“นักวิชาการ” ฟันธงผู้บริโภคเสียประโยชน์ AIS ร้องศาลฯลดคลื่นความถี่สกัดTRUE-DTAC

"นักวิชาการ" ฟันธงผู้บริโภคเสียประโยชน์ AIS ร้องศาลฯลดคลื่นความถี่สกัดTRUE-DTAC

ตามติดเนื่องกับผลรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นจากการที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีมติเสียงข้างมาก รับทราบแผนการควบรวมกิจการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC พร้อมออกเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม

ล่าสุด รศ.ดร.สุชาติ ไตรภพสกุล อาจารย์ประจำ คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ความเห็น เกี่ยวกับสถานการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ท่ามกลางเสียงคัดค้านของสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่อ้างถึงจำนวนผู้สนับสนุน 2,022 รายชื่อ จากปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจริงราว 100 ล้านเลขหมาย (ข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 ) ว่า ปัจจุบันก่อนการควบรวมผู้ที่มีคลื่นมากที่สุดคือ AIS แต่หลังจากการควบรวมเสร็จสิ้น จะทำให้ผู้ประกอบการค่ายมือถือทั้งสองรายคือ AIS และ TRUE- DTAC ถือครองคลื่น รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการในจำนวนใกล้เคียงกัน

ดังนั้น กรณีที่มีกระแสข่าวว่าการมีการยื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อศาลปกครอง โดย บริษัท บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ในฐานะบริษัทย่อยของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ขอให้ศาลฯมีคำสั่งห้ามการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC โดยขอให้คู่แข่งลดจำนวนคลื่น จึงถือเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าจับตา เพราะมีการอ้างถึงคำร้องต่อศาลฯ ว่ามติของ กสทช.ขัดแย้งกับเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ในอดีต ในการห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ถือแบนด์วิธรวมของคลื่นความถี่ในหลายช่วงความถี่ เกินหลักเกณฑ์การจำกัดคลื่นความถี่ ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ทั้งที่จริง ๆ แล้วหลักการดังกล่าว ผู้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคือลูกค้าจะได้บริการที่ดี และที่สำคัญผู้เล่นทุกรายจะมีจำนวนคลื่นที่ใกล้เคียงกัน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.ดร.สุชาติ ย้ำด้วยว่า การที่ผู้นำตลาดเดิมก่อนควบรวม หรือ AIS ซึ่งถือคลื่นความถี่มากที่สุด เรียกร้องบอกให้รายเล็กกว่าต้องคืนคลื่นและจำกัดการใช้งานประโยชน์จากคลื่นความถี่ในการให้บริการประชาชนนั้น ในทางตรงข้ามอาจจะทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ และจะมีเพียงผู้นำตลาดเดิมที่จะได้ประโยชน์จากคู่แข่งที่ถูกตัดกำลังลง ดังนั้นหากวิเคราะห์ภาพใหญ่ในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว

หากมีการให้ผู้ควบรวมกิจการต้องคืนคลื่นความถี่ ก็ควรต้องกำหนด spectrum cap หรือ เพดานการถือครองคลื่นความถี่ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการดำเนินการในลักษณะนี้จะส่งผลให้ AIS ในฐานะผู้ให้บริการที่มีคลื่นถี่มากที่สุดต้องโดนกำกับด้วย ตามหลักการแข่งขันที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ทั้งนี้เพราะการให้รายเล็กกว่า คืนคลื่นความถี่เพื่อตนเอง ย่อมครองความได้เปรียมต่อไป เหมือนทำมาตลอด 30 กว่าปี อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องจับตามองถึงเกมการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของค่ายมือถือไทยกันต่อไปว่าใครคือผู้ได้ประโยชน์ตัวจริง

ทั้งนี้จากการตรวจสอบ พบว่า ที่ผ่านมา บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ เอไอเอส (AIS) ได้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านการรวมธุรกิจ TRUE – DTAC มาโดยตลอด เช่นเดียวกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค นำโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค อาทิเช่น เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2565 ได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ชี้แจงผลกระทบและผลเสียจากดีลควบรวมกิจการ TRUE-DTAC โดยระบุใจความสำคัญบางส่วนว่า ดีลควบรวมกิจการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด และต่อผู้บริโภคอย่างร้ายแรง ทั้งยังขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดสรรคลื่นความถี่ และขัดต่อหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ด้วย เพราะการปล่อยให้เกิดดีลการควบรวม “ จะทำให้ตลาดมีการกระจุกตัวสูง ส่งผลเสียต่อการแข่งขัน

 

และการอนุญาตให้เกิดดีลควบรวมกิจการจะก่อให้เกิดการกระจุกตัวของคลื่นความถี่ ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ในแต่ละครั้ง กสทช.ได้กำหนดจำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถประมูลถือครองได้ หากมีการอนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการกัน จะทำให้คลื่นความถี่ย่านต่างๆ ถือครองโดยบริษัทลูกอยู่ภายใต้ความเป็นเจ้าของของบริษัทแม่เดียวกันมีจำนวนที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 7 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก จว.ไหนบ้างเช็กเลย
นักวิเคราะห์ชี้ทรัมป์จ้องเล่นอินโดจีนเพราะสนิทจีน
"กรมศิลปากร" จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
"ก.แรงงาน" จ่อฟ้อง 21 บริษัท เรียกร้องเงินเยียวยา ผู้ประสบเหตุอาคาร สตง.พังถล่ม พร้อมดูแลญาติเหยื่อต่อเนื่อง 10 ปี
"ตร.ไซเบอร์" เปิด 4 ปฏิบัติการ รวบ 7 ผู้ต้องหาแก๊งลวงออนไลน์
"สรรพากร" ขยับแล้ว ส่งทีมร้อง ดีเอสไอ เอาผิด "ซิน เคอหยวน" พร้อมพวก ฉ้อโกงใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ครอบครัวสุดเศร้า จัดพิธีฌาปนกิจศพ "นายนอย" เหยื่อตึก สตง.ถล่ม
ฝรั่งเศสเล็งตอบโต้”การบริการออนไลน์”สหรัฐ
ผอ.แจงอาคาร สตง.พะเยา งบ 70 ล้านบาท สร้างได้ 30% ยันไม่ได้ทิ้งร้าง แต่ผู้รับเหมาทิ้งงานเอง
สภาเดือด! เถียงกันวุ่น ปมเลื่อนญัตติเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ-แผ่นดินไหว "วันนอร์" ลุกเรียกจนท.เข้าควบคุมเหตุ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น