“ดร.สามารถ” แนะ “นายกฯตู่-บิ๊กป๊อก” เลิกโยกโย้ เร่งจบปัญหารถไฟฟ้า BTS

"ดร.สามารถ" แนะ "นายกฯตู่-บิ๊กป๊อก" เลิกโยกโย้ เร่งจบปัญหารถไฟฟ้า BTS

สืบเนื่องจากการที่ นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมาแถลงความคืบหน้าการชำระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง โดยระบุว่าอำนาจการตัดสินใจทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ กทม. แต่อยู่ที่กระทรวงมหาดไทย และครม. ในการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เนื่องจาก กทม. ได้ให้ความเห็นที่กระทรวงมหาดไทยขอมาจำนวน 3 ข้อไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา

และหากที่ประชุม ครม. มีการพิจารณาและมีมติให้ขยายสัมปทาน ทุกอย่างจะไปเป็นตามสัญญาใหม่ที่เอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ถ้า ครม.ไม่อนุมัติขยายสัญญาสัมปทาน กทม.ที่จะต้องนำเรื่องกลับมาพิจารณาใหม่ ให้เป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมี 2 วิธี ได้แก่ 1.ให้สภา กทม.ให้สัตยาบันย้อนหลัง เรื่องสัญญาจ้างเดินรถและสัญญาติดตั้งระบบ และ 2. หากสภา กทม.ไม่ให้สัตยาบัน ก็ต้องรอคำตัดสินอุทธรณ์ของศาลปกครองว่าจะพิจารณาอย่างไร

ส่วนสาเหตุที่ กทม. ยังไม่มีการชำระหนี้สินให้แก่เอกชนนั้น ในส่วนต่อขยาย 1 นั้น นายวิศณุ อ้างว่า เนื่องจาก คสช.ได้มีคำสั่งให้นำภาระหนี้ ไปคิดคำนวนร่วมกับการต่อสัญญาสัมปทาน ทำให้กทม.หยุดจ่ายเงินให้แก่เอกชน เพราะภาระหนี้ส่วนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาสัมปทาน ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 2 นั้น ในส่วนของสัญญาที่ยังมีความไม่ครบถ้วน และไม่ได้รับการพิจารณาจากสภากทม.

ส่วนข้อคำถามถึงกรณีศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ทางกรุงเทพมหานครชำระหนี้ นายวิศณุ กล่าวว่า เบื้องต้น กทม.ได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เนื่องจากมูลค่าหนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ค่าดอกเบี้ย โดยกทม.ไม่มีเจตนาจะไม่ชำระหนี้ และสัญญาที่ กทม. ทำไว้กับ เคที ไม่ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ ทางผู้บริหารกทม. เห็นว่า เคทีควรมีการจ้างที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบ คิดค่าคำนวณค่าจ้างใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งอาจทำให้ยอดหนี้เปลี่ยนไปไม่ตรงกับที่บริษัทเอกชนฟ้องร้องก็ได้

พร้อมยืนยันว่า เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของเอกชน เพียงแต่การดำเนินการจะต้องเป็นไปตามกฏหมาย และไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่จ่ายหนี้ให้กับเอกชน และต้องรอ มติ ครม. ก่อนจึงจะดำเนินการได้ ส่งนกระทรวงมหาดไทย จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.เมื่อใดนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

 

ล่าสุด ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่ง ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOP NEWS ถึงแนวทางการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ว่า จากถ้อยแถลงทั้งหมดชี้ชัดเรื่องแก้ปัญหาหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่าด้วยการพิจารณาขยายสัญญาสัมปทานหรือไม่ ถือเป็นประเด็นสำคัญในการที่กระทรวงมหาดไทย นายกรัฐมนตรี รวมถึง คณะรัฐมนตรี จะต้องเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด

เพราะหากไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เอกชนได้ ก็ควรต้องพิจารณาการขยายสัญญาสัมปทานให้แก่เอกชน จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ใช่โยนเรื่องกันไปมา หรือ โยนเรื่องกลับไปให้ กทม.พิจารณา ที่สำคัญนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวคสช. ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่ต้น ควรจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนแบกรับปัญหามาถึง 3 ปี เช่นนี้

“ถึงเวลาแล้วที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะต้องตัดสินใจนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม. และไม่โยนเรื่องกลับไปให้กรุงเทพมหานครอีก เพราะจะทำให้เป็นการเเก้ปัญหาที่ไม่จบ และต้องพิจารณาถึงข้อเสนอของกทม. ว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องหาทางออกที่ดีที่สุดให้ทุกฝ่าย”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยในส่วนของข้อเสนอของกทม.นั้น ประกอบไปด้วย 1. ขอให้รัฐบาลช่วยในเรื่องค่างานโยธาที่รับมาจาก รฟม. วงเงินประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท 2. ขอให้รัฐบาลช่วยในเรื่องของค่าระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 7.5 หมื่นล้านบาท เหล่านี้เป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องพิจารณาว่าสามารถให้การช่วยเหลือได้หรือไม่ รวมถึงในส่วนของภาระหนี้ค่าจ้างเดินรถ อีกกว่า 2 หมื่นล้าน ที่ต้องการให้ ครม. ช่วยหาทางออกให้แก่กทม.

“จากข้อเสนอของกทม. หากรัฐบาลให้การช่วยเหลือไปแล้ว ตนเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะยังไม่จบลง เนื่องจากในการเปิดประมูลใหม่ หลังจากจบสัญญาสัมปทานในปี 2572 ก็จะติดสัญญาจ้างการเดินรถส่วนต่อขยายถึงปี 2585 ดังนั้นในเวลานี้ มท.1 จะต้องเร่งเเก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า นอกจากการต่อสัญญาสัมปทานให้บีทีเอสซี จะมีทางออกอื่นอีกหรือหรือไม่ หากไม่พบทางออกอื่นก็ต้องต่อสัมปทานให้แก่บีทีเอสซี ไปอีก 30 ปี จนถึง 2602

 

และเห็นว่าในเรื่องนี้ ทั้ง มท. 1 และนายกรัฐมนตรี จะต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และกล้าที่จะเดินหน้า และต้องย้ำว่า อย่าโยนเรื่องนี้กลับไปให้กทม. เพราะกทม. ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และเกินอำนาจของกทม.ที่จะดำเนินการได้แล้ว กับภาระหนี้ที่เกิดขึ้นกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรากฎว่าข้อเสนอของกทม.ส่งกลับไปยังมหาดไทย คือ การให้ รัฐบาลช่วยเหลือทั้งหมด ”

 

ส่วนการแก้ปัญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นระยะเวลานาน ดร.สามารถ แสดงความเห็นว่า กระทรวงมหาดไทยควรนำเรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้าสู่ที่ประชุม ครม.โดยเร็วที่สุด และไม่ควรยืดเยื้อไปจนมีการเลือกตั้งใหม่ อีกทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ควรโอนส่วนขยายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กลับไปให้ รฟม. ดำเนินการ เพราะคาดว่ารูปแบบการแก้ปัญหาจะเป็นเหมือนในอดีต อาทิ การที่รฟม. เลือกปฏิบัติกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ขณะที่ประเด็นข้อกฎหมาย ส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งผู้บริหารกทม. อ้างว่าทางบริษัทกรุงเทพธนาคม หรือ เคที ไปว่าจ้างบีทีเอสซี ให้เดินรถไฟฟ้า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหนังสือมอบหมายงานให้เคที ดร.สามารถ อธิบายว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่ง คสช. 3/2562 ซึ่งให้กทม. ไปว่าจ้างเอกชนเดินรถ และการดำเนินการดังกล่าว มีคำสั่งคสช.คุ้มครองอยู่แล้ว ส่วนสาเหตุที่กทม.กังวลว่าการดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นั้น มีข้อเท็จจริงว่า สัญญาดังกล่าวได้มีคำสั่งศาลปกครองกลาง ให้กทม.ชำระหนี้ให้บีทีเอสซี ซึ่งแสดงว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

และจากการที่เอกชนออกมาทวงหนี้ กทม. อีกครั้ง ดร.สามารถ มองว่า เป็นเรื่องชอบธรรม เพราะที่ผ่านมากว่า 3 ปี บีทีเอสซี ยังไม่ได้รับเงินจากการรับจ้างเดินรถไฟฟ้า ซึ่งในแง่ของการทำงานทุกคนหวังที่จะได้รับเงินค่าจ้างทั้งนั้น และที่ตนเองประทับใจมากที่สุด คือการที่บีทีเอสซี ออกมาให้คำมั่นว่า จะไม่หยุดเดินรถเด็ดขาด และส่วนตัวยังมองไม่ออกว่า หากถึงวันหนึ่งที่เอกชนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จะเป็นอย่างไร เพราะคงไม่มีเอกชนรายใดจะทนทำงานโดยไม่ได้รับเงินค่าจ้างยาวนานได้เช่นนี้ ส่วนตัวจึงอยากฝากไปยัง นายกรัฐมนตรี ว่าควรเร่งพิจารณาเรื่องนี้ เพื่อหาทางออกที่ดี และไม่ควรโยนเรื่องกลับไปยังกทม. หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็ให้ต่อสัญญาสัมปทานให้แก่เอกชน

นอกจากนี้ ดร. สามารถ ยังระบุถึงการแก้ปัญหาโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม. อ้างต้องให้รอมติ ครม. ชี้ขาดก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ ว่า สิ่งที่ กทม. ดำเนินการ ส่วนตัวมองเห็นถึงความย้อนแย้ง โดยเฉพาะการที่ กทม. ออกมาระบุ จะต้องรอมติครม. แต่ในการตอบความคิดเห็นกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกทม. กลับไม่ได้ระบุเรื่องนี้ลงไป มีเพียงเรื่องการขอให้รัฐบาล รับผิดชอบค่าโครงสร้างพื้นฐาน และค่าจ้างให้บริการเดินรถเท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น