“นายกฯ” เปิดฉากประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 แล้ว

"นายกฯ" เปิดฉากประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 แล้ว

วันที่ 18 พ.ย.65.-ตั้งแต่เวลา 07.45น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มารอให้การ ต้อนรับผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปคที่เข้าร่วมการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจ ครั้งที่ 29 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายแอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรี ออสเตรเลีย สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน บรูไนดารุสซาลาม นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรี แคนาดานายกาบริเอล โบริก ฟอนต์ ประธานาธิบดีชิลี /นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกานายสีจิ้น ผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น

จากนั้น ได้เป็นประธานเปิดการประชุม และร่วมการประชุม ภายใต้หัวข้อ “การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน (Balanced, Inclusive and Sustainable Growth)”

นายกรัฐมนตรี หวังว่า ผู้นำทุกประเทศมีความสุขกับค่ำคืนงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจที่ทางประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา และทุกคนจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมในครั้งนี้ หลังจากที่ไม่ได้พบหน้ากันถึง 4 ปี และการประชุมเอเปคต่อจากนี้ จะเป็นการร่วมมือกันฟื้นฟูและนำพาภูมิภาคนี้ไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น

สำหรับการหารือในวันนี้ จะหารือกันว่าเอเปคควรทำอย่างไร เพื่อจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน จนถึงปัจจุบันยังต้องต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และถูกซ้ำเติมจากความท้าทายของสถานการณ์โลก ที่สำคัญยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบ ไม่ใช่แค่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงมนุษยชาติทั้งหมด จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบและปกป้องโลกของเรา โดยไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป ดังนั้น ทุกคนจะต้องปรับมุม วิธีการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจแบบใหม่

นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าประเทศไทยได้นำแนวคิดเศรษฐกิจBCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติมาเป็นยุทธศาสตร์ ในการฟื้นฟูจากผลกระทบ โควิด-19 และเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนา และการเติบโตในระยะยาว ที่เข้มแข็ง สมดุล ยั่งยืนและครอบคลุม

โดยย้ำว่าเศรษฐกิจBCG จะประสานแนวคิดเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวเข้าด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

เศรษฐกิจชีวภาพ เกี่ยวข้องกับการผลิตที่เน้นการนำเทคโนโลยีนวัตกรรม มาสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้า ที่เป็นทรัพยากร และวัตถุดิบชีวภาพ ที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป

สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นระบบการผลิตและการบริโภคสินค้า บริการแบบฟื้นสร้าง โดยมีการวางแผนและการออกแบบระบบ ให้ความสำคัญกับการลดขยะ ในขณะเดียวกัน ต้องพยายามใช้วัตถุดิบซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ส่วนเศรษฐกิจสีเขียว คือการส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และแนวคิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งสร้างผลกำไรควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนและสังคมด้วย โดยแนวทางทั้งสาม ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจBCG แตกต่างออกไปคือการตระหนักว่าความท้าทาย หลากหลายที่ผสมอยู่ เชื่อมโยงคาบเกี่ยวกัน ดังนั้นการแก้ปัญหา จึงจะต้องไม่เป็นแบบแยกส่วน ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจBCG จึงให้ความสำคัญ และไทยผลักดันสามแนวทางดังกล่าวอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเป็นผลลัพธ์ที่มีผลทวีคูณและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง

นายกรัฐมนตรี หวังว่าการสร้างความร่วมมือและการมีความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG เป็นรูปธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และฟื้นความสมดุล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นไทยเชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจBCG มีความเป็นสากล

ดังนั้นการที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ไทยจึงขอเสนอแนวคิดนี้ เข้าสู่การพูดคุยกันในกรอบการประชุม ไม่ว่าจะเป็นแนวทาง การบรรลุเป้าหมาย ด้านความยั่งยืนและสภาพพูมิอากาศ และทำให้ความพยายามของเอเปคในการขับเคลื่อนภูมิภาคไปข้างหน้า ตอบสนองความท้าทาย ที่เร่งด่วนในปัจจุ บัน บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจBCG

ข่าวที่น่าสนใจ

ไทยยังได้ ริเริ่มการจัดทำเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นผลลัพธ์แห่งความจดจำ สำหรับการประชุมเอเปค 2565 โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ จะเป็นกรอบแนวทาง ผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเปคอย่างชัดเจน พลิกโฉม สมดุล และ ทะเยอทะยาน โดยมุ่งหวัง ขับเคลื่อนงานภายใต้ 4 เป้าหมายได้แก่

  • 1.สนับสนุนความพยายาม การเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศ
  • 2.ขับเคลื่อนการค้าการลงทุนอย่างยั่งยืน
  • 3.ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ
  • 4. ปรับปรุงประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรเพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์

ดังนั้น ไทยจึงขอขอบคุณที่ผู้นำเศรษฐกิจ ที่จะสนับสนุนเป้าหมาย กรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจBCG จนบรรลุฉันทามติด้วยดี และหวังว่า ผู้นำทุกคนจะได้ ร่วมกันรับรองเอกสารสำคัญดังกล่าวในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นมรดกสำคัญของการประชุมเอเปค ประจำปี 2565 เพื่อต่อยอดเป้าหมายกรุงเทพฯ จึงอยากเสนอให้ทุกคนหารือกันว่า แนวคิดเศรษฐกิจ BCG จะสามารถแปลงวิสัยทัศน์และทิศทางตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์ปุตราจายา ของเอเปค ค.ศ. 2040 และแผนปฎิบัติการ ROTROR ไปสู่การดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืน สำหรับคนรุ่นหลัง ดังนั้นเอเปคต้องมองให้ไกล กว่าการฟื้นตัวของการระบาด โควิด-19 ไปสู่การฟื้นสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน ในฐานะกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจชั้นนำของเราและ แหล่งบ่มเพาะทางความคิด โดย เอเปคจะเร่งสร้างการเติบโตที่มีคุณภาพ เอื้อประโยชน์ทุกคนอย่างเป็นรูปธรรมแก่ทุกคนในระยะยาว แล้วเราจะร่วมมือให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจ ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และเราจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชน ของเราปรับมุมมองและเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นผู้บริโภค และพลเมืองของโลกที่มีความรับผิดชอบ ได้อย่างไร จึงขอรับฟังความคิดเห็นของผู้นำเศรษฐกิจทุกท่าน

สำหรับตลอดทั้งวันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังจะหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปคกับ แขกพิเศษ (APEC Leaders’ Informal Dialogue with Guests) ภายใต้หัวข้อ“การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืนระหว่างเอเปคกับหุ้นสว่น ด้านการค้า ประกอบด้วยประเทศฝรั่งเศส กัมพูชาและซาอุดิอาระเบีย

นอกจากนี้ นายกฯจะหารือทวิภาคีกับ Ms. Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนกํารเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF

จากนั้นจะเป็นการหารือระหว่างอาหารกลางวันระหว่างผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค กับแขกพิเศษ(WorkingLunch)ภายใต้หัวข้อ“การส่งเสรมิการ เจริญเติบโตที่ครอบคลุมในช่วงเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติเงินเฟ้อ”

ส่วนช่วงบ่าย เป็นการการหารือระหว่างผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปคกับสภาที่ปรึกษา ทางธุรกิจเอเปค หรือ ABAC (เอแบค) โดย
ช่วงหารือเต็มคณะ ABAC Chair จะนำเสนอรายงานประจำปีต่อผู้นำ
เขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งนายกฯจะกล่าวตอบเกี่ยวกับความคาดหวัง และแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้าง การเจริญ เติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม

ต่อด้วยการหารือกลุ่มย่อย แบ่งออกเป็น 5กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ผู้นำ 4 เขต เศรษฐกิจ และผู้แทน ABAC 10 คน โดยแต่ละกลุ่มหารือในหัวข้อ เดียวกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะเดินรับฟังผลสรุปแต่ละกลุ่ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น