“ประวิตร” สั่งกวาดล้างแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้หมดสิ้น

“ประวิตร” สั่งเร่งปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ย้ำ กวาดล้างต้มตุ๋นออนไลน์ให้หมดสิ้น กำหนดแนวทางดำเนินการเร่งด่วนให้เสร็จใน 3 เดือน

วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2565) เวลา 10.00 พฤศจิกายน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ เป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) โดยมีผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ เปิดเผยว่า พลเอกประวิตร มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จากการหลอกลวงของ แก๊งคอลเซนเตอร์ การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการดำเนินการเร่งด่วน โดยกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน อาทิ การให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศ หรือข้อบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ระงับช่องทางการทำธุรกรรมออนไลน์กับบัญชีต้องสงสัย การกำหนดให้การโอนเงิน Mobile Banking ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ต้องใช้ซิมโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนเท่านั้น การให้ กสทช. ออกมาตรการในการลงทะเบียนซิม การพัฒนาต่อยอด application เป๋าตัง การให้ ปปง. แก้ไขกฎกระทรวง เรื่องการกำหนดจำนวนเงินสดในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อ ปปง. และการให้ ปปง.กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินต้องดำเนินการเมื่อตรวจพบบัญชีม้า

นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการดำเนินการในระยะถัดไป ได้แก่ การจัดให้มีการระบุตัวตน biometrics ของผู้เปิดและใช้บัญชีตั้งแต่เริ่มแรกและต่อมาเป็นระยะเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลถูกต้องแท้จริงและเป็นปัจจุบัน การเสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อาทิ การออก พรก. แก้ไขปัญหาบัญชีม้า และการผลักดันให้ผู้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยให้ใช้ ip version 6 เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคลและสถานที่

โดยในปี 2565 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับแจ้งความคดีออนไลน์ จำนวน 127,995 เรื่อง แบ่งเป็นคดีออนไลน์จำนวน 22 ประเภท โดยเป็นกรณีหลอกลวงซื้อขายสินค้าสูงสุดเป็นอันดับ 1 จำนวน 47,111 คดี การโอนเงินเพื่อหารายได้จากกิจกรรม จำนวน 17,364 คดี และการหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้รับเงิน จำนวน 15,301 คดี

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ เน้นย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญที่จะปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและเร่งบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อการข่มขู่หรือเชิญชวนลงทุนต่างๆ และอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับผู้อื่นโดยง่าย และหากตกเป็นผู้เสียหายให้รีบแจ้งความที่สายด่วน 1441 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น