ข่าวดี! ทีมวิจัยไทยพบ "จิ้งจก" นิ้วยาว 2 ชนิดใหม่ของโลก บนเกาะสมุย บริเวณป่าเขาหินแกรนิต ใกล้ลำธารบริเวณน้ำตกหินลาด
ข่าวที่น่าสนใจ
นับเป็นข่าวดีในวงการวิทยาศาสตร์อีกครั้ง เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยทักษิณ ค้นพบ “จิ้งจก” นิ้วยาว 2 ชนิดใหม่ของโลก บนเกาะสมุย และเกาะสิมิลัน
การค้นพบในครั้งนี้ ทีมวิจัยพบเจ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ในพื้นที่เขาหินแกรนิตใกล้ลำธารบริเวณน้ำตกหินลาด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบริเวณพื้นที่เขาหินแกรนิตใกล้ป่าชายหาดบริเวณอ่าวงวงช้าง ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
คณะนักวิจัยไทย ประกอบด้วย
- อาจารย์ ดร. นที อำไพ (ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
- รศ.ดร. อัญชลี เอาผล อาจารย์
- ดร. อรรถพล รุจิราวรรณ
- ดร. กอขวัญ เติมประยูร (ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- อาจารย์ ดร. ศิริพร ยอดทอง (ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ)
นักวิจัยต่างชาติ ประกอบด้วย
- Dr. Bryan L. Stuart จาก North Carolina Museum of Natural Sciences
- Dr. Perry L. Wood Jr. จาก Department of Ecology and Evolutionary Biology, University of Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา
จิ้งจ กนิ้วยาวสกุล Cnemaspis จัดอยู่ในกลุ่มจิ้ง จกและตุ๊กแกในวงศ์ Gekkonidae มีความหลากหลายสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายงานการค้นพบชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 21 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งจิ้ง จกนิ้วยาว 2 ชนิดใหม่ที่รายงานในครั้งนี้มีชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
- จิ้ งจกนิ้วยาวเกาะสมุย Cnemaspis samui Ampai et al. 2022
- จิ้ง จกนิ้วยาวเกาะสิมิลัน Cnemaspis similan Ampai et al. 2022
จิ้ง จกทั้ง 2 ชนิดมีแหล่งที่อยู่อาศัยย่อย (microhabitat) ที่คล้ายคลึงกันโดยอาศัยและดำรงชีวิตอยู่ตามซอกหิน (crevices) หรือเพิงหินแกรนิต (rock wall) ขนาดใหญ่ จากการสำรวจพบว่า ทั้ง 2 ชนิดนี้มีรูปแบบการดำรงชีวิตในช่วงเวลากลางวัน
- มีความรวดเร็วในการเคลื่อนบนพื้นผิวแบบหิน
- สามารถหลบหนีจากศัตรูผู้ล่าได้ดี
- มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เช่น
– การควบคุมจำนวนแมลง
– ช่วยรักษาสมดุลของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง