ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน สำหรับอนาคตโครงการรถไฟฟ้าสายสีขียว ล่าสุด นายสันติสุข มะโรงศรี ผู้ประกาศ TOP NEWS ระบุว่า กรณีนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึง มท.1 อย่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ต้องตัดสินใจ หลังจากเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2565 ทางแฟนเพจรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงคลิปทวงหนี้กว่า 4 หมื่นล้านบาท และกับคลิปนี้ ใครที่ใช้รถไฟฟ้า ใครที่ได้เห็น คงจะรู้สึกได้ว่า นี่คือภาระที่หนักอึ้งที่เอกชนแบกอยู่ แล้ววันที่ 22 พ.ย. 2565 ทางกทม. ได้มีการแถลงข่าว โดยนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประเด็น อ้างว่า กทม.ให้ความเห็นที่มหาดไทยขอมา 3 ข้อ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. ฝ่ายบริหารของกทม.เห็นพ้องด้วย นโยบายที่เดินรถเจ้าเดียวตลอดสายสีเขียว ประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อน และเห็นควรให้รัฐบาลหนุนงบงานติดตั้งระบบการเดินรถโครงสร้างพื้นฐาน เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 62 แล้วหาข้อยุติของครม. ตามคําสั่ง คสช. ให้ชัดเจน
คือ กลายเป็นไปโยนภาระให้ครม. แล้วโทษครม.ด้วยซ้ำ ให้หาข้อยุติของครม.เอง เรื่องคำสั่งหัวหน้าคสช. ซึ่งประเด็นนี้ก็จริง เพราะคำสั่งหัวหน้าคสช. ระบุชัดเลยว่า มาตรา 44 ที่ดำเนินการอยู่ คนที่ต้องทำคือ รัฐมนตรีมหาดไทย ไม่ใช่ผู้ว่าฯ กทม.
นี่เขาตอกกลับเลยนะ เขาตอกกลับไปที่รัฐมนตรีมหาดไทยเลย เพียงแต่ในเนื้อหายังไปเล่นแง่ว่า ควรจะทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2562 ซึ่งนั่นเป็นเรื่องระดับรัฐบาล แต่นี่ไปสอนรัฐบาล แล้วก็ตอกกลับมหาดไทย เพราะเป็นคำสั่งมาตรา 44 ที่มหาดไทย มท.1 ต้องเป็นคนดำเนินการ
นายวิศณุ ได้พูดเรื่องจะจ่าย หรือไม่จ่ายอย่างไรเรื่องหนี้ ว่า “ศาลปกครองได้มีคำตัดสินไปแล้ว สัญญาเดินรถ ที่ให้เอกชนเดินรถมีสภาพบังคับ ทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 พูดก็เหมือนพูดซ้ำ อ้างว่า มีเงินจ่าย กทม.มีเงินอยู่กว่า 7 หมื่นล้านบาท อันนี้ กรรมยิ่งเป็นเครื่องชี้เจตนา มีเงินแล้วตอนนี้ยังไม่จ่าย โดยอ้างว่าต้องตรวจสอบก่อน ต้องผ่านสภากทม.ก่อน แต่ที่ศาลตัดสินไปแล้ว แม้ว่าคดีไม่ถึงที่สุด เพราะดอกเบี้ยมันจะเดินตลอดงัย ดอกเบี้ยที่เดินวันหนึ่ง ตามการคำนวณถ้าเกิดว่ายอด 4 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ยบีทีเอสประมาณ 20 ล้านบาทต่อวัน ไม่นับดอกเบี้ยเงินกู้ของรฟม.อีก 4 ล้านบาทต่อวัน คำถามคือ ใครรับผิดชอบ”
ส่วนเรื่องที่ไปตั้งแง่ว่า ทำตามมาตรา 44 กลัวจะมีปัญหาไม่ถูกต้อง สิ่งที่รมว.มหาดไทย ต้องกลับไปดำเนินการ คือ ต้องกลับไปดูว่า แล้วกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาตรา 44 เหมือนกัน แล้วลงนามกันไปเรียบร้อย เหมือนกัน ไม่ต่างกันเลย แล้วแถมไม่มีภาระหนี้ แบบบีทีเอส ที่ไปติดหนี้บีทีเอสอยู่ด้วย ต้องการให้เดินรถต่อเนื่อง
แล้ววิธีคิดว่า มีปัญหาเรื่องการเจรจาเรื่องหนี้ต่างๆ นาๆ แล้วมีการมาเจรจาขยายสัญญาณ เคยมีการทำมาก่อนหรือไม่ ในยุครัฐบาลที่พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั่นคือมี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM รัฐบาลก็ให้ไปเจรจากัน อ้างว่ามีค่าโง่ แล้วจริงๆ ค่าโง่ที่ยกขึ้นมาอ้างบางเรื่อง ยังไม่เป็นค่าโง่ด้วย เอาไปเจรจา แล้วขยายสัญญา