการเกร็งได้นาน 2-3 เดือน ทำให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ ดังนั้น หากมีอาการภาวะกล้ามเนื้อ มือ เกร็ง ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามต่อไป

 

 

กล้ามเนื้อมือเกร็ง

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ภูมิธรรม” ชี้ปม “แสตมป์” ขอรอทบ.สอบก่อน หลังอ้างถูกนายพลขู่ยัดคดี 112 ลั่นอย่าเหมารวมกองทัพมีปัญหา
กทม.จมฝุ่น PM 2.5 กว่า 70 พื้นที่ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
"แสตมป์" เคลื่อนไหวล่าสุด โพสต์ยอมรับ นอกใจภรรยาจริง แจงปมถอนฟ้องคู่กรณีทั้งหมด ขอโอกาสเริ่มต้นใหม่
เหนือ-อีสาน อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิ 12 องศา 5 จว.ใต้เจอฝนฟ้าคะนอง กทม.เย็นสุด 18 องศา
"อัครนันท์" ชี้เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ โอกาสใหม่เศรษฐกิจไทย
ทบ.ชวนชมนิทรรศการภาพถ่าย “Unseen Moments” หลากแง่มุมชีวิตทหารผ่านเลนส์ ณ หอศิลปวัฒนธรรม กทม. 14-26 ม.ค.นี้
โฆษกตร.แจงเหตุ "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แม้เคยถูกออกหมายจับในอดีต
สุดเศร้า "สาวไทยวัย 30 " จบชีวิตในห้องน้ำห้างดังมาเลเซีย ล่าสุดครอบครัว-ญาติ รู้ข่าวแล้ว
"พิพัฒน์" เปิดโครงการก.แรงงานพบประชาชน สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสตำแหน่งงาน พัฒนาอาชีพบุคคล
"สำนักงานสลากฯ" เห็นชอบขายสลาก N3 ต่อเนื่อง งวดละ 5 ล้านรายการ พร้อมเพิ่มผู้แทนเดินจำหน่าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น