"เงิน สงเคราะห์ บุตร" พฤศจิกายน 2565 โอนกี่โมง เงินไม่เข้าทำอย่างไร เช็คสิทธิ ประกันสังคม รู้หรือไม่ รับได้ง่าย ๆ ผ่านพร้อมเพย์ ขั้นตอนลงทะเบียน ครบ จบ ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“เงิน สงเคราะห์ บุตร” ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 สามารถยื่นขอรับ เงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม ได้ 800 บาทต่อเดือนต่อคน คราวละไม่เกิน 3 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เงื่อนไขการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร
- เป็น ผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ มาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
- เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
- ผู้ประกันตน พ่อ หรือ แม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ
เอกสารที่ต้องใช้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- กรณีผู้ประกันตน หญิง ใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- กรณีผู้ประกันตน ชาย ใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- กรณีเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ด้วย
- กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
* หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้
- เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
- กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
สถานที่ยื่นเรื่องลงทะเบียน
- สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน ในวันและเวลาราชการ (08.30 – 16.30 น.)
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect
- App Store : คลิกที่นี่
- Google Play : คลิกที่นี่
- หรือเข้าเว็บไซต์ sso.go.th : คลิกที่นี่
- จากนั้นเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน (สมัครสมาชิก)
- ผู้ที่เข้าผ่านแอปพลิเคชัน กดเลือกเมนู การเบิกสิทธิประโยชน์ ส่วนผู้ที่เข้าผ่านเว็บไซต์กดเลือกเมนู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
- ระบบจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร เป็นรายเดือนไว้ให้ตามสิทธิของผู้ประกันตน
“เงิน สงเคราะห์ บุตร” เข้า กี่ โมง วัน ไหน ?
จากข้อมูลแล้ว ปกติ “เงิน สงเคราะห์ บุตร” ประกันสังคม ควรโอนเข้าบัญชีให้ทุก ๆ สิ้นเดือน โดยถ้าติดวันหยุดหรือเสาร์ – อาทิตย์ ก็จะทำโอนเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อน ไม่เกินเที่ยงคืน ใครมี SMS ธนาคารแจ้งเตือนก็ไปถอนมาใช้ได้เลย
- เดือน เมษายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 (30 เมษายน ตรงกับวันเสาร์)
- เดือน พฤษภาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565
- เดือน มิถุนายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565
- เดือน กรกฎาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 (30 – 31 ตรงกับวันเสาร์ – อาทิตย์)
- เดือน สิงหาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565
- เดือน กันยายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565
- เดือน ตุลาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565
- เดือน พฤศจิกายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565
- เดือน ธันวาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2565 (30 – 31 ตรงกับวันหยุด)
รับ “เงินสงเคราะห์บุตร” ผ่าน พร้อมเพย์
- เพียงแค่ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนและสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ลงทะเบียนผ่านธนาคารเจ้าของบัญชี ไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคมในการขอรับประโยชน์ทดแทน
ยื่นเรื่องหรือแจ้งเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชั้น 4 ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 (ภายในกระทรวงมหาดไทย) โทรศัพท์ : 0-2622-2500-17
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 ซอย 10 ถนนเทศบาลรังสรรค์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 (ตรงข้ามประชาชื่น 44 ใกล้โรงเรียนเพชรรัตน์) โทรศัพท์ : 0-2954-2577
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 อาคาร 12 ชั้น กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2248-4867,0-2245-1220
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ซอยสีลม 10 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 (ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่) โทรศัพท์ : 0-2634-0180-95
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ซอยรัชดา 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 (อยู่ในซอยรัชดา 6) โทรศัพท์ : 0-2476-8787, 0-2476-9016, 0-2476-9982
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 6 อาคารทาคูนิ ชั้น 4-5 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0-2455-8989
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0-2415-0995
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8 อาคารไอทีเอ็ม เลขที่ 255 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0-2743-3690
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ศูนย์การค้าพันธู์ทิพย์ บางกะปิ ชั้น 5 เลขที่ 3191, 38 :ซอยลาดพร้าว 127 (อุทิศ 1) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510 (ตรงข้ามตลาดมีนบุรี) โทรศัพท์ : 0-2517-9222
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 11 ถนนพระราม 3 ซอย 27 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กทม. 10120 โทรศัพท์ : 0-2294-5958
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 ถนนสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช 2) แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กทม 10260 โทรศัพท์ : 0-2311-5935-9, 0-2311-6507-9, 0-2311-6527-8
สำหรับเงิน อุดหนุนบุตร นั้นแตกต่างจาก “เงิน สงเคราะห์ บุตร” โดยเงิน อุดหนุนบุตร มีเจ้าภาพ คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ส่วนเงิน สงเคราะห์บุตร นั้นมีเจ้าภาพ คือ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ สามารถยื่นขอรับ เงินช่วยเหลือ จากทั้ง 2 โครงการ ได้หากเข้าเกณฑ์เงื่อนไข
กรณี “เงิน สงเคราะห์ บุตร” ประกันสังคม ไม่เข้า ทำอย่างไร?
- ให้ตรวจสอบข้อมูล ดังนี้
- ได้ส่งเงินสมทบของเดือนนั้นหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจะทำการจ่ายให้ย้อนหลังจากสิทธิที่ได้รับเป็นเวลา 3 เดือน ดังนั้น หากคุณไม่ได้ส่งเงินสมทบเดือนไหน อีก 3 เดือนถัดมา คุณจึงจะไม่ได้รับเงินของเดือนนั้น เช่น ถ้าเดือนเมษายนไม่ได้ส่งเงินสมทบ ก็จะไม่ได้เงินเข้าบัญชีในปลายเดือนกรกฎาคมนั่นเอง
- ลาออก ว่างงาน ขาดส่ง การขาดส่ง ไม่ว่าจะลาออก ว่างงาน ได้งานใหม่ หรือเปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39 จะต้องยื่นเรื่องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมเข้ารับเงิน สงเคราะห์บุตร เมื่อได้รับสิทธิจะต้องรอรับเงินเป็นเวลา 3 เดือน เช่นเดียวกัน (โหลดแบบฟอร์มสมัครใหม่)
- บัญชีโดนระงับไหม หากมีส่วนที่เราต้องคืนให้สำนักงาน แต่เรายังไม่ได้คืน อาจถูกระงับการจ่ายได้
- ถ้าไม่มีตามนี้ให้โทรติดต่อ ประกันสังคม โทร. 1506
ข่าวที่เกี่ยวข้อง