ครั้งแรกในอาเซียน นักวิจัยมข. ผลิต "แบตเตอรี่" โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในไทย หวังพัฒนาทดแทนลิเธียมไอออน ลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ราคาถูกลง
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม (กพร.) จัดงานแถลงโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต “แบตเตอรี่” โซเดียม ไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันการประชุมทั่วโลกได้กล่าวถึงการใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานทางเลือก โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบต เตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการทำงานวิจัยอย่างหนักของทีมวิจัย ตอบสนองนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก
นำทีมโดย รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง นักวิจัยโครงการฯ จนสามารถพัฒนาได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในอาเซียน โดยแบต เตอรี่ตัวนี้ สามารถ
- กักเก็บพลังงานทั้งจากแสงอาทิตย์ หรือจากกังหันลม
- แปลงมาเป็นกระแสไฟฟ้า แล้วเก็บในรูปแบบแบต เตอรี่
อันนี้ คือสิ่งที่จะมาช่วยในชีวิตประจำวันของเรา ในอนาคตพลังงานแบต เตอรี่เหล่านี้ก็จะถูกลง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน
ดร. ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการสำรวจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ พบว่า ประเทศไทยมีแหล่งแร่โปแตช หรือกลุ่มแร่ชนิดโซเดียมมักเกิดคู่กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณมากที่สุด และมีปริมาณสำรองแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทยมี 18 ล้านล้านตัน เป็นแหล่งแร่สำรองที่มีปริมาณมหาศาล
ซึ่งแร่ชนิดดังกล่าว เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแบต เตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน โดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาเทคโนโลยีเอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และมีแหล่งแร่พลังงานมหาศาล “โครงการนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในอาเซียน กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ส่งเสริมและผลักดัน เป้าหมายชาติต่อไป คือ เราต้องการสร้างอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ครบวงจร นำเกลือหินมาทำเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตแบต เตอรี่ อาจจะไปใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้เป็นตัวพลังงาน เพื่อทำสมาร์ทฟาร์มให้กับอุตสาหกรรมเกษตรต่อไป
เป้าหมายของกระทรวง คือ ผลักดันอุตสาหกรรมแบต เตอรี่ครบวงจรสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศ ความสำเร็จเหล่านี้ส่งผลให้อุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ อุตสาหกรรมการผลิตแบต เตอรี่แห่งอนาคต“
รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง นักวิจัย ผู้จัดการโครงการฯ เผยว่า ทีมวิจัยในโครงการได้ทุ่มเทกำลังสุดความสามารถ ร่วมกันทำงานจนประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาศึกษาวิจัยและทดลองแบต เตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบต เตอรี่ทางเลือก โดยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศทดแทนแบ ตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน ให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงเทียบเท่า ลิเธียมไอออนในราคาที่ถูกลงกว่า 30-40% ในสเกลที่เท่ากัน แบต เตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจะเข้าไปเป็นตัวเสริมในบางแอปพลิเคชั่นได้ดีกว่า และมีความปลอดภัยสูงกว่าด้วย
“อย่างไรก็ตาม ทางโครงการ ฯ ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตแบต เตอรี่ทางเลือก ในระดับเซลล์จากโรงงานแบต เตอรี่และพลังงานยุคใหม่ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และนำไปทดลองใช้งานจริงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ และระบบกักเก็บพลังงาน เช่น
- แบต เตอรี่สำหรับจักรยานไฟฟ้า
- แบต เตอรี่สำรองสำหรับระบบโซลาร์เซลล์
- ไฟส่องสว่าง
เรามีโมเดลการใช้พลังงานแบต เตอรี่จากโซเดียม คือ E – Bike ที่ประหยัดพลังงานและใช้งานได้จริง ในอนาคตทีมนักวิจัยมีแนวโน้มจะศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบต เตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน โดยให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงแบต เตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพสูง ราคาประหยัด คุ้มค่ามากที่สุด ผลักดันให้ไทยกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแบต เตอรี่ของโลกตามเป้าของกระทรวง ฯ ต่อไป”
ข้อมูล : kku
ข่าวที่เกี่ยวข้อง