“คีโต” Low-carb อาจต่อต้านไวรัสโควิด-19 ได้ ช่วยให้หายไวขึ้น

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

"คีโต" วิจัยพบหนูทดลองต้านการติดเชื้อได้ดีกว่า คาด BHB อาจมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัส Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้น

“คีโต” กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าอาจช่วยต้านการติดเชื้อ โควิด-19 ส่วน Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้น TOP News เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 ล่าสุด ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ดร.อนันต์ ระบุว่า เวลาติดโควิดแล้ว หลายคนมีอาการเบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ลง จริง ๆ แล้วสภาวะนี้เป็นการตอบสนองต่อการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อร่างกาย การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา จากทีมวิจัยในเยอรมนี พบว่า ช่วงที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อด้วยอาการเบื่ออาหาร เป็นการเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานของร่างกาย จากการใช้น้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน เป็นการใช้แหล่งพลังงานสำรองที่ตับแทน โดยพลังงานสำรองดังกล่าว คือ ketone body β-hydroxybutyrate (BHB) ที่ร่างกายเปลี่ยนจากกรดไขมันในตับนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในสภาวะอดอาหาร หรือแหล่งอาหารไม่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น อาหารกลุ่มคีโตไดเอท ที่บางท่านอาจนิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

ทีมวิจัย พบว่า ผู้มีอาการโควิดรุนแรง จะมีการสร้าง BHB ในร่างกายที่น้อยกว่าปกติ แหล่งพลังงานของผู้ป่วยเหล่านั้นจะพึ่งน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต เป็นหลัก แต่สภาวะการติดเชื้อโควิด ทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลไม่เป็นปกติในผู้ป่วยเหล่านี้ โดยเฉพาะในเม็ดเลือดขาว T cell ที่ควรได้สารอาหารชนิดกรดอะมิโนสำคัญจากแหล่งพลังงานดังกล่าวไปสร้างโปรตีนเพื่อจัดการกับเชื้อ หรือเพิ่มจำนวนของตัวเองให้พร้อมในสภาวะติดเชื้อ

 

ทีมวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโควิดมี T cell ที่ทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่ออาการโควิดที่รุนแรง พูดง่าย ๆ คือ T cell เสียสมดุลการทำงานจากการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

 

ทีมวิจัย พบว่า แทนที่จะใช้น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงาน ร่างกายจะใช้ BHB แทน ซึ่งกลไกการเผาผลาญ BHB สามารถทำให้มีการสร้างกรดอะมิโนได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T cell ได้อย่างดี สามารถเคลียร์ไวรัสจากร่างกายได้ไวขึ้น

 

ทีมวิจัย พบว่า การให้อาหารชนิด “คีโต” กับหนูทดลองยังที่ติดเชื้อ สามาถช่วยให้หนูต้านการติดเชื้อได้ดีกว่ากลุ่มทดลอง ทำให้คิดว่า BHB อาจมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัสได้

 

ทีมวิจัย สรุปว่า BHB อาจจะเป็นหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่อาจพิจารณานำมาใช้ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการรุนแรง

 

“สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารไม่อยากทานอะไร ก็อาจจะเป็นกลไกที่ร่างกายอยากใช้ประโยชน์จาก BHB ที่สะสมไว้ครับ หรือถ้าจะทานอาหาร Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้นครับ”

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : Impaired ketogenesis ties metabolism to T cell dysfunction in COVID-19 , Fasting as key tone for COVID immunity

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คดีสังหาร สจ.โต้ง ส่อบานปลาย คลิปเสียงโผล่อีกไขปมยิง โยงเงินปริศนา 70 ล้าน
"อดีตสว.สมชาย" ชี้ฝ่ายอนุรักษ์เดินหมากผิด เปิดโอกาส"ระบอบทักษิณ"ฟื้นชีพรอบวกส้ม
ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น