"ไขมันพอกตับ" ภัยเงียบตัวร้าย จุดเริ่มต้นของตับแข็งและมะเร็งตับ แพทย์เผย 7 สัญญาณเตือนเบื้องต้น รู้ก่อนรักษาได้
ข่าวที่น่าสนใจ
“ไขมันพอกตับ” สัญญาณเตือนโรคร้าย จุดเริ่มต้นของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ หลายคนมีสัญญาณเตือนเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่รู้ รู้อีกทีก็สายเกินแก้ แพทย์แนะเช็คอาการตามลิสต์นี้ รู้ก่อนรักษาได้
ภาวะไขมัน พอกตับ คืออะไร
- นพ. จารุทัศน์ กาญจนะพันธ์ อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและตับ เผยว่า เป็นการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ
- ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อตับ เป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน
- เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การเกิดผังพืดในตับ กลายเป็นภาวะตับแข็ง และอาจนำไปสู่การเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด
สาเหตุของภาวะไขมัน พอกตับ
1. ผู้ที่มีไขมัน พอกตับปฐมภูมิ (primary)
- ผู้ที่มีภาวะไขมัน พอกตับที่ไม่มีสาเหตุ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นกลไกที่พบในผู้ป่วยกลุ่มโรคอ้วนลงพุงหรือเมตาบอลิกซินโดรม (metabolic syndrome)
2. ผู้ที่มีไขมัน พอกตับทุติยภูมิ (secondary)
- คือ ผู้ที่มีไขมัน พอกตับที่มีสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คือ
– ภาวะไขมัน พอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (มากกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชาย และมากกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง)
– นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะไขมัน พอกตับที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น การใช้ยาบางชนิด (prednisolone, amiodarone, tamoxifen or methotrexate), การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี, โรคตับ อักเสบจากภูมิคุ้มกัน, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือการได้สารอาหารทดแทนทางเส้นเลือดเป็นระยะเวลานาน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมัน พอกตับที่ไม่ได้เกิดจากดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน
- เบาหวานหรือมีภาวะดื้ออินซูลิน
- ผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
- พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารพลังงานสูงเกินความจำเป็น โดยเฉพาะ แป้ง ไขมัน น้ำตาล
7 สัญญาณเตือนภาวะไขมัน พอกตับ
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา
- รู้สึกไม่สบายท้อง
- น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
- มึนงง การตัดสินใจและสมาธิลดลง
- ไขมัน พอกตับอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ตับโต ที่จะเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องด้านบนขวา หรือกลางท้อง และอาจพบรอยปื้นคล้ำที่ผิวหนังบริเวณ คอ หรือใต้รักแร้ ได้
ลักษณอาการป่วยของภาวะไขมัน พอกตับ
1.ระยะเริ่มต้น
- เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีผังผืด
2. ระยะที่สอง
- เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของผังผืดในเนื้อตับ
3.ระยะที่สาม
- เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ
- มีการสะสมของผังผืดในตับอย่างชัดเจน
4.ระยะที่สี่
- เป็นระยะที่ตับมีผังผืดอยู่มาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น
– ตาเหลือง
– ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง
– มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร
– และการเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด
การดูแลรักษาและคำแนะนำในผู้ที่มีภาวะไขมัน พอกตับ
1. การลดน้ำหนัก
- คนที่มีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักลงได้ร้อยละ 7 ถึง 10 ของน้ำหนักตัว จะช่วยลดเรื่องของภาวะไขมัน พอกตับ ลดการอักเสบในเนื้อตับ ไปจนถึงช่วยทำให้ผังผืดในตับดีขึ้น
- โดยเกณฑ์การลดน้ำหนักควรอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัมต่อ 1 เดือน
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
- ลดปริมาณแคลอรี่ ลดปริมาณไขมัน แป้ง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส (ในปัจจุบันอยู่รูปสารให้ความหวานจากการสังเคราะห์ข้าวโพด, high fructose corn syrup)
- ซึ่งมักจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่ม น้ำผลไม้บรรจุ ไอศครีม อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ชานม ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ
3. การออกกำลังกาย
- สัปดาห์ละ 150 นาที ถึง 200 นาที
4. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ตรวจหาโรคร่วมหรือโรคที่มีควมเสี่ยงร่วมต่อภาวะ “ไขมันพอกตับ”
6. ในปัจจุบันมียาที่เชื่อว่ามีผลช่วยลดประมาณไขมันในตับ
- หรือช่วยลดการอักเสบในตับ แต่ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อประเมินถึงผลดีและผลเสียโดยละเอียดต่อไป
- ไม่ใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรต่าง ๆ โดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์
ข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง