ก่อนสอด “บัตร ATM” กด Cancel 2 ครั้งป้องกันมิจฉาชีพจริงหรือ

บัตร ATM

ก่อนสอด "บัตร ATM" โซเชียลแห่เตือนภัยให้กด Cancel 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ

“บัตร ATM” บัตรเอทีเอ็มเตือนภัย 2565 มิจฉาชีพ ธนาคาร มิจฉาชีพได้ข้อมูลส่วนตัว แฮก บัตรเอทีเอ็ม หยุดส่งต่อความเชื่อผิด ๆ หลังชาวเน็ตแห่แชร์ข้อมูลว่า กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มจะได้ป้องกันมิจฉาชีพ งานนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ การกด Cancel ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาปลอดภัยแต่อย่างใด ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ระบุข้อความว่า ตามที่มีข้อความเผยแพร่ในประเด็นเรื่องกด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตร ATM เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

กรณีเตือนภัยเรื่องการเงินโดยระบุแนะนำว่าให้กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มเพื่อป้องกันการสกิมเมอร์ของมิจฉาชีพ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงประเด็นนี้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีการเผยแพร่มาก่อนหน้านี้หลายปีและถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำเพื่อสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนอีกครั้ง

 

 

บัตร ATM

 

 

โดยจากการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง พบว่าไม่เป็นความจริง การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของกระบวนการทำงานบนระบบเอทีเอ็มแต่อย่างใด 

 

เนื่องจากสกิมเมอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จากภายนอก มีกระบวนการหลัก ๆ 2 อย่าง คือ ดักข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม และดักรหัสบัตร โดยการทำปุ่มกดปลอม และเครื่องอ่านบัตรปลอมขึ้นมา แล้วนำไปประกบทับกับอุปกรณ์ของจริงบนตู้เอทีเอ็ม โดยเครื่องอ่านบัตรปลอมจะอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนตัวบัตร แล้วคัดลอกข้อมูลลงในหน่วยความจำ

 

 

บัตร ATM

 

 

 

และเมื่อผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม ใช้เครื่องกดเงินที่มีการติดตั้งสกิมเมอร์ เพื่อทำรายการถอนเงิน ข้อมูลของบัตรนั้นจะถูกบันทึกไว้ และถูกส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของมิจฉาชีพทันที ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลที่ขโมยได้ไปใช้ทำเอทีเอ็มปลอม เพื่อทำรายการถอนเงิน โดยวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่ได้ผลคือ หมั่นสังเกตบริเวณช่องสอดบัตร และแป้นกดตัวเลขว่ามีอะไรแปลกปลอมมาครอบทับหรือไม่ หากมีสิ่งผิดปกติไปจากเดิมควรหลีกเลี่ยงและแจ้งหน่วยงานธนาคารนั้น ๆ

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 1213

 

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ กระบวนการทำงานบนระบบ ATM แต่อย่างใด

 

 

บัตร ATM

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Anti-Fake News Center Thailand

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น