จบแน่ปัญหาหนี้ BTS กว่า 4 หมื่นล้าน ถึงเวลา”นายกฯ-มท.1″ เลิกฟัง “ชัชชาติ” แล้วเดินหน้า กล้าตัดสินใจ!

จบแน่ปัญหาหนี้ BTS กว่า 4 หมื่นล้าน ถึงเวลา"นายกฯ-มท.1" เลิกฟัง"ชัชชาติ" แล้วเดินหน้า กล้าตัดสินใจ!

ถือเป็นปัญหายืดเยื้อมานานเกือบ 4 ปี หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 44 เดินหน้าสะสางปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3/2562 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 แต่ปรากฎว่ากรณียังไม่มีคืบหน้าใด ๆ จากการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี

ในทางตรงข้าม หลังจากกระทรวงมหาดไทย ส่งเรื่องให้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ร่วมแสดงความเห็นแนวทางการแก้ไขหนี้ค้างชำระ และ การบริหารจัดการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผลสุดท้ายยังคงไม่มีข้อสรุปใดๆ เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการหาทางออก เรื่องมูลหนี้ จากการว่าจ้างให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย

ทั้ง ๆ ที่ ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 ให้ กทม. และ บริษัทกรุงเทพธนาคม ชำระหนี้จำนวนกว่า 2 หมื่นล้าน ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ไม่นับรวมหนี้ค้างชำระ อีกกว่า 2 หมื่นล้าน สำหรับค่าติดตั้งงาน ระบบไฟฟ้า/เครื่องกล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ทั้ง 2 ช่วง หรือช่วงแรก จาก สะพานตากสิน -บางหว้า และช่วงอ่อนนุช –แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 จาก หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และ แบริ่ง-สมุทรปราการ

 

กระทั่ง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้ตัดสินใจแพร่คลิปความยาวกว่า 2 นาที ในหัวข้อ “คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน … ทำงานแต่ไม่ได้เงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน …ผู้มีอำนาจโยนไปโยนมา ไร้การตัดสินใจ ถึงเวลาเข้ามาจัดการปัญหา อย่าหนีปัญหา …อย่าปล่อยให้เอกชนสู้เพียงลำพัง ถึงเวลาจ่ายหนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 40,000 ล้าน”

โดยช่วงหนึ่ง นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ระบุ “ถึงเวลาจ่ายเงินที่ควรจ่าย 3 ปีกว่า จำนวนเงิน 40,000 กว่าล้าน เพราะเอกชนผู้ลงทุน จ่ายทุกวัน พนักงานก็ต้องจ่าย ค่าไฟต้องจ่าย ผู้ที่มีอำนาจ บริหารประเทศอยู่ ไม่ว่าจะเป็น กทม. หรือการเมืองของประเทศ ต้องเข้ามาดูได้แล้ว

ดอกเบี้ยขึ้นทุกวัน ท่านใดที่อยู่ในอำนาจควรคิดได้แล้วว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียไป ยังไงก็ต้องจ่ายผม มันเป็นสิ่งที่ใครเสียหาย ผมเชื่อว่าประชาชน ภาษีเราเสียหาย อย่าปล่อยให้มันลอยไปลอยมาอย่างนี้

อย่างไรก็ตาม นายคีรี เน้นย้ำว่า สิ่งหนึ่งที่เราไม่ทำอยู่อย่างเดียวก็คือ เราจะไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ผมรับปากกับประชาชน ว่าผมจะไม่ยอมหยุดรถ เพราะหยุดรถนี่ ความเสียหายเกิดกับประชาชน ไม่ได้เกิดกับผมอย่างเดียว ไม่ได้เกิดกับนักการเมืองคนไหน ผมเชื่อว่าผู้โดยสารของผม ซึ่งผมก็ต่อสู้ให้ท่านทุกวันนี้ คงเข้าใจผม”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา นายชัชชาติ จะพยายามนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือกับสภากทม. แต่ถูกปฏิเสธชัดเจนว่า ไม่ใช่อำนาจของสภากทม. แต่เป็นอำนาจโดยตรงของกระทรวงมหาดไทย ตาม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3/2562 และ มาตรา 44 แห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

และรวมถึงล่าสุด จากการที่ผู้บริหาร บีทีเอส จะนำเสนอข้อเท็จจริง เกี่ยวกับปัญหาหนี้ค้างจ่ายของกทม. แต่นายชัชชาติ กลับปฏิเสธจะดำเนินการตามคำสั่งศาลปกครองกลาง โดยอ้างว่า กทม.จะชำระค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภายใต้ข้อบัญญัติ กทม. เพราะการสร้างภาระหนี้ผูกพันงบประมาณ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม.ก่อน

พร้อมระบุว่า สภา กทม.ยังไม่ได้เห็นชอบทำสัญญาจ้างเดินรถ และติดตั้งงานระบบ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จึงมีการทำหนังสือเพื่อสอบถามทางสำนักงานเลขาธิการสภา กทม.ว่า ส่วนนี้ผ่านการอนุมัติจากสภา กทม.แล้วหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ต้องมีการทำสัญญาใหม่ให้เรียบร้อยก่อน

ส่วนมูลหนี้จากส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 เหลือเพียงแต่ให้ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้ดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2562 สำหรับการนำมูลหนี้ไปรวมกับการต่อสัญญาสัมปทาน และยืนยันว่ากทม.ไม่ได้มีปัญหา เพราะเป็นหนี้ก็ต้องจ่าย แต่ต้องเป็นหนี้ที่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

 

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นอีกครั้่งที่นายชัชชาติ พยายามบิดพลิ้วเงื่อนไขการชำระหนี้ ทั้งที่ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 ในการประชุมสภา กทม. ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. สมาชิกสภา กทม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีการอภิปรายถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมาแล้ว และมีข้อสรุปตรงกันว่า กทม.ไม่มีสถานะจะจัดงบประมาณมาชำระหนี้จำนวนหลายหมื่นล้านให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC

โดย นายธวัชชัย ฟักอังกูร สมาชิกสภา กทม. อภิปรายว่า ภายหลังจากที่ กทม. ได้รับโอนโครงการสายสีเขียวจาก รฟม. ทำให้ กทม.ต้องจ่ายหนี้อีกกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งการบริหารโครงการและการพิจารณาอัตราค่าโดยสา ร ต้องไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ทั้งนี้ สถานะกำไรอาจเกิดขึ้นได้ในอีก 15 ปีข้างหน้า และภาระหนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนวทางการชำระหนี้ โดยให้ กทม.ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าเป็นการถ่ายโอนภารกิจมาให้ กทม.

ส่วนนายอภิรัตน์ ศิวพรพิทักษ์ สมาชิกสภา กทม. กล่าวว่า มีทางเลือกให้ กทม.ดำเนินการ ดังนี้

1. กทม.ควรประมูลใหม่โดยดำเนินการตามสัญญาข้อ 27 โดย BTS จะเป็นรายแรกที่ได้รับโอกาสในการพิจารณา

2. กทม.เลือกที่จะไม่ต่ออายุสัญญา โดยภายหลังหมดอายุสัมปทานในปี 2572 กทม.จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งระบบ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการทั้งหมดโดยจ้าง BTS

3.ขยายสัมปทานให้ BTS เป็น 30 ปี (2572-2602) อย่างไรก็ตามทุกทางเลือกมีทั้งข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผลกระทบจะมีต่อการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่ง กทม.จำเป็นต้องเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง

 

 

ทางด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ระบุ ส่วนตัวเห็นว่าแนวทางที่ 3 การขยายสัมปทานให้เอกชนเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่รายละเอียดการพิจารณาเรื่องสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้ส่งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี

และนี่คือข้อมูลของปัญหาทั้งหมด ที่ทุกฝ่ายต้องการเห็นการตัดสินใจที่เด็ดขาดของของภาครัฐ ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เพราะถึงสุดท้าย นายชัชชาติ ในฐานะผู้ว่าฯกทม. ก็ไม่มีวิธีการอื่นใดในการจะหาเงินงบประมาณมาชดใช้่หนี้กว่า 4 หมื่นล้านบาทให้กับ BTSC

ด้วยเพราะ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3/2562 ได้มอบอำนาจรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อย่างเต็มที่ สำหรับดำเนินการเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว จนให้ได้ข้อสรุป

ตามเนื้อหาของคำสั่ง ข้อ 6 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า การดำเนินการจนได้ผลการเจรจาเป็นที่ยุติ และร่างสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขแล้ว ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการ่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในส่วนของการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนแล้ว

ให้กรุงเทพมหานครเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุน ฉบับแก้ไขต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาดังกล่าว และเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนำเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับร่างสัญญาร่วมลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องคืนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาทบทวนและเสนอความเห็นประกอบเรื่องทั้งหมดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ หากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างสัญญาร่วมลงทุน ให้ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย โดยให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ให้กรุงเทพมหานครลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขต่อไป

เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนตามบทบัญญัติในส่วนที่ 3 การกำกับดูแลโครงการร่วมลงทุน หมวด 4 การจัดทำและดำเนินโครงการแห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป

หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับร่างสัญญาร่วมลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องคืนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาทบทวนและเสนอความเห็นประกอบเรื่องทั้งหมดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

ทั้งนี้ หากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างสัญญาร่วมลงทุน ให้ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย โดยให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ให้กรุงเทพมหานครลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขต่อไป

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย
"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
อย.ตรวจพบสารอันตรายใน อาหารเสริม “กัมมี่” แบรนด์ดัง เร่งดำเนินคดีตามกม.ผู้ผลิต
กระบะสี่ประตูถอยชนกระบะแคปในปั้มน้ำมันแล้วหนีไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น สาววัย 41 ปี เจ้าของกระบะแคปหวังเพียงคำขอโทษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น